การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ

(เปลี่ยนทางจาก ชอบธรรม)

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ[1], การใช้งานโดยชอบธรรม[2] หรือ การใช้อย่างเป็นธรรม[3] (อังกฤษ: fair use) เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐ ที่อนุญาตให้ใช้งานที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ทรงลิขสิทธิ์เสียก่อน ซึ่งกฎหมายเจตนาสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ของผู้ทรงลิขสิทธิ์กับประโยชน์สาธารณะในการจำหน่ายในวงกว้างและการใช้งานสร้างสรรค์ ให้ไม่ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วน "การปฏิบัติที่เป็นธรรม" (fair dealing) เป็นหลักทำนองเดียวกันในกฎหมายบริติช

Screenshot of Google Image Search results page
ศาลสหรัฐภาค 9 วินิจฉัยว่า การใช้รูปขนาดย่อในเสิร์ชเอนจินถือเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ เป็นหลักการที่อนุญาตให้ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ในการวิจารณ์ เสิร์ชเอนจิน การล้อเลียน การรายงานข่าว งานวิจัย การเรียนการสอน การเก็บงานเอกสาร เป็นต้น

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ประกอบด้วย การใช้โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้า หรือการนำภาพส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ หรือปกหนังสือไปใช้งานในความละเอียดต่ำหรือมีขนาดเล็ก โดยไม่ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายของสินค้า หรือทำให้สินค้านั้นขาดรายได้

อ้างอิง

  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (สืบค้นคำว่า fair use)". สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2025.
  2. นันทรัตน์ มั่นศรีจันทร์ (2022). ปัญหาการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในกรณีการใช้งานโดยชอบธรรม (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2025.
  3. พชร โกสุมวัชราภรณ์ (2023). แนวทางการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์: ศึกษากรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2025.