ฉบับร่าง:ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย
โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 129 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
เครื่องมือตรวจสอบ
|
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ CommonsDelinker (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 16 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย เป็นการจัดเรียงรายพระนามและนามของบุคคลในสายลำดับการสืบราชสมบัติแห่งราชอาณาจักรไทย การสืบราชสมบัติบัญญัติโดยกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 และภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองทุกฉบับ
ก่อนหน้านั้น ในสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น ใช้ระบบการสืบราชสันตติวงศ์ที่เรียกว่าอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ คือการใช้เสียงของที่ประชุมขุนนางและเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นเอกฉันท์ในการคัดเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ที่มีความเหมาะสมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ก่อนจะถูกยกเลิกไปในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2429 และเปลี่ยนมาให้พระมหากษัตริย์ทรงสมมติพระรัชทายาทขึ้น เป็นตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[1] และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 ตำแหน่งพระรัชทายาทได้รับการรับรองโดยกฎมณเฑียรบาลข้างต้นที่ทรงตราขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การมีสิทธิ
แก้สิทธิสืบราชสันตติวงศ์นั้นเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ซึ่งจัดลำดับราชสันตติวงศ์ไว้ตามสิทธิของพระราชโอรสหัวปี สถานะของพระราชชนนี และเน้นความเป็นบุรุษเพศเท่านั้น
บุคคลจะอยู่ในลำดับราชสันตติวงศ์นี้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ทุกประการ
- ได้รับการยอมรับจากประชาชนชาวไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ (มาตรา 10)
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามต่อไปนี้ (มาตรา 11) ทั้งนี้ เจ้านายที่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแม้เพียง 1 ประการ พระราชโอรสสายตรงของเจ้านายพระองค์ดังกล่าวก็จะถูกถอดออกจากลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ทั้งหมดด้วย (มาตรา 12)
- พระสัญญาวิปลาศ
- ต้องราชทัณฑ์ในคดีมหันตโทษ
- ไม่สามารถทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก
- มีพระชายาเป็นชาวต่างประเทศ (ดังเช่นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่มีพระมารดาเป็นชาวต่างประเทศคือหม่อมคัทริน ณ พิษณุโลก ชาวรัสเซีย)[2]
- เป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงถอนออกจากตำแหน่งรัชทายาท (คือทรงถอดถอนออกจากตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตามมาตรา 7) ไม่ว่าจะเป็นไปในรัชกาลใด ๆ
- เป็นผู้ที่ถูกประกาศให้ยกเว้นออกจากลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ (ดังเช่นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ที่มีพระมารดาคือ ระวี จาตุรจินดา เป็นสามัญชนมิใช่สะใภ้หลวง)[2]
- มิใช่ราชนารี (มาตรา 13; อย่างไรก็ตาม บทบัญญัตินี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งระบุไว้ว่า ในกรณีไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาสามารถให้ความเห็นชอบให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ได้)[3]
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์
แก้หกลำดับแรกตามกฎมณเฑียรบาล ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | |
---|---|
1.เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ | |
2.หม่อมเจ้านวพรรษ์ | |
3.พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล | |
4.หม่อมเจ้าฑิฆัมพร | |
5.หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม | |
6.หม่อมเจ้าจุลเจิม |
หกลำดับแรกตามรัฐธรรมนูญ ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | |
---|---|
1.เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ | |
2.กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร | |
3.เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี | |
4.กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | |
5.กรมพระศรีสวางควัฒน | |
6.หม่อมเจ้านวพรรษ์ |
ในกฎมนเทียรบาล ระบุถึงผู้ที่มีสิทธิในพระราชบัลลังก์ โดยมาตรา 5 ระบุว่า พระมหากษัตริย์มีสิทธิขาดในการสถาปนาพระรัชทายาท (ในประเทศไทยหมายถึงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในกรณีนี้จะระบุฉบับปัจจุบัน คือฉบับพุทธศักราช 2560) มีระบุไว้ในมาตรา 21 ทั้ง 2 กรณี ดังนี้
- วรรคหนึ่ง หากพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาพระรัชทายาทไว้แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งประธานรัฐสภา เพื่อเรียกประชุมรัฐสภาให้รับทราบการสถาปนาพระรัชทายาทข้างต้น ก่อนกราบบังคับทูลเชิญพระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์ เมื่อพระรัชทายาททรงตอบรับแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
- วรรค 2 หากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงสถาปนาพระรัชทายาทไว้ ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ที่อยู่ในลำดับที่ 1 แห่งลำดับการสืบสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล (ยกเว้นผู้ที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11) ซึ่งเรียกว่า "ผู้สืบราชสันตติวงศ์" ผ่านคณะรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ หากได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ดังกล่าวขึ้นทรงราชย์ เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ดังกล่าวทรงตอบรับแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ[4]
โดยเกณฑ์ในการจัดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์มีระบุไว้ในมาตรา 9 ของกฎมณเฑียรบาล แบ่งออกเป็น 13 ข้อ[5] โดยสรุปดังนี้
- สมเด็จหน่อพุทธเจ้า คือ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระอัครมเหสี
- พระราชโอรสของสมเด็จหน่อพุทธเจ้า เริ่มจากพระองค์ใหญ่ เรียงตามลำดับพระชนมายุจากมากไปน้อย
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระอัครมเหสี
- พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในข้อ 3 ตามเกณฑ์ในข้อ 2
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ถัดไปตามลำดับพระชนมายุจากมากไปน้อย หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองถัดลงไปตามลำดับชั้นพระอิสริยยศของพระมารดาจากมากไปน้อย หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- พระเจ้าลูกยาเธอตามลำดับพระชนมายุ หรือพระโอรสของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- สมเด็จพระอนุชาร่วมพระราชชนนีพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมาจากพระมหากษัตริย์
- พระโอรสของสมเด็จพระอนุชาในข้อ 8 ตามเกณฑ์ในข้อ 2
- สมเด็จพระอนุชาร่วมพระชนนีพระองค์ถัดมา หรือพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- สมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3, 4 และ 6
- พระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระโอรสของพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ ตามเกณฑ์ในข้อ 7
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ หรือพระโอรสและเชื้อสายของพระองค์ ตามลำดับความสนิทจากมากไปน้อย ตามเกณฑ์ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 12
เชื้อสายที่ยังมีชีวิตอยู่และไม่ได้อยู่ในสายลำดับการสืบราชสมบัติหรือสิ้นพระชนม์ไปแล้วจะเขียนไว้เป็นตัวเอียงเพราะถือได้ว่าถูกข้ามลำดับไปแล้ว
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2347–2411)
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2396–2453)
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (2424–2468)
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (2436–2484)
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (2435–2472)
- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2468–2489)
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (2470–2559)
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2495–ปัจจุบัน)
- (1) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ (2548–ปัจจุบัน)ม ก
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2495–ปัจจุบัน)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (2425–2475)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (2453–2538)
- (2) หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (2521–ปัจจุบัน)ม ก
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (2456–2534)
- (3) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล (2493–ปัจจุบัน)ม ก
- (4) หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล (2494–ปัจจุบัน)ม ก
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (2458–2541)
- (5) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (2485–ปัจจุบัน)ม ก
- (6) หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล (2490–ปัจจุบัน)ม ก
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (2453–2538)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (2404-2479)
- (7) หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร (2476–ปัจจุบัน)ม ก
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2396–2453)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ""อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ" คติสืบสันตติวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ คืออะไร มีกษัตริย์องค์ใดบ้าง?". ศิลปวัฒนธรรม. 12 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2024.
- ↑ 2.0 2.1 อนันทนาธร, กษิดิศ (4 สิงหาคม 2020). "การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล "มหิดล"". 101.world. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กฎมนเทียรบาล โดย สมหมาย จันทร์เรือง". มติชน. 21 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "การสืบราชสันตติวงศ์ (สืบราชสมบัติ)". ไอลอว์. 20 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รู้จัก 'กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์' หนึ่งในกฎหมายสำคัญของราชวงศ์ไทย". TheThaiger. 7 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41: 194–213. 12 พฤศจิกายน 2467 – โดยทาง ราชกิจจานุเบกษา.