ถั่วแปบ (พืช)

สปีชีส์ของพืช

ถั่วแปบ เป็นชื่อไม้เถาชนิด Dolichos lablab L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงฝักแบน ๆ ภาษากะเหรี่ยงเรียก เบ่าะบาสะ ถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีแหล่งกระจายพันธุ์มาจากประเทศอินเดีย แล้วจึงกระจายพันธุ์ไปทางภูมิประเทศแบบเขตร้อนหรือร้อนชื้น ถั่วแปบมีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n=22) จำนวน 11 คู่ ที่มีอายุข้ามปี โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือถั่วแปบเขียว (สีฝักจะมีสีเขียวเข้ม) และถั่วแปบขาว (ลักษณะฝักจะมีสีเขียวซีดขาว)

ถั่วแปบ
ลักษณะทั่วไป
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ถั่ว
วงศ์: ถั่ว
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยถั่ว
สกุล: Lablab
(L.) Sweet
สปีชีส์: Lablab purpureus
ชื่อทวินาม
Lablab purpureus
(L.) Sweet
ชื่อพ้อง[1]

Dolichos lablab L.
Dolichos purpureus L.
Lablab niger Medikus
Lablab lablab (L.) Lyons
Lablab vulgaris (L.) Savi
Vigna aristata Piper

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ต้นถั่วแปบมีลำต้นเป็นไม้เลื้อยลำต้นบิด มีขนเล็กน้อย สูงประมาณ 1.5 เมตร - 3 เมตร บางพันธ์อาจสูงได้ถึงประมาณ 9 เมตร ลักษณะของใบ เป็นใบประกอบ 3 ใบ คล้ายรูปไข่ปลายเรียวแหลม ดอกมี 2 ชนิดคือ ชนิดดอกสีขาว และชนิดดอกสีม่วง เมล็ดอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นสีดำเมื่อแก่จัด

การใช้ประโยชน์ แก้

ฝักอ่อน เมล็ด ใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงส้ม ผักลวกจิ้มกับน้ำพริก ใช้เป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้อาการแพ้ ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ ปลูกเป็นพืชสำหรับทำปุ๋ย หรือเป็นพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

สารอาหาร แก้

ถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้สารอาหารทางโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรต (กลูโคส กาแลกโทส และกลูตามิเนส) ไขมันชนิดฟอสฟาไทด์ แร่ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส สังกะสี รวมไปถึงวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี กรดแพนโรทีนิค

ถั่วแปบยังพบว่ามีสาร ไฟโตฮีแมคกลูตินิน (Phytohemagglutinine) ที่ช่วยในการเร่งการผลิตเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ลำต้นของถั่วแปบยังพบว่ามีสารแคโรทีน หรือบีตา-แคโรทีน และสาร ลูเทียน (Lutein) ในส่วนของรากถั่วแปบมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง และกรดอะมิโนแยกอิสระอีกหลายชนิด จึงเหมาะแก่การปลูกถั่วแปบเพื่อบำรุงรักษาดิน

ภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Lablab purpureus at Multilingual taxonomic information from the University of Melbourne

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้