ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอริโนโก

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอริโนโก[1] (สเปน: Delta del Orinoco) เป็นลักษณะโมเสกของแม่น้ำย่อย ๆ และบึง หนองต่าง ๆ กระจายตามตาข่ายแม่น้ำ และ บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง จะสามารถแบ่งดินดอนสามเหลี่ยมอันมีลักษณะ รูปพัดเป็น 2 ส่วนที่มีความแตกต่างกัน คือ

  1. ส่วนทางใต้/ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย ทางน้ำแบบอนาสโตมอสซิ่ง (Anastomosing river) ที่ซับซ้อน
  2. ส่วนตอนกลาง/ตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งมีช่องว่างที่กว้าง เป็นทางน้ำสายตรง และสามารถแบ่งเป็น ลุ่มน้ำย่อย ๆ ได้ โดยทั้งสองส่วนจะแตกต่างในส่วนสัณฐานวิทยาและกระบวนการเกิด รวมทั้งโครงสร้างในระบบนิเวศและส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำ และตะกอน ซึ่งส่วนตะวันออกเฉียงใต้ (Rio Grande) จะควบคุมโดยกระบวนการจากแม่น้ำและน้ำขึ้นน้ำลง จะเห็นเป็นแม่น้ำบริเวณยอด ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และเป็นชวากทะเลบริเวณใกล้ทะเล ซึ่งตรงข้ามกับส่วนตอนกลาง/ตะวันตกเฉียงเหนือ ที่จะควบคุมโดยน้ำขึ้นน้ำลง และฝน ทำให้เห็นเป็นที่ลุ่มชายฝั่ง หนอง บึง
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอริโนโก

ลักษณะทั่วไป แก้

ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ยังสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนที่ขนานไปกับชายฝั่ง

  • ส่วนบน (upper) : โครงสร้างและลักษณะของน้ำควบคุมโดยแม่น้ำ มีความสูงประมาณ 1-2.5 เมตร ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ตะกอนเป็นพวกดินเหนียว, โคลน และ ทรายรวมทั้งถ่านหินชนิดพีท (peat) เล็กน้อย
  • ส่วนกลาง (middle) : ผสมผสานระหว่างตะกอนแม่น้ำ น้ำขึ้นน้ำลง และฝน มีความสูงประมาณ 1-2.5 เมตร น้ำท่วมเป็นส่วนใหญ่ ที่ผิวปกคลุมด้วยป่าปาล์มและพืชล้มลุก ตะกอนเป็นพวกดินเหนียวและพีท
  • ส่วนล่าง (lower) : โครงสร้างและลักษณะทั่วไปควบคุมโดยน้ำขึ้นน้ำลงเป็นหลัก อาจมีผลจากแม่น้ำและฝนบ้างเล็กน้อย มีความสูงประมาณ 1 เมตร ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่น้ำจะท่วมขัง ผิวปกคลุมด้วยป่าชายเลน มีตะกอนเป็น พีท และ โคลน แต่ก็มี ทรายละเอียด ในบางพื้นที่

ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำโอริโนโก ดูคล้าย ๆ เป็น ดินดอนสามเหลี่ยมยุคใหม่ แต่ส่วนบนสุดเป็นตะกอนในยุคเทอร์เชียรี (Tertiary) และตั้งอยู่ทางตะวันออกของแอ่งเวเนซุเอลาตะวันออก ( Venezuelan Basin (EVB)) ซึ่งเป็นร่องลึกผ่าน เขตติดต่อของแผ่นทวีปแคริบเบียนตอนใต้ (South Caribbean Plate Boundary Zone (SCPBZ)) แม้ว่าจะไม่มีการสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวบันทึกไว้ แต่มี ธรณีแปรสัณฐาน ยุคใหม่ปรากฏขึ้น เช่น ภูเขาโคลน (mud volcanoes), หินโค้งประทุนหงาย (Syncline) และหินโค้งประทุนคว่ำ (anticlines) ถูกบันทึกไว้ตาม SCPBZ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่จะพัฒนาในส่วน ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอริโนโก

ทั้งนี้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอริโนโกเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ในที่ราบชายฝั่ง ที่มีการทรุดตัวมากกว่าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งสัมพันธ์กับการพัฒนาของ EVB ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างสะสมตะกอน (accommodation space) มากกว่า 30 เมตร ในตอนกลาง ซึ่งเป็นตะกอนยุคโฮโลซีน และ 70 เมตรในบริเวณที่ราบตอนล่างมี การประมาณอัตราการทรุดตัว ได้ว่า ตอนบนทรุดตัวประมาณ1.8-1.0 มิลลิเมตรต่อปี ตอนกลาง 1.8-2.0 มิลลิเมตรต่อปี และ ตอนล่างทรุดตัวประมาณ 0-3.3 มิลลิเมตรต่อปี ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตอนบนจะมีตะกอนมาสะสมตัวในช่องว่างสะสมตะกอนและมีการกัดเซาะและสะสมตัวด้านข้างเด่น สวนทางตอนกลางและตอนล่าง ซึ่งมีอัตราการทรุดตัวสูงกว่า มีการพอกตัวในแนวดิ่งเด่น และ มีแอ่งตะกอนพัฒนาขึ้นมา ซึ่งแอ่ง นี้ จะยกตัวขึ้นตามขอบและตรงกลางจะราบ มีความสูงต่างกันไม่เกิน1.5 m สภาพพื้นที่มีน้ำท่วมตลอด ส่วนตอนบนและตะวันออกเฉียงใต้ของแอ่งคลุมด้วยตะกอนดินเหนี่ยวและตอนกลางและฝั่งตะวันตก เป็น พีท

อ้างอิง แก้

  1. Andrew G.W. 2002. Regional controls on geomorphology, hydrology, and ecosystem integrity in the Orinoco Delta, Venezuela. Journal of Geomorphology. 44. 273-307