ทีมจักรยาน เป็นกลุ่มนักปั่นที่เข้าร่วมทีมหรือเข้าถือสิทธิ์ และฝึกร่วมกันเพื่อการแข่งขันจักรยานไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่นหรือมืออาชีพ – รวมถึงบุคลากรสายสนับสนุน ทีมจักรยานมีความสำคัญมากที่สุดในการแข่งจักรยานถนน ซึ่งเป็นกีฬาประเภททีม แต่การทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกในทีมก็มีความสำคัญเช่นกันในการแข่งจักรยานลู่และไซโคลครอส

ไอเอสดี คอนติเนนตัลทีม ในดอแนตสก์ ประเทศยูเครน

การจัดวางองค์ประกอบ แก้

ในขณะที่นักปั่นเป็นแกนหลักของทีม ทีมระดับสูงสุดก็มีบุคลากรที่คอยสนับสนุนการแข่งและฝึก ได้แก่

  • ผู้จัดการ ที่ดูแลภาระผูกพัน, การสนับสนุน และการปฏิบัติงานทั่วไปของทีม
  • ดีเรตอร์สปอร์ตีฟ (ฝรั่งเศส: directeur sportif) ที่เดินทางสู่การแข่งและกำหนดกลยุทธ์การแข่ง ในทีมที่ใหญ่กว่า พวกเขามักจะขับรถของทีมและมีการติดต่อทางวิทยุกับนักปั่น
  • ผู้ฝึกสอน ที่กำกับการฝึกของทีม
  • แพทย์ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของนักปั่น และมักจะตรวจสอบให้แน่ใจว่านักปั่นปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารต้องห้าม
  • นักบำบัด ที่ช่วยผู้ฝึกสอน
  • โซอิญเนอร์ (ฝรั่งเศส: soigneur) เป็นผู้ช่วยรับผิดชอบในการป้อนอาหาร, เสื้อผ้า, นวด และคุ้มกันนักปั่น จากภาษาฝรั่งเศส (ออกเสียง: [swa.ɲœʁ]) ซึ่งหมายถึง "ผู้ให้การดูแล"[1][2]
  • ช่างซ่อม ที่รับผิดชอบอุปกรณ์ของทีม

นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่สปอนเซอร์, การตลาด และการสื่อสาร

ระดับการมอบหมาย แก้

มีระดับการมอบหมายที่แตกต่างกันระหว่างนักปั่นกับทีม โดยทีมสมัครเล่นมีตั้งแต่กลุ่มนักปั่นที่ระบุตัวเองว่าเป็นทีม ไปจนถึงทีมที่จัดหาอุปกรณ์และเงินให้นักปั่น ส่วนทีมอาชีพระดับสูงสุดได้ขึ้นทะเบียนกับสหภาพจักรยานระหว่างประเทศ ซึ่งบังคับใช้ข้อกติกาและระบบคะแนนสำหรับการแข่งระดับอาชีพ

จักรยานถนน แก้

สมาชิกในทีมมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ซึ่งนักปั่นไต่เขาต้องฝ่าฟันบนทางลาดชัน ส่วนนักปั่นระยะสั้นประหยัดพลังงานสำหรับการวิ่งเพื่อคะแนนและตำแหน่ และนักปั่นจับเวลาจะรักษาความเร็วสูงในระยะทางไกล

แต่ละทีมมีผู้นำหรือกัปตัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นนักปั่นที่เก่งที่สุดของทีม กัปตันมีการเปิดรับสื่อมากที่สุดและมีโอกาสชนะการแข่งมากที่สุด สมาชิกที่เหลือในทีมเป็นโดเมสติกหรือนักปั่นรอง ที่คอยปกป้องกัปตันจากฝ่ายตรงข้าม และนำอาหารรวมถึงเครื่องดื่มให้แก่เขา อย่างไรก็ตาม สมาชิกในทีมคนใดก็ได้รับอนุญาตให้ชนะบนเวทีได้

ในการแข่งวันเดียว ผู้นำหนึ่งหรือหลายคนจะได้รับเลือกตามความต้องการของการแข่ง ในการแข่งแบบสเตจ ทีมต่าง ๆ จะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ทีมในตูร์เดอฟร็องส์ 2005 เช่น ดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล หรือที-โมบายล์ มุ่งเน้นไปที่อันดับเวลารวมของนักปั่น ในขณะที่ทีมอื่น ๆ พยายามเอาชนะสเตจหรือการแบ่งประเภทอื่น ๆ ส่วนในตูร์เดอฟร็องส์ 2004 ควิก-สเตป–ดาวีตามง ช่วยให้รีชาร์ วีรองก์ ชนะการจัดประเภทภูเขา ขณะที่ทีมลอตโต–โดโม ช่วยให้ร็อบบี แมคอีเวน ชนะการจัดประเภทคะแนน ส่วนทีมขนาดเล็กกว่าอาจทำให้นักปั่นต้องหยุดพักยาวเพื่อรับการรายงานข่าวทางโทรทัศน์ ทั้งนี้ ทีมระดับอาชีพส่วนใหญ่มีนักปั่น 10–20 คน

โดยทั่วไปทีมจะได้รับการสนับสนุนเพื่อแลกกับการโฆษณาบนเสื้อผ้าและการรับรองอื่น ๆ ซึ่งการสนับสนุนมีตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทระหว่างประเทศ

ส่วนตูร์เดอฟร็องส์ระหว่าง ค.ศ. 1930 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นการแข่งขันสำหรับทีมชาติซึ่งไม่มีโฆษณาเชิงพาณิชย์ที่โดดเด่น

อ้างอิง แก้

  1. "Traduction : soigner - Dictionnaire français-anglais Larousse". Larousse.fr. สืบค้นเมื่อ 2016-02-24.
  2. "Traduction : soigneur - Dictionnaire français-anglais Larousse". Larousse.fr. สืบค้นเมื่อ 2016-02-24.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้