ช่องเขา เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แถบเทือกเขา มักใช้เรียกจุดที่สามารถใช้เดินทางข้ามเทือกเขาได้สะดวกที่สุด ซึ่งก็คือจุดที่ต่ำที่สุดในแนวสันเขา มักจะเป็นพื้นที่สำคัญในการเดินทางระหว่างพรมแดน เป็นเส้นทางการค้า หรือจุดยุทธศาสตร์ในสงคราม

ช่องเขาที่ปรากฏบนแผนที่เส้นชั้นความสูง: ช่องเขาไมซ์กอม (Bwlch Maesgwm) ในสโนว์โดเนีย ทางตอนเหนือของเวลส์ สหราชอาณาจักร[1]
ช่องเขาซานิ (Sani Pass) ในประเทศเลโซโท

ภาพรวม แก้

 
อุโมงค์ช่องเขา ในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ช่องเขาเป็นหุบเขาลึก สันเขา แอ่งของเทือกเขา หรือร่องเขา ภูมิประเทศของช่องเขานั้นคล้ายคลึงกับแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของพื้นผิวอานม้า โดยมีจุดอานที่เป็นจุดที่มีความสูงที่ต่ำที่สุดระหว่างหุบเขาและจุดต่ำสุดตามแนวสันเขา[2][3] บนแผนที่ภูมิประเทศช่องเขาสามารถระบุได้ด้วยเส้นชั้นความสูงที่มีรูปทรงแบบนาฬิกาทราย ซึ่งระบุจุดต่ำระหว่างจุดที่สูงกว่าสองจุด[4]

มักพบช่องเขาเหนือแหล่งที่มาของแม่น้ำ ถือเป็นช่องระบายน้ำ ช่องเขาอาจสั้นมาก ประกอบด้วยทางลาดชันจนถึงด้านบนของช่องเขา หรือหุบเขาที่ยาวหลายกิโลเมตร ซึ่งจุดสูงสุดจะระบุได้โดยการสำรวจเท่านั้น

ถนนและทางรถไฟถูกสร้างผ่านช่องเขามาอย่างยาวนาน ช่องเขาที่สูงและขรุขระบางแห่งอาจมีการใช้อุโมงค์เจาะใต้ไหล่เขาใกล้เคียง เช่นอุโมงค์ไอเซนฮาวร์ที่เลี่ยงผ่านช่องเขาเลิฟแลนด์ในเทือกเขาร็อกกี ที่สร้างเพื่อให้การจราจรผ่านได้เร็วขึ้นตลอดทั้งปี

ด้านบนของช่องเขามักเป็นพื้นที่ราบเพียงแห่งเดียวในพื้นที่ และอาจเป็นจุดชมวิวบนที่สูง ทำให้ในบางกรณีเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะสำหรับการสร้างอาคาร หากพรมแดนของประเทศตามแนวสันเขา โดยปกติแล้วช่องเขาจะอยู่ที่ชายแดน และอาจมีด่านตรวจชายแดนหรือด่านศุลกากร และอาจเป็นที่ทำการทางทหาร ตัวอย่างเช่น อาร์เจนตินาและชิลีมีพรมแดนระหว่างประเทศร่วมกันที่ยาวเป็นอันดับสามของโลก โดยมีความยาว 5,300 กิโลเมตร (3,300 ไมล์) ซึ่งทอดยาวจากเหนือ-ใต้ไปตามเทือกเขาแอนดีส และมีช่องเขา 42 ช่อง[5][6]

บนถนนที่อยู่เหนือช่องเขา เป็นเรื่องปกติที่จะมีป้ายริมถนนเล็ก ๆ ที่ให้ชื่อของช่องเขาและระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

นอกเหนือจากการเดินทางระหว่างหุบเขาที่ค่อนข้างง่ายแล้ว ช่องเขายังให้เส้นทางระหว่างยอดเขาสองลูกโดยมีความลาดชันต่ำที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องปกติที่จะพบทางสัญจรที่ช่องเขา ซึ่งมักจะเป็นเส้นทางที่สะดวกแม้ว่าจะเป็นการเดินทางระหว่างยอดเขากับพื้นหุบเขาก็ตาม โดยปกติแล้วช่องเขาเป็นสถานที่สำหรับเส้นทางการค้า การสื่อสาร การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเดินทางทางทหาร ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ช่องเขาเบรินเนอร์ ในเทือกเขาแอลป์

ภูเขาบางแห่งที่อยู่เหนือแนวต้นไม้มีปัญหากองหิมะทับถมในฤดูหนาว ซึ่งอาจบรรเทาลงได้ด้วยการสร้างถนนให้สูงจากพื้นดินเพียงไม่กี่เมตร ซึ่งจะทำให้หิมะสามารถถูกพัดออกไปจากถนน

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 53°4′52.8″N 4°7′57″W / 53.081333°N 4.13250°W / 53.081333; -4.13250, เส้นชั้นความสูงจากข้อมูล SRTM
  2. Eberhart 2004, p. 232.
  3. Bishop & Shroder 2004, pp. 86–87.
  4. Harvey & Simer 1999, p. 185.
  5. "Principales Pasos Nacionales e Internacionales – Estado de los Pasos Fronterizos" (ภาษาสเปน). Gendarmería Nacional Argentina. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2010.
  6. "Pasos – Chile" (ภาษาสเปน). Gendarmería Nacional Argentina. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2010.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ช่องเขา