ตัวขนส่งกลูโคส (อังกฤษ: Glucose transporters) เป็นกลุ่มกว้าง ๆ ของโปรตีนเยื่อหุ้มที่มีส่วนช่วยในการขนส่งกลูโคสบนเยื่อหุ้มเซลล์ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการแพร่แบบฟาซิลิเทเทด (facilitated diffusion) เนื่องด้วยกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต จึงพบตัวส่งกลูโคสนี้ได้ในสัตว์ทุกไฟลัม แฟมิลี (family) ของโปรตีน GLUT หรือ SLC2A นั้นเป็นแฟมิลีโปรตีนตัวขนส่งกลูโคสที่พบได้ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จีโนมมนุษย์สามารถถอดรหัสสร้าง GLUT ได้ 14 ชนิด

Sugar_tr
ป้ายระบุ
สัญลักษณ์Sugar_tr
พีแฟมPF00083
วงศ์ในพีแฟมCL0015
อินเทอร์โปรIPR005828
PROSITEPDOC00190
TCDB2.A.1.1
โอพีเอ็ม ซูเปอร์แฟมิลี15
โอพีเอ็ม โปรตีน4gc0
กลูโคส

การสังเคราะห์กลูโคสอิสระ แก้

ในเซลล์ที่ไม่ใช่พวกออโตโทรฟ (non-autotroph cells) นั้นไม่สามารถสร้างกลูโคสอิสระ (free glucose) ได้เพราะขาดการแสดงออก (expression) glucose-6-phosphatase และดังนั้นจึงมีส่วนร่วมเฉพาะในการ uptake และการสันดาปของกลูโคสเท่านั้น ปกติแล้วกลูโคสจะสามารถผลิตได้ในเซลล์ตับ (hepatocyte) เท่านั้น แต่ในภาวะอดอาหาร (fasting conditions) เนื้อเยื่ออื่น ๆ เช่น ลำไส้ กล้ามเนื้อ สมอง และไต สามารถผลิตกลูโคสเองได้โดยใช้การกระตุ้นกระบวนการ gluconeogenesis

การขนส่งกลูโคสในยีสต์ แก้

การขนส่งกลูโคสในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แก้

ประเภท แก้

กลูโคสทราสพอร์เทอร์แต่ละไอโซฟอร์ม (isoform) มีหน้าที่เฉพาะในกระบวนการเมแทบอลิซึมของกลูโคส ซึ่งจะถูกกำหนดด้วยการแสดงออกของเนื้อเยื่อ (tissue expression), ความเฉพาะเจาะจงต่อสาร (substrate specificity), พลวัตการขนส่ง (transport kinetics) และการแสดงออกที่ควบคุม (regulated expression) ในสภาวะที่แตกต่างในทางสรีระวิทยา[1] จนถึงปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุสมาชิกได้ 14 ชนิดที่เป็น GLUT/SLC2[2] ด้วยการจัดจำแนกตามคสามเหมือนของลำดับ (sequence similarities) แฟมิลี GLUT สามารถแบ่งออกเป็นสามชั้นย่อย คือ

คลาส I แก้

คลาส I (Class I) ประกอบด้วยตัวขนส่งกลูโคส GLUT1, GLUT 2, GLUT 3 และ GLUT4[3]

คลาส II/III แก้

คลาส II ประกอบด้วย:

คลาส III ประกอบด้วย:

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Thorens B (April 1996). "Glucose transporters in the regulation of intestinal, renal, and liver glucose fluxes". The American Journal of Physiology. 270 (4 Pt 1): G541-53. doi:10.1152/ajpgi.1996.270.4.G541. PMID 8928783.
  2. 2.0 2.1 2.2 Thorens B, Mueckler M (February 2010). "Glucose transporters in the 21st Century". American Journal of Physiology. Endocrinology and Metabolism. 298 (2): E141-5. doi:10.1152/ajpendo.00712.2009. PMC 2822486. PMID 20009031.
  3. Bell GI, Kayano T, Buse JB, Burant CF, Takeda J, Lin D, Fukumoto H, Seino S (March 1990). "Molecular biology of mammalian glucose transporters". Diabetes Care. 13 (3): 198–208. doi:10.2337/diacare.13.3.198. PMID 2407475.
  4. Boron WF (2003). Medical Physiology: A Cellular And Molecular Approaoch. Elsevier/Saunders. p. 995. ISBN 978-1-4160-2328-9.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้