ชมพูไพร
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: N/A
ชั้น: N/A
อันดับ: N/A
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Thunbergia
สปีชีส์: Thunbergia impatienoides
ชื่อทวินาม
Thunbergia impatienoides
Suwanph. & S. Vajrodaya

ชมพูไพร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia impatienoides Suwanph. & S. Vajrodaya) เป็นพรรณไม้ในสกุลรางจืด ลักษณะเป็นไม้เลื้อย ค้นพบในปี พ.ศ. 2559 สำรวจพบที่ป่าเต็งรัง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ค้นพบโดย รศ. ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี และ รศ. ดร. สรัญญา วัชโรทัย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1][2] ชมพูไพรนั้นเป็นไม้เลื้อยที่ออกดอกตลอดปีเหมาะในการพัฒนาเป็นไม้ประดับ[3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

  • เป็นพืชในสกุลรางจืด
  • ลำต้น ค่อนข้างผอมแบบไม้เลื้อย
  • ดอก สีชมพูอมม่วง ตรงกลางมีสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกเทียนสวน
  • ดอกตูม คล้ายดอกกุหลาบแรกแย้ม
  • ดอกบาน คล้ายกงล้อ

การตีพิมพ์ แก้

ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Blumea การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยันพืชพันธุ์ใหม่ของโลก[4][5]สำหรับนำไปใช้ในการอ้างอิงในด้านอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลที่ศึกษาและตัวอย่างอ้างอิงได้นำไปเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เพื่อการศึกษาด้านอนุกรมวิธานต่อไป ข้อมูลที่ศึกษาสามารถเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นในประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืช วงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae)

อ้างอิง แก้

  1. http://novataxa.blogspot.com/2018/08/thunbergia-impatienoides.html
  2. https://www.ku.ac.th/web2012/index.php?c=adms&m=seltab_th&time=20190606110639&page=%A2%E8%D2%C7%CA%D2%C3%E1%C5%D0%A1%D4%A8%A1%C3%C3%C1&page1=%A2%E8%D2%C7%C1%CB%D2%C7%D4%B7%C2%D2%C5%D1%C2&ip=10&load=tab&lang=thai&id=3700&id1=0
  3. https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1607400
  4. https://www.researchgate.net/publication/324864278_Thunbergia_impatienoides_Acanthaceae_a_new_species_from_Thailand
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.