ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม

ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม มีชื่อจริงว่า ณรงค์ศักดิ์ แก้วมาลา (เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2542) ชื่อเล่น กันต์ เป็นนักมวยไทยชาวไทย เมื่อครั้งอยู่สังเวียนลุมพินีครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ใช้ชื่อ จตุคาม เพชรรุ่งเรือง สื่อมวลชนตั้งฉายาว่า "ซ้ายดารา"[1] เนื่องจากถนัดซ้ายและรูปร่างหน้าตาดี[2]

ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม
เกิด7 เมษายน พ.ศ. 2542 (25 ปี)
พัทยา ประเทศไทย
ชื่ออื่นจตุคาม เพชรรุ่งเรือง
ส่วนสูง180 เซนติเมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)
น้ำหนัก70 kg (154 lb; 11 st)
รุ่นเฟเทอร์เวต (155 ปอนด์) (ONE)
ช่วงระยะ71.5 in (182 ซm)
รูปแบบมวยไทย
ท่ายืนเซาต์พอล
มาจากกรุงเทพ ประเทศไทย
ทีมพี.เค. แสนชัย มวยไทยยิม
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม162
ชนะ129
แพ้31
เสมอ2

ประวัติ แก้

ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม หรือชื่อจริง ณรงค์ศักดิ์ แก้วมาลา เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2542 เป็นบุตรชายของบุญสงฆ์ แก้วมาลา กับธัญชนก จำปาทอง มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยเป็นบุตรคนเล็ก บิดาเป็นนักธุรกิจใหญ่ในจังหวัดชลบุรี ลงทุนร่วมกับพี่เขยและเครือญาติทำธุรกิจท่องเที่ยวในเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ในนาม ทัวร์วิไลสมุทร แต่เมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลให้กิจการต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหนักและทยอยกันปิดตัวลง รวมถึงธุรกิจของครอบครัว

ตะวันฉายเริ่มหัดมวยตั้งแต่อายุ 7–8 ปี ฝึกหัดมวยที่ค่ายเพชรรุ่งเรือง ของครูนุ วิษณุชัย เพชรรุ่งเรือง โดยมีอนันต์ศักดิ์ เปียปลื้มเป็นครูมวยคนแรก จากนั้นเริ่มชกโชว์ที่บาร์แห่งหนึ่งแถวชายหาดเมืองพัทยา ในนามจตุคาม เพชรรุ่งเรือง และเริ่มเดินสายชกมวยเด็กในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในภาคตะวันออกรวมถึงอีสาน จนกระทั่งเข้ามาชกในสนามมวยเวทีลุมพินีเมื่อตอนอายุ 14 ปี[3] ประเดิมชกกับเพชรบานเสน สว.จ.เลี่ยงเมืองนนท์ โดยชนะด้วยคะแนนเอกฉันท์

หลังเรียนจบระดับมัธยมศึกษาชั้นที่ 3 จตุคามได้ย้ายมากรุงเทพฯ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของค่ายมวย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม และใช้ชื่อ "ตะวันฉาย" นับแต่นั้น (พระจันทร์ฉาย เป็นคนตั้งให้)

ตะวันฉายสร้างชื่อให้ตัวเองได้อย่างรวดเร็ว จนในเดือนกุมภาพันธ์ 60 เขาคว้าแชมป์ประเทศไทยรุ่น 126 ปอนด์ด้วยการเอาชนะวายุน้อย เพชรเกียรติเพชรสนามมวยเวทีลุมพินี ในปี 2561 ได้รางวัลนักมวยไทยยอดเยี่ยม สนามมวยเวทีลุมพินี[1]

วันแชมเปียนชิพ แก้

4 ตุลาคม พ.ศ. 2563 มีการประกาศว่าตะวันฉายได้เซ็นสัญญากับวันแชมเปียนชิพ[4] เปิดตัวครั้งแรกด้วยการชนะน็อกคู่แข่งชาวไอริช ฌอน แคลนซี[5]

29 กันยายน พ.ศ. 2565 ได้โอกาสท้าชิงตำแหน่งแชมป์โลกวันมวยไทย รุ่นเฟเธอร์เวตกับ เพชรมรกต เพชรยินดีอะคาเดมี ตะวันฉายชนะคะแนนอย่างเอกฉันท์ ขึ้นแท่นแชมป์โลกคนใหม่[6]

25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ตะวันฉายป้องกันแชมป์โลกวัน มวยไทย รุ่นเฟเธอร์เวต เป็นครั้งแรก โดยเจอกับจามาล ยูซูพอฟ ชาวตุรกี แต่ถูกตะวันฉายชนะน็อกด้วยการเตะขาจนยืนไม่ได้ ในวินาทีที 49 ของยกแรก[7]

5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ตะวันฉายลงแข่งขันในกติกาคิกบอกซิงนัดแรกของรายการวันแชมเปียนชิพ โดยเจอกับดาวิต คิเรีย นักชกชาวจอร์เจีย ในกติกาคิกบ็อกซิง รุ่นเฟเธอร์เวต โดยตะวันฉายเตะซ้ายเข้าที่แขนของ ดาวิต คิเรีย ยกที่ 3 จนแขนหัก[8]

7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ตะวันฉาย ชนะคะแนนไปแบบเอกฉันท์ โจ ณัฐวุฒิ ในกติกาคิกบอกซิง[9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ""ตะวันฉาย" ปลื้ม คืนถิ่นลุมพินีที่เคยสร้างชื่อในศึกป้องกันแชมป์ 25 ก.พ.นี้". ผู้จัดการออนไลน์.
  2. "ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม ประวัตินักมวยหน้าหยก เจ้าของฉายา "ซ้ายดารา"". กะปุก.
  3. "10 เรื่องจริงของ "ตะวันฉาย" ใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ไม่รู้ไม่ได้!". onefc.com.
  4. "Tawanchai Signs With ONE Championship". Fight Record. 2020-10-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
  5. "ชีวิตจริงสุดดรามาของ "ซ้ายดารา" ตะวันฉาย จากลูกคุณหนูสู่ยอดมวยแห่งยุค". onefc.
  6. "บันไดสี่ขั้นสู่บัลลังก์ของ "ตะวันฉาย" ก่อนรั้งเข็มขัดครั้งแรกกับ "จามาล ยูซูพอฟ"". onefc.
  7. "เคลื่อนไหวแล้ว "จามาล" เปิดใจหลังถูก "ตะวันฉาย" เจาะยางแตกในนัดชิงแชมป์โลก". onefc.com.
  8. "พิษแข้ง "ตะวันฉาย" ภาพเอ็กซเรย์แขน "คิเรีย" หักจริง (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์.
  9. "สู้กันสนุก!"ตะวันฉาย" เบียดเข้าป้ายชนะ "โจ ณัฐวุฒิ" กติกาคิก บ็อกซิ่ง ONE FIGHT NIGHT". สยามสปอร์ต.