นิคมโรคเรื้อน (อังกฤษ: leper colony, lazarette, leprosarium, lazar house) เป็นสถานที่สำหรับกักตัวผู้ป่วยโรคเรื้อนในประวัติศาสตร์ คำภาษาอังกฤษว่า lazaretto ซึ่งมาจากชื่อของนักบุญลาซารัสในไบเบิลยังนำมาใช้เรียกพื้นที่สำหรับการแยกเดี่ยวผู้ป่วย[1] นิคมโรคเรื้อนแห่งแรก ๆ ได้รับการดูแลบริหารโดยอารามของชาวคริสต์[2] ตลอดประวัติศาสตร์ มีนิคมโรคเรื้อนเกิดขึ้นมากมายทั่วโลกเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยเฉพาะในแอฟริกา บราซิล จีน และอินเดีย[2]

สถานพักฟื้นนางาชิมะอาอิเซเอ็งในโอกายามะ ประเทศญี่ปุ่น เคยใช้งานเป็นนิคมโรคเรื้อน ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์และสถานพักฟื้นผู้ที่หายป่วยจากโรคเรื้อนแล้ว

นิคมโรคเรื้อนเริ่มเป็นที่แพร่หลายในสมัยกลางโดยเฉพาะในยุโรปและอินเดีย ส่วนใหญ่ดูแลงานโดยคณะนักบวชในศาสนาคริสต์ ในอดีต โรคเรื้อนเป็นโรคที่ผู้คนกลัวมากเนื่องจากเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความพิการและการผิดรูปที่มองเห็นได้โดยกายภาพ เป็นโรครักษาไม่หาย และเชื่อกันว่าเป็นโรคที่ติดต่อง่ายมาก นิคมโรคเรื้อนที่ดูแลโดยคณะนักบวชโรมันคาทอลิกมักเรียกว่า lazar house ซึ่งตั้งตามนักบุญลาซารัส นักบุญองค์อุปถัมภ์ของผู้ป่วยโรคเรื้อน[3] นิคมโรคเรื้อนบางนิคมอาจผลิตเงินตราใช้เองภายในเนื่องจากเกรงว่าการที่ผู้ป่วยโรคเรื้อนใช้เงินที่หมุนเวียนกลับสู่สังคมภายนอกจะช่วยแพร่กระจายโรคเรื้อนออกไป[4][5]

อ้างอิง แก้

  1. Doren, William Howard Van (1867). A suggestive commentary on the New Testament (ภาษาอังกฤษ). p. 916. The Ecclesiastical applications of the name, Knights of St. Lazarus, lazaretto, lazar-house, lazzarone are derived from the Lazarus of the parable. The Lazarists, a French Society of Missionary Priests, were named after Lazarus of Bethany.
  2. 2.0 2.1 Encyclopedia of Pestilence, Pandemics, and Plaques, Joseph P. Byrne, 2008: Encyclopedia of Pestilence, Pandemics, and Plaques (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. 2008. p. 351.
  3. "Patron Saints Index: Saint Lazarus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-13.
  4. Unique experiment with currency notes(1970) Isaac Teoh, The Star, January–February, p7.
  5. The numismatic aspects of leprosy(1993), McFadden, RR, Grost J, Marr DF. p.21 D.C.McDonald Associates, Inc. U.S.A.