ซีนอนเฮกซะฟลูออโรแพลทิเนต

ซีนอนเฮกซะฟลูออโรแพลทิเนต เป็นชื่อของสารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซซีนอนและแพลทินัมเฮกซะฟลูออไรด์ ในการทดลองเพื่อพิสูจน์ความสามารถในการทำปฏิกิริยาทางเคมีของแก๊สมีสกุล โดยนีล บาร์เลตต์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียได้ให้สูตรของสารประกอบนี้ว่า "Xe+[PtF6]" แม้ว่างานวิจัยในระยะเวลาต่อมาจะชี้ให้เห็นว่าสารประกอบที่ได้เป็นของผสมของสารประกอบหลายชนิด ไม่ใช่เป็นสารบริสุทธิ์[1]

ซีนอนเฮกซะฟลูออโรแพลทิเนต
ชื่อ
ชื่ออื่น
Xenon(I) hexafluoroplatinate
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
  • F[Xe+].F[Pt-1](F)(F)(F)(F)F
  • F[Xe+].F[Pt-1](F)(F)(F)(F)(F)Pt(F)(F)(F)(F)F
คุณสมบัติ
Xe+[PtF6]
มวลโมเลกุล 440.367
ลักษณะทางกายภาพ ของแข็งสีส้ม
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

การเตรียม แก้

สามารถเตรียมได้จากซีนอนและแพลทินัมเฮกซะฟลูออไรด์ (PtF6) ซึ่งละลายใน SF6 สารตั้งต้นจะผสมรวมกันที่ 77 เคลวิน และอุณหภูมิจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างช้า ๆ

โครงสร้าง แก้

 
ไอออน Xe+

โครงสร้างของสารประกอบนี้ไม่ได้เป็นอย่างที่บาร์เลตต์คาดไว้ เนื่องจากไอออนบวกที่บาร์เลตต์เสนอไว้คือ "Xe+" นั้นมีอิเล็กตรอนเดี่ยว ดังภาพด้านขวา จะเห็นว่าอิเล็กตรอนวงนอกสุดนั้นยังไม่ครบแปดตัว จึงสามารถเกิดพันธะกับอะตอมหนึ่งของฟลูออรีนเกิดเป็น XeF+ ดังนั้นบาร์เลตต์จึงสรุปว่าซีนอนได้เข้าทำปฏิกิริยาด้วย แต่ทว่าความเป็นธรรมชาติและความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์สีเหลืองมัสตาร์ดยังไม่เป็นที่แน่ชัด[2] เนื่องจากงานวิจัยชิ้นถัดมาบ่งชี้ว่า สารผลิตภัณฑ์ที่บาร์เลตต์เตรียมได้นั้นอาจเป็นสารผสมระหว่าง [XeF]+[PtF5], [XeF]+[Pt2F11] และ [Xe2F3]+[PtF6][3] ซึ่งสารประกอบเหล่านี้เป็นเกลือซึ่งมีไอออนบวกมีซีนอนเป็นองค์ประกอบ และมีแพลทินัมเป็นองค์ประกอบของไอออน[4]

ประวัติ แก้

เมื่อ ค.ศ. 1962 นีล บาร์เลตต์ค้นพบว่าสารผสมของแพลทินัมเฮกซะฟลูออไรด์กับก๊าซออกซิเจนเกิดปฏิกิริยากันได้ของแข็งสีแดง[5][6] พบว่าของแข็งสีแดงที่ได้นั้นคือไดออกซิเจนิล เฮกซะฟลูออโรแพลทิเนต (O+
2
[PtF6]
) และเขาก็ทราบว่าค่าพลังงานไอออไนเซชันของโมเลกุลออกซิเจนและอะตอมซีนอนมีค่าใกล้เคียงกัน เขาจึงขอให้เพื่อนร่วมงานนำซีนอนส่วนหนึ่งมาเพื่อทดสอบการทำปฏิกิริยา[7] ซึ่งเขาพบว่าซีนอนก็ทำปฏิกิริยาจริง ๆ แม้ว่าสารผลิตภัณฑ์ที่ได้จะไม่บริสุทธิ์เท่าไรนัก แต่งานของเขาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าเราสามารถเตรียมสารประกอบจากแก๊สมีสกุลได้ การค้นพบของเขาเป็นตัวอย่างของการค้นพบสารประกอบของธาตุเหล่านี้ และได้มีการค้นพบสารประกอบประเภทฟลูออไรด์ของซีนอนในระยะเวลาต่อมา[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Greenwood, Norman N.; Earnshaw, Alan (1997). Chemistry of the Elements (2nd ed.). Butterworth–Heinemann. ISBN 0080379419.
  2. Graham, Lionell; Graudejus, Oliver; Jha, Narendra K.; Bartlett, Neil (2000). "Concerning the nature of XePtF6". Coordination Chemistry Reviews. 197 (1): 321–334. doi:10.1016/S0010-8545(99)00190-3.
  3. 3.0 3.1 Holleman, Arnold Frederick; Wiberg, Egon (2001). Inorganic Chemistry. San Diego: Academic Press. ISBN 0-12-352651-5.
  4. Sampson, Mark T. (May 23, 2006). Neil Bartlett and the Reactive Noble Gases (PDF). National Historic Chemical Landmarks. American Chemical Society. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2016. สืบค้นเมื่อ June 12, 2017.
  5. Bartlett, Neil (1962). "Xenon hexafluoroplatinate(V) Xe+[PtF6]". Proceedings of the Chemical Society. 1962 (6): 197–236. doi:10.1039/PS9620000197.
  6. Bartlett, Neil; Lohmann, D. H. (1962). "Dioxygenyl hexafluoroplatinate(V), O+
    2
    [PtF6]". Proceedings of the Chemical Society. 1962 (3): 97–132. doi:10.1039/PS9620000097.
  7. Clugston, Michael; Flemming, Rosalind (2000). Advanced Chemistry. Oxford University Press. p. 355. ISBN 978-0199146338.