ตูร์เดอฟร็องส์ 1903

ตูร์เดอฟร็องส์ 1903 เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรก โดยได้รับการสนับสนุนจากหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ซึ่งเป็นชื่อเดิมของหนังสือพิมพ์รายวัน L'Équipe การแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-19 กรกฎาคม โดยแบ่งเป็น 6 สเตจ (stage) รวมระยะทางกว่า 2,428 km (1,509 mi) โดยผู้ชนะในรายการนี้ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) [1]

ตูร์เดอฟร็องส์ 1903
Map of France with the route of the 1903 Tour de France on it, showing that the race started in Paris, went clockwise through France and ended in Paris after six stages.
เส้นทางวิ่งวนตามเข็มนาฬิกาในตูร์เดอฟร็องส์ 1903 โดยเริ่มที่ Montgeron และสุดที่ปารีส
รายละเอียดการแข่งขัน
วันที่ 1–19 กรกฎาคม
จำนวนด่าน 6
ระยะทาง 2,428 km (1,509 mi)
เวลาที่ผู้ชนะเลิศทำได้ 94h 33' 14"
ผู้ชนะ
ชนะเลิศ  Maurice Garin (FRA)
อันดับ 2  Lucien Pothier (FRA)
อันดับ 3  Fernand Augereau (FRA)
1904

การแข่งขันถูกจัดขึ้นมาเพื่อโปรโมตหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ภายหลังจากที่ยอดจำหน่ายเริ่มดิ่งลงจากการแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ Le Vélo ที่วางจำหน่ายมาอย่างยาวนาน เดิมการแข่งขันมีกำหนดจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน แต่ถูกเลื่อนออกไป 1 เดือน และเพิ่มเงินรางวัลมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีจำนวนผู้สมัครเข้าแข่งขันน้อยจนเป็นที่น่าผิดหวัง การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในครั้งแรกจัดการแข่งขันบนถนน เมื่อเทียบกับการแข่งขันแกรนด์ทัวร์ (Grand Tours) การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์มีจำนวนสเตจ (stage) ที่น้อยกว่า แต่มีระยะทางไกลกว่าที่แข่งขันอยู่ในปัจจุบัน ผู้เข้าแข่งขันไม่จำเป็นต้องปั่นครบทั้ง 6 สเตจ (stage) แม้ว่าการเข้าแข่งขันครบทุกช่วงจะเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดอันดับผู้ชนะโดยพิจารณาจากผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดเส้นทางการแข่งขันที่เรียกว่า general classification.

โมรีซ กาแรง เป็นผู้ชนะในสเตจแรกตั้งแต่การแข่งขันรอบ pre-race favourite และยังคงเป็นผู้นำตลอดการแข่งขัน เขายังเป็นผู้ชนะในสองสเตจ (stage) สุดท้าย โดยมีเวลานำผู้เข้าแข่งขันทีทำเวลารองลงไปถึง 3 ชั่วโมง ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ทั้งระหว่างและภายหลังการแข่งขัน ซึ่งทำให้การแข่งขันดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนต้องมีการจัดขึ้นอีกครั้งในปีถัดมา และยังส่งผลให้หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo) ต้องปิดตัวลงในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ที่มา แก้

ภายหลังจากเหตุการณ์เรื่องเดรฟุส (Dreyfus affair) จบลง หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo) ได้ถูกแย่งพื้นที่โฆษณาไป และมีการจัดตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อว่า โลโต้เวโล (L'Auto-Vélo) ในปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่ง Henri Desgrange อดีตนักแข่งขันจักรยานรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) หนังสือพิมพ์ดังกล่าวได้ถูกกดดันให้เปลี่ยนชื่อเป็นโลโต้ (L'Auto) Desgrange ต้องการรักษาฐานลูกค้าซึ่งเป็นแฟนคลับของการแข่งขันจักรยาน ซึ่งมียอดซื้อสูงถึง 20,000 ฉบับ [2]

เมื่อ Desgrange และลูกจ้างชื่อ Géo Lefèvre กลับมาจากการแข่งขันจักรยาน Marseille–Paris [3] Lefèvre ได้แนะนำให้จัดการแข่งขันรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคล้ายกับการแข่งขัน six-day races ที่โด่งดังและจัดการแข่งขันอยู่ [4] Desgrange จึงนำเสนอแนวคิดดังกล่าวให้แก่ Victor Goddet ผู้ดูแลด้านการเงิน ซึ่งตอบตกลงและการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ก็ถูกประกาศลงในหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) [5]

เดิมการแข่งขันกำหนดจัดขึ้นระยะเวลา 5 อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ไปจนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม โดยมีค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 20 ฟรังค์ (francs) ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก โดยมีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพียง 15 คน ทั้งที่เหลือเวลาอีกเพียง 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มการแข่งขันแล้ว Desgrange จึงตัดสินใจเลื่อนกำหนดการแข่งขันออกไปเป็นวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม โดยเพิ่มเงินรางวัลให้สูงขึ้นถึง 20,000 ฟรังค์ และลดค่าสมัครเข้าแข่งขันให้เหลือเพียง 10 ฟรังค์ รวมทั้งยังการันตีว่า ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้ดีที่สุด 50 รายแรกจะได้รับเงินอย่างน้อย 5 ฟรังค์ ต่อวัน [6] ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 79 คน และเข้าแข่งขันจริงจำนวน 60 คน [7]

Géo Lefévre ทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดงาน ผู้ตัดสิน และ ผู้จับเวลา โดย Henri Desgrange เป็นกรรมการจัดงานทั่วไป (directeur-général) ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ติดตามการแข่งขันก็ตาม

กฎ และ เส้นทางการแข่งขัน แก้

 
Maurice Garin, the winner of the 1903 Tour de France.

การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) มีทั้งหมด 6 สเตจ (stage) หากเทียบกับสเตจของการแข่งขันสมัยใหม่ สเตจตูร์เดอฟร็องส์มีระยะทางที่ยาวมากกว่าปกติโดยมีระยะทางเฉลี่ยมากกว่า 400 km (250 mi) ในขณะที่ระยะทางเฉลี่ยของการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีเพียง 171 km (106 mi) ผู้เข้าแข่งขันจะได้พัก 1-3 วัน ระหว่างการเดินทางข้ามแต่ละสเตจ และเส้นทางส่วนมากจะราบเรียบ โดยมีเพียงสเตจเดียวเท่านั้นที่มีภูเขารวมอยู่ด้วย การแข่งขันจะเป็นแบบรายบุคคล และชำระค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 10 ฟรังค์ (€87.50 at 2003 prices) สำหรับการแข่งขันประเภทจัดอันดับผู้ชนะโดยนับจากเวลารวมที่น้อยที่สุด (general classification) หรือ 5 ฟรังค์ สำหรับการแข่งขันในแต่ละสเตจ และเนื่องจากระยะทางที่ยาวของแต่ละสเตจ ทุกสเตจจะเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ก่อนฟ้าสางยกเว้นสเตจแรก และสำหรับสเตจสุดท้ายเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ 21:00 [8]

การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรกไม่มีการปั่นข้ามภูเขาแต่มีการปั่นผ่านช่องเทือกเขาเล็กน้อย ช่องเทือกเขาแรก คือ des Echarmeaux (712 m (2,336 ft)) ซึ่งอยู่ในช่วงต้นของสเตจที่เริ่มจากกรุงปรารีสไปเมืองลียง (Lyon) ในปัจจุบันคือถนนสายเก่าที่วิ่งจากเมืองโอเติง (Autun) ไปเมืองลียง นอกจากนี้ยังมีช่องเทือกเขา col de la République (1,161 m (3,809 ft)) ซึ่งอยู่ในสเตจที่เริ่มจากเมืองลียงไปเมืองมาร์แซย์ หรือในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ col du Grand Bois ซึ่งอยู่ติดชายแดนของเมืองแซ็งเตเตียน (St-Étienne)[9]

ในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) นักแข่งจักรยานอาชีพสามารถจ้างผู้นำหน้า (pacer) เพื่อให้นำทางระหว่างการแข่งขันได้ แต่ Desgrange ได้สั่งห้ามการกระทำดังกล่าว ซึ่งแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์แรกเริ่มคือ ต้องการให้ใช้ผู้นำหน้าเฉพาะสเตจสุดท้ายและระยะทางยาวที่สุด อย่างไรก็ตาม การจ้างผู้นำหน้าได้ถูกยกเลิกไปหลังการแข่งขันสเตจที่ 5 [5][10][11]

ตลอดเส้นทางการแข่งขันจะมีเจ้าหน้าที่ประจำจุดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้เข้าแข่งขันปั่นจักรยานในเส้นทางที่ถูกต้อง[5][6] ในสมัยนั้นเสื้อสีเหลือง (yellow jersey) ซึ่งมอบให้แก่ผู้ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดการแข่งขัน (general classification) ยังไม่ได้นำมาใช้ แต่จะได้รับสายรัดข้อมือสีเขียวแทน [5]

ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลาได้เร็วที่สุด 8 อันดับแรกของแต่ละสเตจได้รับรางวัลตั้งแต่ 50 ฟรังค์ ไปจนถึง 1,500 ฟรังค์ แตกต่างกันไปในแต่ละสเตจ และสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด 14 อันดับแรก ก็ได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน คือ ผู้ชนะอันดับแรกได้รับ 3,000 ฟรังค์ และ ลำดับที่ 14 ได้รับ 25 ฟรังค์ [6] ผู้เข้าแข่งขันอีก 7 คนที่แข่งจนครบเวลาของประเภท general classification ได้รับรางวัลคนละ 95 ฟรังค์ (5 ฟรังค์ต่อวัน สำหรับการแข่งขันทั้งหมด 19 วัน) โดยมีข้อกำหนดว่า พวกเขาจะต้องไม่ได้รับเงินรางวัลเกิน 200 ฟรังค์ และมีความเร็วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20 km/h (12 mph) ในสเตจอันใดอันหนึ่ง [6]

ผู้เข้าแข่งขัน แก้

การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ในสมัยนั้นแตกต่างกับการแข่งขันในปัจจุบัน คือ อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันซึ่งออกจากการแข่งขันกลางคันในแต่ละสเตจสามารถเริ่มการแข่งขันใหม่ได้อีกในสเตจถัดไป แต่เวลารวมที่เขาทำได้จะไม่นำมานับรวมสำหรับการคัดเลือกผู้ชนะประเภท general classification ซึ่งทำให้ Hippolyte Aucouturier ซึ่งออกจากการแข่งขันไปในสเตจแรกกลับมาเป็นผู้ชนะในสเตจที่ 2 และ 3 รวมถึง Charles Laeser ผู้ชนะของสเตจที่ 4 ก็แข่งขันในสเตจที่ 3 ไม่จบด้วยเช่นกัน [7]

ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 60 คน มีทั้งนักแข่งอาชีพ (professionals) และกึ่งอาชีพ (semi-professionals) ประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขันจากประเทศฝรั่งเศสจำนวน 49 คน เบลเยียม 4 คน สวิสเซอร์แลนด์ 4 คน เยอรมัน 2 คน และอิตาลี 1 คน โดยในจำนวนนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบธุรกิจผลิตจักรยานจำนวน 21 คน และที่เหลือ 39 คน เข้าแข่งขันด้วยตนเอง [6][7][12] ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน เข้าแข่งขันเฉพาะบางสเตจเท่านั้น โดยในการแข่งขันรายการนี้ มีนักปั่นจักรยานที่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันถือโอกาสเข้าร่วมปั่นในบางสเตจด้วย นักปั่นรายหนึ่งเข้าร่วมทั้งในสเตจที่ 2 และ 4 และอีกสามรายเข้าร่วมในบางส่วนของสเตจที่ 2 นอกจากนี้ยังมีรายหนึ่งเข้าร่วมในสเตจที่ 3 อีก 15 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 4 และอีก 4 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 5 [7]

รายละเอียดการแข่งขัน แก้

 
Café au Reveil Matin in Paris, 1903 Tour de France.

ผู้ชนะในรอบ pre-race favourites ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) และ Hippolyte Aucouturier[3] กาแรง ขึ้นนำในการแข่งขันตั้งแต่ออกจากจุดเริ่มต้นและเป็นผู้ชนะของสเตจแรกซึ่งมีระยะทาง 471 km (293 mi) จากกรุงปารีสถึงเมืองลียง การแข่งขันเริ่มขึ้นในเวลา 15:16 น. โดยผู้เข้าแแข่งปั่นด้วยความเร็ว 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้เข้าแข่งขันที่ล้มเลิกกลางคันรายแรกหยุดที่ระยะทางประมาณ 50 km (31 mi).[13] กาแรง และ Emile Pagie เป็นผู้นำในการแข่งขันโดยถึงจุด control point ที่เมืองเนอแวร์ (Nevers) เวลา 23:00 น. กาแรงคาดการณ์ว่า พวกเขาจะถึงเส้นชัยในเวลา 8:00 ของเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ช่วงกลางคืน คู่แข่งของกาแรง, Aucouturier, มีอาการตะคริวที่ท้องทำให้ไม่สามารถแข่งจนจบสเตจได้ [5][13] นอกจากนี้ การทำผิดกฎของการแข่งขันเป็นครั้งแรกก็เกิดขึ้นตั้งแต่สเตจแรก โดย Jean Fischer ได้ใช้รถยนต์สำหรับ pacer ซึ่งถือว่าผิดกฎ[5][13] Pagie ล้มลงแต่ก็ลุกกลับขึ้นมาได้อีก เขาและกาแรง รั้งตำแหน่งผู้นำในการแข่งขันตลอดคืนนั้น จนกระทั่งเวลา 9:00 น. ทั้งคู่จึงเข้าเส้นชัยที่เมืองลียง โดยกาแรงเข้าเส้นชัยก่อนหน้า Pagie เพียงแค่ 1 นาที [13]

 
The finish of the first Tour.

ถึงแม้ว่า Aucouturier จะล้มเลิกการแข่งขันกลางคันในสเตจแรก และไม่ได้รับการพิจารณารางวัลประเภทผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดเส้นทางการแข่งขัน (general classification) แต่เขาก็แข่งขันในสเตจที่เหลือทั้งหมด โดยในสเตจที่สอง เขาเป็นผู้ชนะในประเภท sprint และในเสตจที่สาม นักปั่นหลายรายซึ่งแข่งขันในประเภท general classification เริ่มออกตัวจากจุดเริ่มต้นก่อนนักปั่นรายอื่น ๆ ล่วงหน้าถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งรวมไปถึง Aucouturier ด้วยเช่นกัน ในช่วงท้ายของเสตจที่สาม กลุ่มของผู้เข้าแข่งขัน 4 ราย ได้ฉีกหนีออกไปก่อนโดย Eugène Brange เป็นผู้ชนะประเภท sprint โดย Aucouturier เข้าเส้นชัยในเวลา 27 นาทีต่อมา ซึ่งหมายความว่า เขาใช้เวลาในการแข่งขันเร็วกว่า 33 นาที ดังนั้น เขาจึงได้รับตำแหน่งผู้ชนะของสเตจนี้ไปครอง [14] กาแรงยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขัน เนื่องจาก Pagie พลาดไปในสเตจที่สองจนทำให้ต้องออกจาการแข่งขัน[5] ในสเตจที่สี่ Aucouturier ยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขันและดูเหมือนว่าน่าจะเป็นผู้ชนะติดต่อกันสามสเตจ แต่เนื่องจากเขาถูกจับได้ว่าใช้แรงต้านลมจากรถยนต์ช่วยเพิ่มความเร็วของจักรยานจึงถูกให้ออกจากการแข่งขัน[3] Charles Laeser ชาวสวิสเซอร์แลนด์ (ซึ่งยกเลิกการแข่งขันไปในสเตจที่สาม)[7] จึงคว้าชัยชนะไปครอง และเป็นผู้ชนะรายแรกที่ไม่ใช่พลเมืองของฝรั่งเศส ในสเตจที่สาม ผู้เข้าแข่งขันแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม และ Laeser อยู่ในกลุ่มที่สองเพราะว่าเขาไม่สามารถเข้าแข่งขันในประเภท general classification ได้ Laeser เข้าเส้นชัยเป็นลำดับที่เจ็ดโดยใช้เวลามากกว่านักแข่งหกรายแรกถึง 50 นาที แต่เนื่องจากเขาปั่นในระยะทางที่เร็วกว่าพวกนั้นถึง 4 นาที จึงทำให้เขาได้รับตำแหน่งผู้ชนะของสเตจที่สามไปครอง[15]

ในเวลานั้น กาแรงยังคงเป็นผู้นำของการแข่งขัน โดยมี Emile Georget ตามหลังอยู่ถึงสองชั่วโมง[16] ในสเตจที่ห้า ยางรถของ Georget แบนทั้งสองเส้น และเขายังผล็อยหลับไประหว่างที่หยุดพักข้างทาง จึงทำให้เขาไม่สามารถเอาชนะได้ [3] กาแรงจึงยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขันต่อไปด้วยการคว้าชัยชนะในสเตจนี้ไปครอง โดยมีสามชั่วโมงนำหน้าคนอื่นอยู่นับจนถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน[17] กาแรงขอร้องให้นักปั่นคนอื่นในกลุ่มที่เป็นผู้นำการแข่งขันอยู่ปล่อยให้เขาเป็นผุ้ชนะในสเตจ แต่ Fernand Augereau ปฏิเสธคำร้องขอของเขา Garin then had Lucien Pothier throwing his bicycle at Augerau,[โปรดขยายความ] และต่อมา Augereau ก็พลาดล้มลง จึงทำให้เหลือแต่ กาแรง Pothier และ Pasquier ที่ยังคงแข่งขันต่อไป โดย Pothier ก็ไม่สามารถปั่นเข้าเส้นชัยได้ ในขณะที่กาแรงเป็นผู้ชนะในประเภท sprint ไปอย่างง่ายดาย [18] Augerau ได้รับเงินรางวัล 100 ฟรังค์ จาก Velo-Sport Nantes สำหรับผู้ที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดในกิโลเมตรสุดท้ายของสเตจใน Nantes velodrome [19] สเตจสุดท้ายเป็นสเตจที่มีระยะทางยาวที่สุดคือ 471 km (293 mi) จากเมือง, Nantes ไปยัง Velodrome ในกรุงปารีส โดยมีผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 20,000 คน ร่วมเป็นสักขีพยานชัยชนะในสเตจที่สามของกาแรง โดยทำเวลาไปได้ 2 ชั่วโมง 59 นาที 31 วินาที โดยเวลาดังกล่าวยังคงเป็นเวลาที่ดีที่สุดของการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ [5]

ผลการแข่งขัน แก้

 
The publicity after the first stage showed that Maurice Garin rode a bicycle from La Française

ผลการแข่งขันในแต่ละสเตจ แก้

การแข่งขันในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันระหว่างการแข่งขันในสเตจทางเรียบและสเตจที่มีภูเขา ดังนั้น รูปภาพที่แสดงด้านล่างเป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่า สเตจใดมีภูเขาอยู่ด้วย

ผลการแข่งขันในแต่ละสเตจ [7]
สเตจ วันที่ เส้นทาง ภูมิศาสตร์ ระยะทาง ผู้ชนะ ผู้นำ
1 1 กรกฎาคม ParisLyon   ทางเรียบ 467 km (290 mi)   Maurice Garin (FRA)   Maurice Garin (FRA)
2 5 กรกฎาคม LyonMarseille   สเตจที่มีภูเขา 374 km (232 mi)   Hippolyte Aucouturier (FRA)   Maurice Garin (FRA)
3 8 กรกฎาคม MarseilleToulouse   ทางเรียบ 423 km (263 mi)   Hippolyte Aucouturier (FRA)   Maurice Garin (FRA)
4 12 กรกฎาคม ToulouseBordeaux   ทางเรียบ 268 km (167 mi)   Charles Laeser (SUI)   Maurice Garin (FRA)
5 13 กรกฎาคม BordeauxNantes   ทางเรียบ 425 km (264 mi)   Maurice Garin (FRA)   Maurice Garin (FRA)
6 18 กรกฎาคม NantesParis   ทางเรียบ 471 km (293 mi)   Maurice Garin (FRA)   Maurice Garin (FRA)

ผลการแข่งขันประเภท General Classification แก้

ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 21 คน เข้าร่วมแข่งขันจนครบทั้งหมด 6 สเตจ โดยเวลาในแต่ละสเตจของนักปั่นจักรยานเหล่านี้ได้นำไปนับรวมสำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด (general classification) โดยผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

เวลารวมทั้งหมด [7]
ลำดับ รายชื่อ ผู้สนับสนุน[20] เวลา
1   Maurice Garin (FRA) La Française 94h 33' 14'
2   Lucien Pothier (FRA) La Française +2h 59' 21"
3   Fernand Augereau (FRA) La Française +4h 29' 24″
4   Rodolfo Muller[21] (ITA) La Française +4h 39' 30″
5   Jean Fischer (FRA) La Française +4h 58' 44″
6   Marcel Kerff (BEL) +5h 52' 24″
7   Julien Lootens (BEL) Brennabor +8h 31' 08″
8   Georges Pasquier (FRA) La Française +10h 24' 04″
9   François Beaugendre (FRA) +10h 52' 14″
10   Aloïs Catteau (BEL) La Française +12h 44' 57″

หลังการแข่งขัน แก้

ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญอันเป็นผลมาจากการจัดแข่งขันนี้ ภายหลังจบการแข่งขัน หนังสือฉบับพิเศษที่จัดพิมพ์จำนวนจำกัดได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น 130,000 ฉบับ [22] และยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ปกติได้พุ่งสูงขึ้นจากเดิม 25,000 ฉบับ เป็น 65,000 ฉบับ [2] ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของยอดขายนี้ทำให้การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์กจัดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) นักปั่นจักรยานได้กลายมาเป็นวีรบุรุษของชาติ ในขณะที่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปี พ.ศ. 2447 อีกครั้งกลับไม่สามารถรักษาตำแหน่งแชมป์เอาไว้ได้เนื่องจากเขาถูกตัดสิทธิ์จึงทำให้ขาดคุณสมบัติ โมรีซ กาแรง ได้ใช้เงินรางวัลที่เขาได้รับจากชัยชนะในปี พ.ศ. 2446 รวมทั้งหมด 6,075 ฟรังค์ (francs) [7] (เทียบเท่ามูลค่าประมาณ แม่แบบ:$40,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และ 23,000 ปอนด์ ในปี 2549 [5]) ซื้อสถานีบริการน้ำมันและใช้ชีวิตที่เหลือของเขาอยู่ที่นั่นจนสิ้นอายุขัย [5]

หมายเหตุ และ อ้างอิง แก้

  1. Augendre, Jacques (2009). "Guide Historique, Part 6" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Amaury Sport Organisation. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2009.
  2. 2.0 2.1 James, Tom (4 เมษายน 2001). "The Origins of the Tour de France". VeloArchive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "1903: Maurice Garin wint eerste Tour" (ภาษาดัตช์). 19 มีนาคม 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
  4. Noakes, T. D. (2006). "The limits of endurance exercise". Basic Research in Cardiology. 101: 408–417. doi:10.1007/s00395-006-0607-2. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.[ลิงก์เสีย]
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 McGann, Bill; McGann, Carol (2006). The Story of the Tour de France. Dog Ear Publishing. pp. 4–10. ISBN 1-59858-180-5. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2009.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Réglement du Tour de France 1903". L'Auto (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du Cyclisme. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 "1er Tour de France 1903" (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du cyclisme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
  8. Augendre, Jacques (2009). "Guide Historique, Part 2" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Amaury Sport Organisation. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2010.
  9. Woodland, Les (2003). The Yellow Jersey Companion to the Tour de France. Yellow Jersey Press. p. 264. ISBN 0-224-06318-9.
  10. Augendre, Jacques (1996). Le Tour de France: Panorama d'un siècle (ภาษาฝรั่งเศส). Société du Tour de France. p. 9.
  11. "Le Tour de France - Un incident Garin-Augereau". Le Populaire (ภาษาฝรั่งเศส). Archives municipales de Nantes. 17 กรกฎาคม 1903. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
  12. Torgler, Benno (2007). ""La Grande Boucle": Determinants of Success at the Tour de France". Journal of Sports Economics. 8 (3): 317–331. doi:10.1177/1527002506287657. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "1ère étappe - Paris-Lyon - 467 kilomètres" (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du Cyclisme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
  14. "Etape 3: Marseille–Toulouse" (ภาษาฝรั่งเศส). La Grande Boucle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010.
  15. "Etape 4: Toulouse–Bordeaux" (ภาษาฝรั่งเศส). La Grande Boucle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010.
  16. "1er Tour de France 1903 - 4ème étappe" (ภาษาฝรั่งเศส). Memoire du Cyclisme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
  17. "1903 - 1st Tour de France". Amaury Sport Organisation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.
  18. "Etape 5: Bordeaux–Nantes" (ภาษาฝรั่งเศส). La Grande Boucle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010.
  19. "Le Tour de France - 5ème étape Bordeaux-Nantes (394 kil.)". Le Populaire (ภาษาฝรั่งเศส). Archives municipales de Nantes. 15 กรกฎาคม 1903. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
  20. "Cycling archives". สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2010.
  21. Rodolfo Muller profile at Cycling Archives
  22. James, Tom (14 สิงหาคม 2003). "Victory for the Little Chimney Sweep". VeloArchive. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2010.

บรรณานุกรม แก้


แม่แบบ:Tour de France