ชุดตัวอักษรฮังการี

ชุดตัวอักษรฮังการี (ฮังการี: magyar ábécé) เป็นส่วนขยายของชุดอักษรละตินที่ใช้ในการเขียนภาษาฮังการี ตัวอักษรฮังการีมีพื้นฐานมาจากอักษรละตินโดยมีตัวอักษรที่หลากหลายเพิ่มเข้ามา เพื่อแทนเสียงพยัญชนะและสระที่ไม่มีในภาษาละติน

ชุดตัวอักษรภาษาฮังการีโดยพื้นฐานมีตัวอักษรทั้งหมด 40 ตัว แต่แบบขยาย มีอยู่ 44 ตัว โดยเพิ่มตัวอักษร Q, W, X และ Y ซึ่งพบได้เฉพาะในคำยืมจากภาษาอื่นและในตัวสะกดวิสามานยนามแบบดั้งเดิม

ตัวอักษร 44 ตัว ในชุดตัวอักษรฮังการีแบบขยายมีดังนี้

ตัวพิมพ์ใหญ่
A Á B C Cs D Dz Dzs E É F G Gy H I Í J K L Ly M N Ny O Ó Ö Ő P Q R S Sz T Ty U Ú Ü Ű V W X Y Z Zs
ตัวพิมพ์เล็ก
a á b c cs d dz dzs e é f g gy h i í j k l ly m n ny o ó ö ő p q r s sz t ty u ú ü ű v w x y z zs

คำอธิบาย แก้

สัญลักษณ์อักษรแต่ละตัวในกล่องด้านบนนับเป็นตัวอักษรเฉพาะในภาษาฮังการี โดยแยกสระเสียงสั้นและเสียงยาว (คล้ายภาษาไทย) เช่น ตัวอักษร o และ ó หรือ ö และ ő นับเป็นคนละตัวอักษร มีตำแหน่งของตัวเองในการเรียงลำดับ ไม่นับว่าเป็นสระเดียวกัน

แม้ว่าสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวจะนับเป็นอักษรคนละตัวในในอักษรฮังการี แต่สำหรับพยัญชนะ แม้ว่าจะมีเสียงยาว (หรือมีการซ้ำเสียงต่อเนื่อง) ก็ยังนับเป็นอักษรตัวเดียวกัน

ในภาษาฮังการี การแสดงว่าพยัญชนะนั้นมีเสียงยาว จะทำได้โดยการเขียนอักษรเดียวกันซ้ำสองตัวแทนการใส่เครื่องหมายไว้ด้านบน เช่น tt, gg, zz (ette [ˈɛɛ] 'เขากิน'; gg [fyɡː] 'มันห้อยอยู่'; azzal [ˈɒɒl] 'กับอันนั้น') อย่างไรก็ดี ในภาษาฮังการี จะมีการใช้อักษรพยัญชนะละติน 2 หรือ 3 ตัวมาผสมกันเพื่อแสดงเสียงเสียงเดียว สำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษาละติน (คล้ายกับภาษาโปแลนด์) ภาษาฮังการีมีอักษรประสม 9 ตัว คือ cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs

ในการเขียนอักษรพยัญชนะประสม (ประกอบด้วย cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs) ให้แสดงเสียงยาวนั้น ตามหลักการเขียนของภาษาฮังการี จะตัดอักษรด้านหลังตัวพยัญชนะประสมตัวแรกให้เหลือแต่เพียงอักษรละตินตัวแรก แล้วเอามาเขียนติดกับตัวมันเอง เช่น sz + szssz (asszony [ˈɒoɲ] 'ผู้หญิง'); ty + tytty (hattyú [ˈhɒuː] 'หงส์'); dzs + dzsddzs (briddzsel [ˈbrid͡ʒːɛl] 'ด้วยไพ่โปกเกอร์') ยกเว้นเฉพาะคำยาวที่เกิดจากคำสั้น ๆ ประสมกัน เช่น jegygyűrű [ˈjɛɟːyːryː] 'แหวนหมั้น' (jegy [ˈjɛɟ] + gyűrű ɟyːryː]) ไม่มีการตัดอักษรออกให้กลายเป็น jeggyűrű

การออกเสียง แก้

ตารางต่อไปนี้คือการออกเสียงอักษรฮังการีตามหลักภาษาฮังการีมาตรฐาน

อักษร ชื่อเรียก หน่วยเสียง เสียงที่ใกล้เคียงในภาษาไทย ตัวอย่างเสียงที่ใกล้เคียงในภาษาอื่น หมายเหตุ
A a /ɒ/ เอาะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาไทย: ก๊ก, ล็อ

ภาษาอังกฤษ (แบบบริติช): cot

Á á /aː/ อา ภาษาไทย: ฟง, ข้

ภาษาอังกฤษ: father

B /b/ ภาษาไทย: บ้าน, บิน, บ่อน

ภาษาอังกฤษ: by, absence

C /ts/ ตซ ภาษาอังกฤษ: pots

ภาษาญี่ปุ่น: 波(なみ、Tsunami)

คล้าย ต กับ ซ รวมกันเป็นเสียงเดียว
Cs csé /tʃ/ ภาษาไทย: ช้าง, เชียงใหม่

ภาษาอังกฤษ: check, cheek, etching

D /d/ ภาษาไทย: เด็ก, ดิน, ารา

ภาษาอังกฤษ: deck, wide

Dz dzé /dz/ ดซ (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: kids เป็นคำที่พบได้น้อยมากในภาษาฮังการี
Dzs dzsé /dʒ/ จ (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: jam, George, bridge, edge, fridge เป็นคำที่มักพบในคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ
E e /ɛ/ แอะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: less, cheque, edge, bed
É é /eː/ เอ ภาษาอังกฤษ: café
F ef /f/ ภาษาอังกฤษ: find, euphoria
G /ɡ/ ก (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: get, leg, go
Gy gyé /ɟ/ ดย คล้ายกับคำภาษาอังกฤษ ที่ใช้เสียง /d/ แบบอ่อน คำว่า duke during ออกเสียงคล้าย ด กับ ย มารวมกัน เป็นเสียงเดียว
H /h/ 1. [ɦ]

2.

3. [x]

4. [ç]

ฮ 1. ฮ

2. ไม่ออกเสียง
3. ค, ฮ
4. ช, ฮ

ภาษาอังกฤษ: hi

1. behind 2. honest

3. Loch, Chanukah 4. human

ออกเสียงได้ 4 แบบ ตามแต่ละคำ แต่ส่วนใหญ่ ออกเสียงเหมือน ฮ ในภาษาไทย
I i /i/ อิ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: sea, key, tree
Í í /iː/ อี ภาษาอังกฤษ: leek, leave, seed, sea
J /j/ ภาษาไทย: ยักษ์, ยี่หร่า, าย

ภาษาอังกฤษ: you, yes, faith

K /k/ ภาษาไทย: อง, ไก่

ภาษาอังกฤษ: ski, scar, mask

L el /l/ ภาษาอังกฤษ: leave, list
Ly elly, el-ipszilon /j/

/ /ʎ/

ย / ลย ภาษาอังกฤษ: play, pray ในปัจจุบัน ly ออกเสียงเหมือน j หรือ ย ตามภาษาฮังการีมาตรฐานเนื่องจากการเปลี่ยนไปของสำเนียงการพูดภาษาฮังการี
M em /m/ ภาษาอังกฤษ: mind, assume, might
N en /n/: [ŋ]

[n]

ง (เมื่อนำหน้า k, g)

ภาษาอังกฤษ: thing, lying (ก่อนตัว k, g),need, bone (ที่อื่น ๆ) ออกเสียงเหมือน ง เมื่อนำหน้า k, g แต่ออกเสียงเหมือน น เมื่อนำหน้าเสียงพยัญชนะอื่นทั้งหมด
Ny eny /ɲ/ ญ, นย ภาษาอังกฤษ: canyon

ภาษาสเปน: niño

ออกเสียงเหมือน ญ ในภาษาไทยโบราณ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นอีสาน
O o /o/ โอะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: force, sorcerer
Ó ó /oː/ โอ
Ö ö /ø/ เออะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ตัว ö ในภาษาเยอรมัน
Ő ő /øː/ เออ คล้ายตัว ö ในภาษาเยอรมัน แต่เสียงยาว
P /p/ ภาษาไทย: า, ระเทศ
(Q) ออกเสียงเหมือน k พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
R er /r/ ภาษาไทย: เรียน, รู้ ร เรือ แบบรัวลิ้น ในภาษาไทยมาตรฐาน และเหมือนกับเสียงของ rr ในภาษาสเปน
S es /ʃ/ ช (เสียง ภาษาอังกฤษ: share, wish, shout การเขียนโดยใช้ s เป็นเสียง /ʃ/ และ sz เป็นเสียง /ʃ/ เป็นสิ่งที่พบได้น้อยมาก ในระบบการเขียนของยุโรป มีเพียงภาษาฮังการีที่เขียนแบบนี้
Sz esz /s/ ภาษาอังกฤษ: say, estimate
T /t/ ภาษาอังกฤษ: star, least, feast
Ty tyé /c/ ภาษาอังกฤษ: tube คล้าย ต กับ ย รวมกันเป็นเสียงเดียว
U u /u/ ภาษาอังกฤษ: rude
Ú ú /uː/ อู ภาษาอังกฤษ: do, fool
Ü ü /y/ อึ (แบบไม่มีเสียงกัก) ตัว ü ในภาษาเยอรมัน
Ű ű /yː/ อือ ตัว ü ในภาษาเยอรมัน แต่เสียงยาว
V /v/ ฟ, ว ภาษาอังกฤษ: very, every
(W) dupla vé /v/ ฟ, ว ภาษาอังกฤษ: view, evolve, vacuum ออกเสียงเหมือน v พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
(X) iksz กซ ออกเสียงเหมือน k + sz พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
(Y) ipszilon /i/ อิ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: happy ออกเสียงเหมือน i พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
Z /z/ ซ (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: desert, roses
Zs zsé /ʒ/ ช (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: pleasure, leisure

ตัวอักษร ë ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรฮังการี อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์ใช้ตัวอักษรนี้เพื่อจำแนกความต่างระหว่างเสียง e สั้น สองชนิด (แอะ และ เอะ) ในบางภาษาถิ่นของภาษาฮังการี มีการใช้อักษรนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1770 โดยเยิดย์ ก็อลมาร์ (György Kalmár) แต่อักษรนี้ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรฮังการีมาตรฐาน เนื่องจากในภาษาฮังการีมาตรฐานไม่ได้จำแนกความต่างระหว่างเสียงทั้งสองนี้ (อย่างที่ในภาษาไทยแยกเสียง แอะ และ เอะ ออกจากกัน) อย่างไรก็ตาม เสียง ë (เอะ) ออกเสียงต่างจากเสียง e (แอะ) ในภาษาถิ่นของภาษาฮังการี 6 ภาษาจาก 10 ภาษา และออกเสียงอย่าง ö (เออะ) ในภาษาถิ่นของภาษาฮังการี 1 ภาษา (ภาษาถิ่นทรานซิลเวเนีย)

ทวิอักษร ch ยังปรากฏอยู่ในบางคำ (เช่น technika, monarchia) และออกเสียงเหมือนกับ h ส่วนในวิสามานยนาม ch จะออกเสียงเหมือน cs หรือบางครั้งออกเสียงเป็น h หรือ k (แบบภาษาเยอรมัน)

การเขียนแบบเดิม ที่ยังใช้ในชื่อเฉพาะและเอกสารทางประวัติศาสตร์ แก้

การเขียนแบบดั้งเดิม (บางส่วนมีความใกล้เคียงกับการเขียนแบบเยอรมัน) มีการใช้ในชื่อเฉพาะที่เป็นภาษาฮังการี โดยตารางด้านล่างจะเปรียบเทียบการเขียนแบบดั้งเดิม กับการอ่านออกเสียงแบบปัจจุบัน ตามการสะกดของภาษาฮังการีมาตรฐาน ดังนี้:

การเขียนแบบดั้งเดิม การอ่านออกเสียงตามหลักสมัยใหม่
พยัญชนะ
bb b
cz c
tz c
z c
ch cs
cz cs
č cs
ć cs
ts cs
csh cs
tsch cs
tzsch cs
chs cs
cy cs
ʟ cs
dd d
dsz dz
ds dzs
ff f
ph f
gh g
dgy ggy
dy gy
g gy
gi gy
gj gy
gʹ~g′ gy
ǵ gy
ġ gy
j gy
jj j
l j
y j
ck k
kh k
x ks
xy ksz
xz ksz
qu kv
ll l
l ll
w lv
j ly
l ly
li ly
ry ly
lly ly
′l(ʹl)~l′(lʹ)~ŀ ly
n ny
ni ny
nʹ~n′ ny
ń ny
ny
my ny
ph p
pp p
rh r
rr r
r
sch s
ss s
ss ssz
s sz
sc sz
sy sz
z sz
th t
tt t
ti ty
tʹ~t′ ty
ty
ky ty
u v
w v
s z
s zs
ss zs
zy zs
['s] zs

[1]

การเขียนแบบดั้งเดิม การอ่านตามหลักสมัยใหม่
สระ
a á
aa á
á
áh á
ä e
ae e
ai e
ay e
áe é
ái é
áy é
e é
ee é
é
éh é
i í
í
íh í
ii í
í
å o
o ó
óh ó
oo ó
ó
ua ó
â ö
åe ö
åi ö
åy ö
ö
ew ö
oe ö
oi ö
oy ö
ő
ő
ew ő
ia ő
ö ő
őh ő
öö ő
öő ő
óe ő
ói ő
óy ő
üa ő
u ú
úh ú
ú
uu ú
ú
ue ü
ui ü
uy ü
ü ű
űh ű
üő ű
üü ű
üű ű
úe ű
úi ű
úy ű
aj
aj
aÿ aj
ei aj
áë áj
áï áj
áÿ áj
åë oj
åï oj
åÿ oj
eu oj
oj
oj
oÿ oj
óë ój
óï ój
óÿ ój
au uj
uj
uj
uÿ uj
úë új
úï új
úÿ új
(g)y ~ gÿ gi
y ji
ý
(l)y ~ lÿ (l)i
(n)y ~ nÿ (ny)i or (n)i
(t)y ~ tÿ ti

โดยทั่วไปแล้ว ตัว y ในการเขียนแบบดั้งเดิมนั้น มักจะอ่านเป็น i ในการอ่านแบบปัจจุบัน (ตย..: Teleky, Rákóczy, zsy). ด้านล่างนี้คือตัวอย่างการอ่านด้วยหลักปัจจุบัน ที่มักจะมีการอ่านผิด เนื่องจากการสะกดที่ใช้หลักต่างจากปัจจุบัน มักพบในชื่อนามสกุล

ตัวอย่าง:

ชื่อ การอ่านตามหลักสมัยใหม่
Madách Madács
Széchenyi Szécsényi หรือSzécsenyi
Batthyány Battyányi
Gajdátsy Gajdácsi
Thököly Tököli
Weöres Vörös
Eötvös Ötvös
Kassay Kassai
Debrődy Debrődi
Karczagy Karcagi
Vörösmarty Vörösmarti
Cházár Császár
Czukor Cukor
Balogh Balog
Vargha Varga
Paal Pál
Gaál Gál
Veér Vér
Rédey Rédei
Soós Sós
Thewrewk rök
Dessewffy Dezsőfi

ตัวนำหน้านาม และ คำเชื่อม แบบดั้งเดิม แก้

ในอดีต การเรียนคำนำหน้านาม a/az มีหลักการเขียนดังนี้:

  • คำว่า az ก่อนสระและ h เช่น az ember (คน), az híd (สะพาน) ปัจจุบันจะเขียนแบบนี้หน้าสระเท่านั้น
  • ก่อนสระ — a': a' csillag (ดวงดาว) ปัจจุบันเขียนโดยไม่ใช้ดัวอาฟอสโตรฟี

มีการย่อคำว่า és (และ) ปัจจุบันจะย่อว่า s จะเขียนโดยใช้ตัวอาฟอสโตรฟีไว้ด้านหน้า เช่น ’s (เช่น föld ’s nép แผ่นดินและผู้คน)

การเรียงคำในพจนานุกรม แก้

ถึงแม้ัว่าอักษรฮังการีจะแยกอักษรเสียงสั้น และ เสียงยาม ให้เป็นอักษรคนละตัว แต่ในเวลาที่มีการเรียงคำในพจนานุกรม หรือ อรรถาภิธาน จะนับให้อยู่ในหมวดเดียวกัน อาทิเช่น O/Ó และ Ö/Ő จะไม่มีการแยกกันเป็นคนละหมวด แต่ระหว่าง Ö และ O จะแยกหมวดกัน โดย O มาก่อน Ö

การเรียงคำคำเดียวกัน จะมีการเรียงอักษรที่ข้างหน้าเป็นพิมพ์เล็ก มาก่อนพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะ อาทิ varga ตามมาด้วยคำว่า Varga.)

The polygraphic consonant signs are treated as single letters.

comb
cukor
csak <cs> มาหลัง <c>
...
folyik
folyó <ó> นับเป็นหมวดเดียวกับ <o>
folyosó
...
<ő> นับเป็นหมวดเดียวกับ <ö>,
födém แต่ <ö> ตามหลัง <o>
...

สระเสียงยาวบางคำเป็นการรวมกันของสระประสมสองตัวขึ้นไป เช่น <nny>, <ssz> จะนับการเรียงเป็น <ny>+<ny>, <sz>+<sz> เป็นต้น

könnyű จะมีการเรียงคำเป็น <k><ö><ny><ny><ű>. tizennyolc จะมีการเรียงคำเป็น <t><i><z><e><n><ny><o><l><c>
คำว่า házszám 'บ้านเลขที่' = ház (บ้าน) + szám (เลขที่) ไม่ได้มาจากคำว่า *házs + *zám จึงต้องเรียงคำเป็น <h><á><z><sz><á><m>

การเรียงแบบนี้ ทำให้การเรียงภาษาฮังการีตามหลักอัลกอริทึมโดยคอมพิวเตอร์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เป็นปัญหาใหญ่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

แป้นพิมพ์ภาษาฮังการี แก้

แป้นพิมพ์ภาษาฮังการีมาตรฐานจะใช้ระบบแบบเยอรมัน (QWERTZ). ซึ่งทำให้มีพื้นที่พอที่รองรับอักษรภาษาฮังการีได้ทุกตัว

 
รูปแบบแป้นพิมพ์ภาษาฮังการี

อักษร "Í" มักจะอยู่ด้านซ้ายของ spacebar และกินพื้นที่ของ shift อักษร "Ű" มักอยู่ด้านซ้ายของ backspace ทำให้เสียพื้นที่บางส่วนของ backspace ไป Ű มักถูกกดแทนที่ Enter บนแป้งภาษาฮังการีมีอักษรเยอรมัน "ß" และอักษร "Ł" ของภาษาโปแลนด์ แป้นฮังการีมาตรฐานสามารถเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์พิเศษได้ด้วยการกดปุ่ม Alt Gr (ต่างจากของภาษาไทยที่กดปุ่ม Shift)

อัตราการใช้ตัวอักษรแต่ละตัว แก้

อักษรที่พบมากที่สุดในภาษาฮังการี คือ e และ a[2]

ตารางด้านล่างแสดงอัตราการใช้อักษรฮังการีแต่ละตัว ตั้งแต่มากที่สุดไปหาน้อยที่สุด

ตัวอักษร ความถี่ที่พบ
e 12.256%
a 9.428%
t 7.380%
n 6.445%
l 6.383%
s 5.322%
k 4.522%
é 4.511%
i 4.200%
m 4.054%
o 3.867%
á 3.649%
g 2.838%
r 2.807%
z 2.734%
v 2.453%
b 2.058%
d 2.037%
sz 1.809%
j 1.570%
h 1.341%
gy 1.185%
ő 0.884%
ö 0.821%
ny 0.790%
ly 0.738%
ü 0.655%
ó 0.634%
f 0.582%
p 0.509%
í 0.499%
u 0.416%
cs 0.260%
ű 0.125%
c 0.114%
ú 0.104%
zs 0.021%
dz <0.010%
dzs <0.010%
ty <0.010%

อ้างอิง แก้

  1. Benkő Loránd et al.: Etymologisches Wörterbuch des Ungarischen; Band I; PP. XVII–XVIII. Budapest: Akadémiai Kiadó, 1993.
  2. Campie, Trishia. "Letter Frequency Statistics". www.cryptogram.org. American Cryptogram Association. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.