ตะวัน วนิดา
ตะวัน วนิดา มีชื่อจริงว่า บุญประคอง เนียมคำ (สกุลเดิม วรรณยิ่ง) หรือเพื่อนๆ เรียกว่า เก๋ เป็นนักแต่งเพลงชาวไทย มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน [1]
ตะวัน วนิดา | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | บุญประคอง วรรณยิ่ง |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2497 |
ที่เกิด | ![]() |
แนวเพลง | ไทยสากล, ป๊อบ |
อาชีพ | นักแต่งเพลง, ครูสอนร้องเพลง |
เว็บไซต์ | ตะวัน วนิดา Facebook หรือ ครูเก๋สอนร้องเพลง Facebook |
ประวัติ
แก้ตะวัน วนิดา หรือ ลีลา วรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2497 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายเกรียงศักดิ์ วรรณยิ่ง และนางศรี ฉายบุตร จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาการตลาด และประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ปม.) จากวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธบ.) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และสำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จากมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
ในด้านการร้องเพลง ได้ร้องเพลงโดยใช้พรสวรรค์ของตนเอง และได้เรียนร้องเพลงเพิ่มเติมจากโรงเรียนดนตรีสยามกลการ
สู่วงการเพลง
แก้ความสนใจทางด้านการขับร้องและเขียนคำประพันธ์ เริ่มตั้งแต่สมัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เมื่อมีการแสดงหน้าชั้น เธอมักจะได้รับคัดเลือกให้มาร้องเพลงให้เพื่อนฟัง รวมทั้งการเขียนกลอนอวยพรวันเกิดท่านผู้อำนวยการโรงเรียนอยู่ทุกปี แต่เนื่องจากครอบครัวทางบ้าน ไม่สนับสนุนการเป็นนักร้อง หรือการเป็นนักแต่งเพลงเป็นอย่างยิ่ง เธอจึงไม่อยากทำให้คนทางบ้านไม่สบายใจ มีหลายครั้งที่เธอแอบแต่งเพลงและหนีไปประกวดร้องเพลงตามงานต่าง ๆ แต่พอจวนจะได้เวลาเรียกชื่อผู้เข้าประกวด คุณแม่ก็ให้พี่ชาย พี่สาวมาตามกลับบ้านเสมอ จนครั้งล่าสุดตอนเป็นนักศึกษา ประมาณปี พ.ศ. 2519 ตะวันได้ทราบข่าวจากนักจัดรายการเพลงทางวิทยุ ว่ามีการประกวดร้องเพลง “ศัตรูหัวใจ” ที่สถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ต้นแบบคือคุณจินตนา สุขสถิตย์ จัดโดยจ่าเอกอุบล โต๊ะนาค ซึ่งเป็นนักจัดรายการชื่อดังมากในสมัยนั้น เธอจึงสนใจ และได้ไปสมัครประกวดร้องเพลงกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ ที่มาสมัครร้องเพลงด้วยกันได้เล่าให้อาบล หรือ จ่าเอกอุบล โต๊ะนาค ผู้ซึ่งตะวันให้ความเคารพเป็นอย่างยิ่งฟังว่า นอกจากตะวันจะชอบร้องเพลงแล้ว ยังแต่งเพลงได้อีกด้วย อาบลจึงได้แนะนำให้เธอรู้จักกับนักแต่งเพลง และนักจัดรายการหลายท่าน อาทิ คุณสมพจน์ สิงห์สุวรรณ นักแต่งเพลงอาวุโส ผู้มีผลงานเพลงยอดเยี่ยม และคุณดุสิต ทรงวุฒิศีล ผู้อำนวยการผลิตเพลง ซึ่งทั้งสองท่านนี้ได้ให้คำแนะนำและให้โอกาสเธอ จนตะวันได้ร้องเพลงบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกคือเพลงฆาตกรรัก
นอกจากนี้ ยังมีคุณมณฑารพ ที่ได้เขียนเพลงให้เธอร้อง คุณกิตติ ธนาธร นักจัดรายการชื่อดังได้สนับสนุนนำผลงานของเธอไปบันทึกเสียง คือเพลง รักทรมาน ที่สร้างชื่อเสียงให้ตะวัน วนิดา เป็นที่รู้จักและโด่งดังในวงการเพลงในยุคนั้น คุณเนรัญชรา(พี่ติ) นักแต่งเพลงอาวุโส เป็นที่ปรึกษาที่เธอเคารพมาก คุณสุวิทย์ สัตโกวิท หรือทิพย์ประภา นักแต่งเพลงรุ่นพี่ช่วยสนับสนุนให้เธอมีผลงานเพลงกับบริษัทอโซน่า (ประเทศไทย) จำกัด
บทเพลง คิดถึงฉันบ้างคืนนี้ ของตะวัน วนิดา ซึ่งขับร้องโดยคุณไพจิตร อักษรณรงค์ นักร้องใหม่แห่งค่ายอโซน่าในขณะนั้น เป็นบทเพลงที่โด่งดังและทำให้คุณไพจิตรแจ้งเกิดในวงการเพลงได้อย่างสวยงามในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2523 [2]
จากการให้กำลังใจของพี่ๆ นักแต่งเพลง และนักจัดรายการเพลงหลายๆ ท่าน คุณสาโรจน์ เสมทรัพย์ และบุคคลที่เธอเคารพมากอีกท่านหนึ่งคือนาวาโทประพันธ์ นิชโรจน์ ซึ่งประจำวงดุริยางค์ทหารเรือ ในขณะนั้น ทำให้ตะวันมีกำลังใจและมีผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
อาชีพการงาน
แก้- เป็นอาจารย์ ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรบริหารธุรกิจ
- สอนร้องเพลง ในชมรมดุริยางค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรบริหารธุรกิจ
- เป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลง
- เป็นนักแต่งเพลง / นักร้อง / ครูสอนร้องเพลง
- เขียนคำประพันธ์ บทกวีนิพนธ์
- เป็นวิทยากร / พิธีกร
- ครูสอนร้องเพลงโรงเรียนดนตรียามาฮ่า รัตนาธิเบศร์
ผลงานเพลง
แก้- เพลง "ฆาตกรรัก" ศิลปินผู้ขับร้อง: ตะวัน วนิดา, ดุสิต ทรงวุฒิศีล (2521)
- เพลง "เธอคือความหลัง" ศิลปินผู้ขับร้อง: ดาวใจ ไพจิตร, กิตติ ธนาธร (2521)
- เพลง "รักทรมาน" ศิลปินผู้ขับร้อง: ดาวใจ ไพจิตร (2522), อรวรรณ วิเศษพงษ์, นิตยา บุญสูงเนิน (2532), ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์, อุมาพร บัวพึ่ง, อรวี สัจจานนท์ (2539) ฯลฯ
- เพลง "คิดถึงฉันบ้างคืนนี้" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2523), สุนารี ราชสีมา, แพรว ไพลิน, วิภา จันทรกูล, อรวี สัจจานนท์ (2539), พรรณนิภา จิระศักดิ์ (2542), กาญจนา มาศิริ (2544), ปกรณ์ ภมรเทพ (2545) ฯลฯ
- เพลง "หัวใจเจ้าพระยา" ศิลปินผู้ขับร้อง: อ้อยทิพย์ พานทอง (2522) พรหมเพพ เทพรัตน์ 2563
- เพลง "รักเพียงเธอ" ศิลปินผู้ขับร้อง: ดาวใจ ไพจิตร, กิตติ ธนาธร (2522)
- เพลง "ถ้าฉันมีเธอ" ศิลปินผู้ขับร้อง: ดาวใจ ไพจิตร (2522)
- เพลง "คิดถึงคืนนั้น" ศิลปินผู้ขับร้อง: มนูญ เทพประทาน (2523)
- เพลง "ที่พึ่งทางใจ" ศิลปินผู้ขับร้อง: มนูญ เทพประทาน (2523)
- เพลง "ฝันสุดท้าย" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2523)
- เพลง "รักที่ต้องรอ" ศิลปินผู้ขับร้อง: ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล (2523), ไพจิตร อักษรณรงค์ (2524)
- เพลง "เป็นเพราะความรัก" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2523), ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล (2523)
- เพลง "รักแท้" ศิลปินผู้ขับร้อง: ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล (2523)
- เพลง "สำคัญที่เธอ" ศิลปินผู้ขับร้อง: ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล (2523)
- เพลง "เขาไม่มา" ศิลปินผู้ขับร้อง: ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล (2523)
- เพลง "อย่ามาห่วงฉัน" ศิลปินผู้ขับร้อง: ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล (2523)
- เพลง "เจ็บในใจ" ศิลปินผู้ขับร้อง: จิตติมา เจือใจ (2523)
- เพลง "ปลอบขวัญทหารไทย" ศิลปินผู้ขับร้อง: ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล (2523)
- เพลง "ได้แต่มอง" ศิลปินผู้ขับร้อง: สามารถ บริบูรณ์เวช ชุดสามารถคอรัส (2523)
- เพลง "เมิน" ศิลปินผู้ขับร้อง: สามารถ บริบูรณ์เวช ชุดสามารถคอรัส (2523)
- เพลง "แด่นาวิกโยธินไทย" หรือรู้จักกันในชื่อเพลง "แด่นาวิกโยธิน" (มอบให้กองทัพเรือ) ศิลปินผู้ขับร้อง: วงดุริยางค์กองทัพเรือ (2523)
- เพลง "วันนี้ไม่มีน้ำตา" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2524)
- เพลง "เธอกับฉัน" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2524)
- เพลง "วันที่รอคอย" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2524)
- เพลง "อาวรณ์" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2524)
- เพลง "รักเธอที่ความดี" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์, สามารถ บริบูรณ์เวช (2524)
- เพลง "ปล่อยเธอไป" ศิลปินผู้ขับร้อง: ไพจิตร อักษรณรงค์ (2524)
- เพลง "ผิดสัญญา" ศิลปินผู้ขับร้อง: นิตยา บุญสูงเนิน (2534), ปกรณ์ ภมรเทพ (2545)
- เพลง "เมื่อฉันมีรัก" ศิลปินผู้ขับร้อง: นิตยา บุญสูงเนิน (2534)
- เพลง "วอลต์พ.ต.พ." เพลงประจำสถาบันวิทยาลัยตั้งตรงจิตรบริหารธุรกิจ
- เพลง "ศักดิ์ศรีพ.ต.พ." เพลงประจำสถาบันวิทยาลัยตั้งตรงจิตรบริหารธุรกิจ
- เพลง "มาร์ชกีฬาสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร" เพลงประจำสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร
- เพลง "มาร์ชราชพฤกษ์" เพลงประจำสถาบันวิทยาลัยราชพฤกษ์ (2550)
- เพลง "พระคุณแม่" (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดแต่งเพลง “ ร้อยรักแม่ด้วยเสียงเพลงจากดวงใจ ” จัดโดย "สมาคมรักแม่" ปี 2555)
- เพลง "บริลานเต้" เพลงประจำโรงเรียนดนตรีบริลานเต้ (2556)
- เพลง "เทิดฟ้ามหาราชัน" บทเพลงเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2556) เพลง ที่นี่มีดาว ฯลฯ
อ้างอิง
แก้- ↑ "ลิขสิทธิ์เพลง บริษัท ลิขสิทธิ์เพลง จำกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.
- ↑ "ใครรู้จักนักร้องสาวผมสวยชื่อ ไพจิตร อักษรณรงค์บ้าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.