ซาร์โคดีไวซ์ (อังกฤษ: Sarco device) หรือ เพกาซอส (อังกฤษ: Pegasos) เป็นเครื่องการุณยฆาตประกอบด้วยแคปซูล (โลงศพ) พรินท์สามมิติ ที่สามารถถอดประกอบได้ ประกอบเข้าดับฐานซึ่งบรรจุถังไนโตรเจนเหลวเพื่อใช้ในการฆ่าตัวตายผ่านการขาดอากาศเหตุพิษแก๊สเฉื่อย ชื่อ "Sarco" มาจากสองพยางค์แรกของคำว่า "ซาร์โคฟากัส" (sarcophagus; โลงหิน)[1][2] การนำแก๊สเฉื่อย ไนโตรเจน มาใช้ช่วยให้ผู้กระทำการฆ่าตัวตายไม่เกิดอาการตื่นกลัว, ไม่เกิดอาการหายใจไม่ออก และไม่เกิดความทรมานก่อนจะหมดสติ อาการกระเสือกกระสนก่อนหมดสติเหล่านี้เกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อภาวะคาร์บอนไดออกไซด์สูง[3]

ซาร์โคดีไวซ์

ซาร์โคเป็นผลงานประดิษฐ์ของฟิลิป นิชเชในปี 2017 นิชเชกล่าวไว้ในปี 2021 ว่าขณะนี้กำลังดำเนินการยื่นเรื่องต่อทางการของสวิตเซอร์แลนด์เพื่อนำเครื่องนี้มาใช้โดยถูกกฎหมายต่อไป[4]

ประวัติ แก้

ซาร์โคเป็นส่วนต่อขยายให้กับการฆ่าตัวตายจากการขาดออกซิเจนโดยการใช้ถุงคลุมศีรษะ การการุณยฆาตโดยถุงคลุมศีรษะไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากปัญหาเรื่องสุนทรียภาพขณะเสียชีวิตรวมถึงความรู้สึกกลัวที่แคบที่เกิดจากการคลุมถุง นิชเชเรียกความกลัวเหล่านี้ว่าเป็น "ปัจจัยถุง"[5] โดยเครื่องซาร์โคที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมีเป้าหมายหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหานี่

กลไก แก้

ผู้ที่จะเข้าใช้งานเครื่องซาร์โคจะต้องผ่านการประเมินด้านสุขภาพจิตทางออนไลน์ก่อน หากผ่านแบบประเมิน ผู้เข้าใช้งานจะได้รับรหัสเข้าใช้เครื่องซาร์โคที่จะใช้งานได้ภายใน 24 ชั่วโมง[6]

ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะปิดม่านมืดหรือดูวิวจากในเครื่องซาร์โค ซึ่งแบบดูวิวนั้น เครื่องซาร์โคจะถูกนำไปตั้งในสถานที่เปิดหรือสถานที่ที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อดูวิวไอ้[7] นิชเชยังเสริมอีกว่า "สถานที่ที่คุณเลือกจะตายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างแน่นอน"[6]

แคปซูลของซาร์โคจะลดระดับออกซิเจนลงอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันยังคงระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่ำเท่าเดิม เมื่อเครื่องเริ่มทำงาน ไนโตรเจนเหลวขนาด 4 ลิตรจะถูกปล่อยออกมาในแคปซูล ส่งผลให้ออกซิเจนลดต่ำลงถึง 5% ภายในหนึ่งนาที นิชเชระบุว่า "เมื่อผู้ใช้งานกดปุ่มเริ่มทำงาน แคปซูลจะค่อย ๆ เต็มไปด้วยไนโตรเจน ผู้ใช้งานจะเริ่มรู้สึกเวียนหัวนิดหน่อย ก่อนจะหมดสติอย่างรวดเร็วและเสียชีวิต"[1]

การออกแบบและผลิต แก้

เครื่องซาร์โคเป็นผลงานออกแบบร่วมโดยนิชเชกับ Alexander Bannink นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวดัตช์

ซาร์โคเป็นเครื่องที่ได้จากการพรินท์สามมิติประกอบชิ้นส่วนกัน และสามารถปรับขนาดได้ในซอฟต์แวร์ออกแบบเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า นิชเชเคยกล่าวว่าการออกแบบนั้นมีเป้าหมายให้ออกมาคล้ายกับยานอวกาศ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกเหมือนกำลังเดินทางไปยัง "เบื้องหน้าอันเวิ้งว้าง" (great beyond)[8]

นิชเชมีแผนที่จะปล่อยโมเดลในรูปโมเดลโอเพนซอร์สภายในปี 2019[6]

คำวิจารณ์ แก้

มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเครื่องซาร์โคเป็น "แค่ห้องรมแก๊สที่มีแต่คนอวย" (just a glorified gas chamber) รวมไปถึงบางส่วนที่กังวลว่าเครื่องนี้อาจมีส่วนสนับสนุนการฆ่าตัวตาย[9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Nitschke's 'suicide machine' draws crowds at Amsterdam funeral fair". The Guardian. 15 April 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2018. สืบค้นเมื่อ 15 April 2018.
  2. Overington, Caroline (25 November 2017). "Philip Nitschke invents suicide capsule with 3D printer". The Australian. News Corporation. สืบค้นเมื่อ 25 November 2017.
  3. Nitschke, Philip; Stewart, Fiona (2016). "Hypoxic Death and the Exit bag". The Peaceful Pill Handbook. Exit International US Limited. ISBN 9780975833919.
  4. "Sarco suicide capsule 'passes legal review' in Switzerland". swissinfo.ch. Last year, we sought senior advice on the legality of using Sarco in Switzerland for assisted dying. This review has been completed and we’re very pleased with the result{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Meet The Elon Musk Of Assisted Suicide, Whose Machine Lets You Kill Yourself Anywhere". Newsweek. 12 January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2018. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 Nitschke, Philip (5 April 2018). "Here's Why I Invented A 'Death Machine' That Lets People Take Their Own Lives". Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2018. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
  7. De Jong, Marjolein. "An Australian Doctor Built a Machine That Helps People Die". Vice. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  8. Erickson, Amanda (15 April 2018). "An euthanasia expert just unveiled his 'suicide machine' at an Amsterdam funeral fair". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  9. Cuthbertson, Anthony (17 April 2018). "Suicide machine that could be controlled by the blink of an eye sparks euthanasia debate". The Independent. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้