ซี/2020 เอฟ3 (นีโอไวซ์)

ดาวหางซึ่งค้นพบในปี พ.ศ. 2563 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวซ์

ซี/2020 เอฟ3 (นีโอไวซ์) เป็นดาวหางคาบยาวที่มีวงโคจรเกือบเป็นพาราโบลิกที่ค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 โดยนักดาราศาสตร์ระหว่างภารกิจนีโอไวซ์ของกล้องโทรทศศน์อวกาศการสำรวจอินฟราเรดสนามกว้าง (WISE) ในขณะนั้น มันเป็นวัตถุความสว่างอันดับที่ 18 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2 หน่วยดาราศาสตร์ (300 ล้าน กม.) จากดวงอาทิตย์ และ 1.7 หน่วยดาราศาสตร์ (250 ล้าน กม.) จากโลก[1]

จนถึงเดือนกรกฎาคม 2563 ดาวหางมีความสว่างพอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวหางที่สว่างที่สุดดาวหนึ่งในซีกโลกเหนือนับแต่ดาวหางเฮล-บอปป์ในปี 2540 ดาวหางนี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเกือบตลอดเดือนกรกฎาคม 2563[2] จนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม ดาวหางมีความสว่าง 4[3]

สำหรับผู้สังเกตในซีกโลกเหนือ ดาวหางเห็นได้ทางขอบฟ้าตะวันตกเฉียงเหนือใต้ดาวไถ เหนือเส้นขนานที่ 45 เหนือ ดาวหางนี้จะเห็นได้ตลอดคืนตั้งแต่วันที่ 13–22 กรกฎาคม เนื่องจากมันวนรอบขั้วโลก วันที่ 17 กรกฎาคม ดาวหางนีโอไวซ์เข้าสู่กลุ่มดาวหมีใหญ่[4]

อ้างอิง แก้

  1. "COMET C/2020 F3 (NEOWISE)". Minor Planet Electronic Circulars. 2020-G05. 1 April 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020. On behalf of NEOWISE (C51), J. Masiero reported on March 31 UT that this object showed clear signs of cometary activity.
  2. Seiichi Yoshida. "C/2020 F3 ( NEOWISE )". สืบค้นเมื่อ April 4, 2020.
  3. "C/2020 F3 (NEOWISE) plot @ Comet Observation database (COBS)" (mm.m column). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-16. สืบค้นเมื่อ July 18, 2020.
  4. "A Bright New Visitor: How to Spot Comet NEOWISE". Sky & Telescope. 9 July 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.