ชักนาคดึกดำบรรพ์

ชักนาคดึกดำบรรพ์ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของไทย มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการแสดงเรื่องการชักนาคเพื่อเอาน้ำอมฤตจากเกษียรสมุทร ตามคติของฮินดู มักจะแสดงในงานมหรสพหลวง การละเล่นชักมีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนที่กล่าวถึงพระราชพิธีอินทราภิเษกว่า มีการตั้งเขาพระสุเมรุและภูเขาอื่น ๆ ที่กลางสนาม แล้วให้ตำรวจเล็กแต่งตัวเป็นอสูร 100 ตน มหาดเล็กแต่งตัวเป็นเทวดา และวานรอย่างละ 100 และแต่งเป็นสุครีพ พาลี และมหาชมพูอย่างละหนึ่งตัว เข้าร่วมแห่ทำพิธีชักนาคดึกดำบรรพ์ โดยให้อสูรชักหัว เทวดาและวานรชักหาง ของ พญานาค เพื่อให้มหาสมุทร ถูกกวนจนเกิดแผ่นดิน และ น้ำอมฤต แต่เทวดาและอสูรกลับมาทำสงครามแย่งชิงน้ำอมฤตกัน จนสุดท้าย ฝ่ายเทวดาและวานร ได้ใช้กลอุบายหลอกพวกอสูร จนได้น้ำอมฤตไป เหล่าเทวดาจึงได้เป็นใหญ่บนสวรรค์จนทุกวันนี้

อื่นๆ แก้