ตูโปเลฟ ตู-126 (อังกฤษ: Tupolev Tu-126 Moss) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่ามอส) เป็นเครื่องบินแจ้งเตือนล่วงหน้าและควบคุมในอากาศที่พัฒนามาจากตูโปเลฟ ตู-114โดยสำนักงานออกแบบตูโปเลฟ ไดเข้าประจำการพร้อมกับกองกำลังติดอาวุธของสหภาพโซเวียตตั้งปีพ.ศ. 2514-2527

ตู-126
บทบาทเครื่องบินแจ้งเตือนล่วงหน้าและควบคุมทางอากาศ
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตตูโปเลฟ
บินครั้งแรกพ.ศ. 2505
เริ่มใช้พ.ศ. 2508
ปลดประจำการพ.ศ. 2527 (โซเวียต)
สถานะปลดประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศโซเวียต
จำนวนที่ผลิตประมาณ 12 ลำ
พัฒนามาจากตูโปเลฟ ตู-114

การพัฒนาและการออกแบบ แก้

ในปีพ.ศ. 2501 สำนักงานออกแบบตูโปเลฟได้รับคำสั่งให้ออกแบบเครื่องบินสำหรับการแจ้งเตือนล่วงหน้าและควบคุมในอากาศ หลังจากที่ลองใช้เรดาร์ในตู-95และตู-116 การตัดสินใจก็ตกลงใช้กับตูโปเลฟ ตู-114 พร้อมกับลำตัวขนาดใหญ่ของมันแทน สิ่งนี้แก้ไขทุกปัญหาในการทำความเย็นและพื้นที่ปฏิบัติการที่อยู่ในช่องแคบๆ ของตู-95 และตู-116 ไปได้ เพื่อให้ได้พิสัยการบินที่ต้องการเครื่องบินจึงได้ติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศเอาไว้ด้วย ตู-126 มีลูกเรือ 12 นายและใช้เรดาร์"ไลน่า" (Laina) ที่จานหมุนที่ด้านบนของลำตัว อย่างไรก็ตามมันก็พบว่าการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงที่มากจากเครื่องยนต์ทั้งสี่ของมันนั้นรบกวนการทำงานของเรดาร์ ปัญหานี้แก้ไขด้วยการติดตั้งเรดาร์ใหม่เข้าไปเท่านั้น[1]

ประวัติการใช้งาน แก้

 
เอ-4อีจากยูเอสเอส อินเตอร์พิดเข้าสกัดกั้นตู-126 เหนือทะเลมิดิเตอร์เรเนียนในปีพ.ศ. 2517

ตู-126 ปรากฏตัวครั้งแรกในปีพ.ศ. 2511 และคาดว่าจะเข้าประจำการในปีพ.ศ 2519 จำนวนที่แท้จริงนั้นไม่ชัดเจนในหมู่ข่าวกรองทางตะวันตก แต่แหล่งข้อมูลของสหรัฐฯ คาดว่ามีประมาณหนึ่งโหลที่ทำงานได้ เป็นที่คาดกันว่าเรดาร์ของมันทำงานได้ด้อยกว่าของฝั่งตะวันตก ซึ่งมันไม่สามารถตรวจจับขีปนาวุธร่อนหรืออากาศยานขนาดเล็กได้ในระดับความสูงต่ำ อย่างไรก็ตามตู-126 มีอุปกรณ์รบกวนที่ทรงพลัง ตู-126 ถูกใช้โดยกองทัพอากาศโซเวียตจนกระทั่งถูกแทนที่โดยเบเรียฟ เอ-50 ตู-126 ยังได้รับสัญญาเช่าจากอินเดียในช่วงที่มีความขัดแย้งกับปากีสถาน ตู-126 ลำสุดท้ายถูกปลดออกในปีพ.ศ. 2527[2]

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

  สหภาพโซเวียต

รายละเอียด ตู-126 แก้

  • ผู้สร้าง โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต ปัจจุบันคือโรงงานตูโปเลฟ
  • ประเภท เครื่องบินปฏิบัติภารกิจเตือนภัยและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ Airborne Warning and Control System (AWACS)
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบใบพัด คุซเนทซอฟ เอ็นเค-12 เอ็มวี ให้กำลังเครื่องละ 14,795 แรงม้า 4 เครื่อง
  • กางปีก 51.2 เมตร
  • สูง 15.5 เมตร
  • พื้นที่ปีก 311.1 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 91,000 - 93,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ 163,290 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด 820 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วเดินทางปฏิบัติการ 660 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วเดินทางต่อเนื่อง 740 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • เพดานบินใช้งาน 11,000 เมตร
  • 'บินนาน 9 ชั่วโมง

[3]

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

เครื่องบินที่เทียบเท่า

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-28.
  2. http://www.globalsecurity.org/military/world/russia/tu-126.htm
  3. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522