ฉันท์ ขำวิไลเกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2533 รวมอายุ 86 ปี เป็นนักเขียนชาวไทย ผู้ประพันธ์ “ป้ากะปู่กู้อีจู้” บทเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาในยุคแรก และบทเพลงสำหรับเด็ก

ฉันท์ ขำวิไล
เกิด21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447
เสียชีวิต12 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (86 ปี)
ผลงานเด่นแต่งเพลงชาติสยาม บทที่ 3 และ 4
คู่สมรสพจนา ขำวิไล
(มีบุตร-ธิดา 16 คน เป็นชาย 9 คน หญิง 7 คน)
บิดามารดา
  • เสมอ ขำวิไล (บิดา)
  • สายธาร ขำวิไล (มารดา)

ประวัติ แก้

เริ่มการเขียนหนังสือตั้งแต่บวชพระขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ หนังสือที่เขียนเล่มแรกว่าด้วย วิธีบวก ลบ คูณ หาร ต่อมาได้แต่งเรื่อง “นิราศลาสิกขา” “ตำราฉันทศาสตร์” “ตำนานนิราศ” และ กาพย์เห่เรือเรื่อง “นิราศฉันทโสภณ” และกลอน “กำศรวลวังหลัง” โดยเฉพาะกลอนเรื่องนิราศลาสิกขา เป็นที่พอพระทัยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพมากถึงกับทรงเรียกให้เข้าเฝ้า

ผลงาน แก้

แต่งเพลงชาติไทย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นวันที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย หลังจากนั้นไม่นานได้มีการแต่งเพลงชาติขึ้น เพลงชาติเพลงแรกใช้ทำนองเพลงมหาชัยโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นผู้แต่งเนื้อร้อง ต่อมา น.ต. หลวงนิเทศกลกิจ ร.น. (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) แต่งทำนองเพลงชาติแบบสากล และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แต่งเนื้อร้องขึ้นต้นว่า “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า”

ต่อมา พ.ศ. 2477 รัฐบาลตั้งคณะกรรมการดำเนินการเรื่องเพลงชาติไทยโดยขอให้ผู้ชำนาญการดนตรีแต่งทำนองขึ้นหลายทำนอง ในที่สุดคณะกรรมการฯ มีมติเลือกทำนองของพระเจนดุริยางค์ จากนั้นได้ประกาศให้เขียนคำร้องเข้าประกวดกัน ผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ได้คัดเลือกบทเพลงชาติไว้ 2 บท คือ บทของขุนวิจิตรมาตราที่แต่งไว้เดิมกับบทของนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งนับเป็นรางวัลเกียรติยศอีกรางวัลหนึ่งในชีวิต

ผลงานประพันธ์ของครูฉันท์ ขำวิไล ในยุคต่อ ๆ มา ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ งานที่สำคัญ ได้แก่ 100 ปีของสุนทรภู่ เมื่อ พ.ศ. 2498 ประชุมนิราศสุนทรภู่ แต่งเมื่อ พ.ศ. 2499 นิราศพระอภัยมณีและเกียรติประวัติสุนทรภู่ และนิราศอนุสาวรีย์สุนทรภู่ งานประพันธ์อีกชิ้นหนึ่งของนายฉันท์ ขำวิไล ที่นับได้ว่ามีบทบาทสำคัญต่อวงการศึกษาไทย คือ แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม 1 ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยร่วมเขียนเมื่อครั้งได้รับเชิญเข้ามาทำงานในกระทรวงธรรมการ เป็นแบบเรียนเด็กชุด “ป้ากะปู่กู้อีจู้” ซึ่งได้รับความนิยมมาก ซึ่งเด็กไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าเริ่มรู้จักหนังสือไทยจากแบบเรียนของนายฉันท์ ขำวิไล ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังแต่งเพลงร้องของเด็กที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น “สวัสดีเธอจ๋าเรามาพบกัน”

เกียรติคุณ แก้

 
เพลงชาติสยามฉบับราชการ พ.ศ. 2477

ในปีพ.ศ. 2474 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา ได้มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าที่วังวรดิศ ณ วันอังคารที่ 8 เดือนกันยายน พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาประทานโอวาท เพิ่มพูนความรู้ความคิดเห็นในทางวรรณคดี และมีพระประสงค์โปรดฯ ให้แต่งกลอนนิราศลาสิกขาต่อ และเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งด้วยทรงพอพระทัย ขณะนั้นนายฉันท์ ขำวิไล อายุเพียง 26 – 27 ปี เท่านั้น การได้รับเกียรติจากราชบัณฑิตยสถานสภาเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง นับเป็นรางวัลเกียรติยศรางวัลแรกแห่งความเป็นปราชญ์ของท่าน

ผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ได้คัดเลือกบทเพลงชาติไว้ 2 บท คือ บทของขุนวิจิตรมาตราที่แต่งไว้เดิม กับบทของนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งนับเป็นรางวัลเกียรติยศอีกรางวัลหนึ่งในชีวิต เนื้อร้องเพลงชาติที่นายฉันท์แต่ง