สามสำนัก หรือ ซานเฉิ่ง (จีน: 三省; พินอิน: Sānshěng) เป็นระบบรัฐบาลกลางของจีนโบราณเป็นชื่อรวมของสามหน่วยงาน ได้แก่ สำนักซ่างซู สำนักเหมินเซี่ย และสำนักจงซู ซึ่งอำนาจและหน้าที่จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสามสำนัก แก้

"สามสำนัก" เป็นหน่วยงานรัฐบาลกลางที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ซึ่งมีดังนี้

ระบบดำเนินงาน แก้

จงซูเฉิ่งทำการหารือเกี่ยวกับการร่างกฎหมายกับจักรพรรดิและการร่างพระราชโองการ แล้วส่งไปให้กับเหมินเซี่ยเฉิ่งเพื่อทำการตรวจสอบเนื้อหาของพระราชโองการ แล้วจึงส่งคืนให้กับจงซูเฉิ่ง ทั้งสองสำนักนี้ ถือว่าหน่วยงานที่ทำหน้าในการตัดสินใจ กฎหมายและพระราชโองการที่ผ่านการทบทวนจะถูกส่งไปยังซ่างซูเฉิ่งเพื่อดำเนินการ โดยมีหกกระทรวงอยู่ภายใต้ซ่างซูเฉิ่ง ได้แก่ :

ในบรรดาสามสำนัก ซ่างซูลิ่งและซ่างซูผูเช่อถึงแม้จะมีตำแหน่งสูง แต่พวกเขากลับถูกมองว่าเป็นเสนาบดีที่ไม่มีอำนาจบริหารที่แท้จริง เพราะผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริงคือจงซูและเหมินเซี่ย

วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ แก้

ราชวงศ์ถัง แก้

ลักษณะเฉพาะของระบบสามสำนักในสมัยราชวงศ์ถังคือได้มีการเปลี่ยนชื่อสามสำนักและรูปแบบการทำงาน แตกต่างกันไปในแต่ล่ะช่วงเวลา แรงจูงใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ที่อำนาจของจักรพรรดิที่ต้องการจะควบคุมอำนาจของขุนนางและเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารงาน

ห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร แก้

ไม่แตกต่างจากระบบของราชวงศ์ถัง แต่เนื่องจากสงครามที่ต่อเนื่อง ทำให้อัครเสนาบดีไม่ได้กุมอำนาจไว้ ทั้งสามสำนักจึงเป็นเพียงชื่อเท่านั้น กิจการทางการเมืองส่วนใหญ่ถูกจัดการโดยขุนนางที่จักรพรรดิแต่งตั้งขึ้น

ราชวงศ์ซ่ง แก้

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง แม้ว่าชื่อของสามสำนักจะมีมาโดยตลอด แต่ก็ถูกรวมเข้าเป็นสำนักเดียวกัน คือจงซูเหมินเซี่ย (中书门下) ในเวลาเดียวกันเนื่องจากมีการจัดตั้งสภาองคมนตรีและสามกรม ทำให้อำนาจทางการทหารและการเงินของอัครเสนาบดีถูกจำกัด

ราชวงศ์หยวน แก้

ในสมัยราชวงศ์หยวนซ่างซูเฉิ่งถูกยกเลิก และไม่มีการก่อตั้งเหมินเซี่ยเฉิ่ง ดังนั้นจงซูเฉิ่งจึงมีความสำคัญมากกว่าในสมัยก่อน ๆ นอกจากนี้ชิ่งจงซูเฉิ่ง (行中书省) ยังถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้จงซูเฉิ่ง ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารส่วนท้องถิ่นในนามของรัฐบาลกลาง

ราชวงศ์หมิง แก้

ในช่วงต้นราชวงศ์หมิงไม่มีจงซูลิ่ง แต่จงซูเสิ่งยังคงคุมกระทรวงทั้งหกอยู่ และหัวหน้าของจงซูเสิ่งถูกเรียกว่า โหย้วเชิ่งเซียง (右丞相 "อัครเสนาบดีขวา") และ จั่วเชิ่งเซียง (左丞相 "อัครเสนาบดีซ้าย")

ในปีที่สิบสามของการครองราชย์จักรพรรดิหมิงไท่จู่ จงซูเฉิ่งและเชิ่งเซียงถูกยกเลิก และกระทรวงทั้งหกมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับจักรพรรดิ เมื่อถึงจุดนี้ระบบสามสำนักและตำแหน่งอัครเสนาบดีก็ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง ในช่วงกลางและปลายราชวงศ์หมิง เนย์เก๋อ (内阁 "คณะรัฐมนตรี")ของราชวงศ์หมิงเข้าทำหน้าที่ในการบริหารอย่างแท้จริง

ราชวงศ์ชิง แก้

ราชวงศ์ชิงดำเนินตามระบบราชวงศ์หมิงและโดยมี 6 กระทรวง และมีเนย์เก๋อจะก่อตั้งขึ้นตามราชวงศ์หมิง แต่ก็ไม่มีอำนาจที่แท้จริง

อ้างอิง แก้

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10]

  1. 实际上有六省,还有秘书省殿中省內侍省,三省只是权力核心
  2. 錢穆 (1952). 《中國歷代政治得失》. 香港: 人生出版社.
  3. 国晶. 宋朝游历指南.
  4. 人民教育出版社 课程教材研究所 历史课程教材研究开发中心 (2007年1月). 普通高中课程标准实验教科书 《历史》. 必修一 (ภาษาChinese (China)). 北京: 人民教育出版社. p. 第14页. ISBN 978-7-107-20230-8. 宋初,设立中书门下作为最高行政机构,最高长官行使宰相职权 {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. Harris, Lane J. (2015-10-09). "INTO THE FRONTIERS: THE RELAY SYSTEM AND MING EMPIRE IN THE BORDERLANDS, 1368–1449". Ming Studies. 2015 (72): 3–23. doi:10.1179/0147037x15z.00000000044. ISSN 0147-037X.
  6. François Thierry de Crussol (蒂埃里) (2011). "The Confucian Message on Vietnamese Coins, A closer look at the Nguyễn dynasty's large coins with moral maxims », Numismatic Chronicle, 2011, pp. 367-406" (ภาษาอังกฤษ). Academia.edu. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
  7. 《圖說宋朝》 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 臺北: 鳳凰出版. 2007-06. p. p.15. ISBN 978-986-7151-55-1. {{cite book}}: |page= has extra text (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  8. 晋书·职官志》:“后汉光武改常侍曹为吏部曹,主选举祠祀事……灵帝以侍中梁鹄为选部尚书,于此始见曹名。及魏改选部为吏部,主选部事。
  9. 辭海編輯委員會編:《辭海》(1989年版),上海辭書出版社,1989年9月,ISBN 978-7-5326-0083-0
  10. 宋神宗元丰改制后,宋代宰相为左仆射兼门下侍郎、右仆射兼中书侍郎,形式上恢复了三省六部制南宋建炎三年(1129年)四月,将中书省、门下省合并为中书门下省;改左仆射兼门下侍郎、右仆射兼中书侍郎分别为左右仆射兼同中书门下平章事,以示左右宰相通治三省事