ดราก้อน เอจ (Dragon Age) เป็นชุดวิดีโอเกมสมมติบทบาท สร้างโดย ไบโอแวร์ เกมแรก คือ ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ จัดจำหน่ายในปี 2552 และ ดราก้อน เอจ II เป็นภาคต่อของ ออริจินส์ จัดจำหน่ายในเดือนมีนาคม 2554 ดราก้อน เอจ เป็นเกมแนวแฟนตาซีที่ถูกใช้ในสื่ออื่น ๆ อย่างกว้างขวาง รวมถึงหนังสือและเกมกระดาน เกมหลักสองเกมแรกมีทั้งภาคเสริมและเนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้

เกมและภาคเสริม แก้

ปี ชื่อเรื่อง ประเภท
2552 ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ เกมหลัก
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - เดอะ โสตน พริซึ่นเนอร์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - วอร์เดนส์ คีพ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
2553 ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - รีเทิร์น ทู ออสตาก้า เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - อเวคเคนนิ่ง ภาคเสริม
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - ฟีสเดย์ กิฟต์แอนด์แพรงค์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - ดาร์กสพอว์น ครอนิเคิล เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - เลเลียนาส์ ซอง เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - เดอะ โกเล็มส์ ออฟ อัมการาค เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - วิทช์ ฮันท์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - อัลติเมท เอดิชั่น ชุดรวม
2554 ดราก้อน เอจ II เกมหลัก
ดราก้อน เอจ II: ดิ เอ็กไซลด์ พรินซ์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ II: เดอะ แบล็ก เอ็มโพเรียม เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ II: ลีกาซี่ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ II: มาร์ก ออฟ ดิ แอสซาซิน เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้

สื่อประเภทอื่น ๆ แก้

เนื้อหาของดราก้อน เอจ ยังถูกใช้ในสื่ออื่น ๆ อีกมากมาย

นวนิยาย แก้

ขณะนี้มี้หนังสือสองเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกของดราก้อน เอจ เล่มแรกคือดราก้อน เอจ: เดอะ สโตเล่น โทรนจัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552[1][2] หนังสือเล่มที่สองคือดารก้อน เอจ: เดอะ คอลลิ่งจัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552[3][4][5] หนังสือเล่มที่สามคือดราก้อน เอจ: อซันเดอร์วางแผนที่จะจัดจำหน่ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2554 หนังสือทั้งหมดเขียนโดย เดวิด ไกด์เดอร์ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ทอร์

เกมเฟซบุ๊ค แก้

ดราก้อน เอจ เลเจนส์ เป็นเกมสมมติบทบาทแนววางแผนยุทธศาสตร์ สร้างโดยอิเล็คโทรนิค อาร์ตส เกมนี้เปิดโอกาสให้ผู้เล่นผจญภัยไปใน ฟรี มาร์ชเชส อันเป็นสถานที่หลักของเกม ดราก้อน เอจ II เกมนี้มีเนื้อหาและการปรับปรุงลักษณะตัวละครคลายคลึงกับเกมหลัก[6]

เกมแฟลช แก้

ดราก้อน เอจ เจอร์นี่ส์ เป็นเกมส์สามมติบทโดยใช้แฟลช พัฒนาโดย อีเอ ทูดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา บทแรกของเกมคือเดอะ ดีพ โรดส์ เปิดให้เล่นได้ฟรี ผู้เล่นสามารถปลดล็อกตราความสำเร็จได้ในเกม ซึ่งจะปลดล็อกไอเทมพิเศษใน ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ เนื้อหาบทที่สองและสามจะต้องซื้อเท่านั้น[7]

เกมกระดานเล่นตามบทบาท แก้

ดราก้อน เอจ เป็นเกมกระดานเล่นตามบทบาท จัดจำหน่ายเมื่อ 25 มกราคม 2553 โดยกรีน โรนิน.[8]

อนิเมะ แก้

ดราก้อน เอจ ภาคอนิเมะ ประกาศขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน 2552 จากการร่วมมือระหว่าง ไบโอแวร์, อิเล็คโทรนิค อาร์ตส และฟันนิเมชั่น เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ตามแผนการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555[9] ภาพยนตร์เรื่องนี้จะใช้ชื่อว่า 'ดราก้อน เอจ: ดอวน์ ออฟ เดอะ ซีคเกอร์'[10]

หนังสือการ์ตูน แก้

ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ ฉบับเว็บคอมิคโดย เพ็นนี อาร์เคด ในปี 2552 มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเทมพล่าร์ที่ถูกส่งออกไปเพื่อจัดการ ฟลีเมธ หรือ แม่มดแห่งอรัญ เนื้อเรื่องเกิดขึ้นก่อน ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ โดยมอริแกนยังไม่ได้พบเจอกับวอร์เดน

เว็บคอมิคอีกเรื่องคือ ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - อเวคเค่นนิ่ง จัดจำหน่ายในปี 2552 โดย เพ็นนี อาร์เคด เรื่องสั้นเรื่องนี้เกี่ยวกับ นาตาเนล ฮาว บุกรุกเข้าไปในไวจิล คีพ และถูกจับก่อนที่จะพบกับวอร์เดน

ดราก้อน เอจ: เดอะ รีเวอเลชั่น เขียนโดย เดวิด ไกเดอร์ จัดจำหน่ายในปี 2553 ทางเว็บไซต์ของไบโอแวร์ ซึ่งมีเรื่องอยู่บนฐานของ ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ ที่ไม่ได้รวมไว้ในตอนสุดท้าน เนื้อหาเกี่ยวกับการพบกันระหว่างอลิสแตร์กับมอริแกน หลังจากที่เกรย์ วอร์เดน รับรู้จาก ริออร์เดน ว่าผู้ที่สังหาร อาร์ช ดีมอน จะต้องตาย มอริแกนถามอลิสแตร์เกี่ยวกับวิธีช่วย เกรย์ วอร์เดน ให้รอดพ้นจากคำสาป

แอคชั่น ฟิกเกอร์ส์ แก้

ฟิกเกอร์ตัวละครจัดจำหน่ายโดย ดีซี ไดเรคท์ ประกอบด้วยตัวละครจากเนื้อเรื่อง คือ มอริแกน, ดันแคน, โลเกน และเจนล็อก

ภาพยนตร์ชุดทางอินเทอร์เน็ต แก้

นักแสดงหญิง เฟลิเซีย เดย์ ได้ประกาศการเผยแพร์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ด้วยความร่วมมือจากไบโอแวร์ ชื่อเรื่องคือดราก้อน เอจ: รีเดมพ์ชั่น มีทั้งหมดหกตอน

ภาพยนตร์ชุดนี้วางแผนออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ ดราก้อน เอจ II มาร์ก ออฟ ดิ แอสซาซิน วางจำหน่าย[11]

อ้างอิง แก้

  1. "Macmillan: Dragon Age: The Stolen Throne: David Gaider: Books". Us.macmillan.com. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  2. "Dragon Age: The Stolen Throne". isbndb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 25 January 2010.
  3. "BioWare : Dragon Age : *Spoilers* Dragon Age: The Stolen Throne discussion thread". Daforums.bioware.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  4. "The Calling (Dragon Age) (9780765324092) : David Gaider: Books". Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  5. "The Calling (Dragon Age)". isbndb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 25 January 2010.
  6. "Dragon Age Fans Wiki". DragonAgeFans.com. 2011-02-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2011-10-12.
  7. John Davison. "Browser Based Dragon Age Journeys". Gamepro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-31. สืบค้นเมื่อ 2009-10-23.
  8. "Dragon Age RPG: Dark Fantasy Roleplaying". Greenronin.com. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Funimation Entertainment Sign Anime Movie Deal For Award Winning Dragon Age Franchise". Anime News Network. 2010-06-07.
  10. Dragon Age: Dawn Of The Seeker teaser trailer
  11. "GT TV Episode - September 16, 2011". Gametrailers.com. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)