รายาห์
ชนชั้นรายา (ตุรกี: râya; เสียงอ่านภาษาตุรกี: [ɾaːˈja]) หรือ เระอาเย (ตุรกีออตโตมัน: رعايا; เสียงอ่านภาษาตุรกี: [ɾeˈʔaːjeː]) คือชนชั้นต่ำในสังคมออตโตมันที่ตรงกันข้ามกับ “ชนชั้นอัสเกรี” (askeri) ซึ่งเป็นชนชั้นขุนนางผู้บริหาร
คำว่า “รายา” แปลว่า “สมาชิกของฝูง” ที่รวมทั้งผู้นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนายูดายผู้ที่ต้องเสียภาษีเพื่อบำรุงรัฐและชนชั้นอาชีพสูงชองจักรวรรดิ[1]
แต่ในความหมายร่วมสมัยและความหมายใหม่มักจะหมายถึงผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมโดยเฉพาะ บางครั้งคำนี้ก็จะแปลว่า “วัว” (cattle) แทนที่จะแปลว่า “ฝูง” หรือ “ข้าแผ่นดิน” (subjects) เพื่อเป็นการเน้นว่ารายาห์เป็นชนชั้นที่ต่ำกว่าชนชั้นอื่น แต่คำเดียวกันนี้ใช้โดยคริสเตียนอาหรับที่หมายถึงผู้ที่เป็นสมาชิกของวัด[2]
ในสมัยต้นจักรวรรดิออตโตมันรายาไม่มีสิทธิในการรับราชการเป็นทหารแต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 รายาที่เป็นมุสลิมก็เริ่มมีสิทธิซึ่งทำให้เป็นที่ไม่พอใจของชนชั้นปกครอง[3]
ที่มาของคำ
แก้คำว่า “رعايا” ในภาษาอาหรับ เป็นพหูพจน์ของคำว่า “رعيّه” ที่แปลตรงตัวว่า “ฝูง” ที่หมายถึง “ข้าแผ่นดิน” ของพระมหากษัตริย์
คำว่า “รายา” หรือ “รายาห์” แปลว่า “เพื่อน” ในภาษาฮิบรู
อ้างอิง
แก้- Molly Greene, A Shared World: Christians and Muslims in the Early Modern Mediterranean, Princeton, 2000. ISBN 0-691-00898-1
- Peter F. Sugar, Southeastern Europe under Ottoman Rule, 1354-1804, series title A History of East Central Europe, volume V, University of Washington Press, 1983. ISBN 0-295-96033-7.