จีเอฟเอเจ-1
ภาพขยายของเซลล์แบคทีเรียจีเอฟเอเจ-1 เจริญเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่มีเกลือของกรดสารหนู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Bacteria
ไฟลัม: Proteobacteria
ชั้น: Gammaproteobacteria
อันดับ: Oceanospirillales
วงศ์: Halomonadaceae

จีเอฟเอเจ-1 (GFAJ ย่อมาจาก "Give Felisa a Job"[1]) เป็นสายพันธุ์ของแบคทีเรียทรงแท่งในวงศ์ Halomonadaceae แบคทีเรียเอ็กซ์ทรีมโมไฟล์ชนิดนี้อาศัยแยกตัวออกจากทะเลสาบมอนอ อันเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัดและมีสภาพด่าง ทางตะวันออกของรัฐแคลิฟอร์เนีย นักวิทยาศาสตร์โดยทีมวิจัย นำโดยนักชีววิทยาดาราศาสตร์ของนาซา เฟลิซา วอล์ฟ-ไซมอน ในวารสารไซแอนซ์ในปี พ.ศ. 2553 ตามข้อมูลของผู้เขียน จุลชีพชนิดนี้เมื่อขาดแคลนธาตุฟอสฟอรัส จะสามารถรวมเอาสารหนูเข้าไปไว้ในโปรตีน ลิพิด และผลผลิตจากกระบวนการสร้างและสลาย อย่างเช่น เอทีพี เช่นเดียวกับดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันโดยตรง[2][3] กลไกของการนำสารหนูเข้าไปไว้ในโครงสร้างที่เป็นสารชีวโมเลกุลของเซลล์ยังไม่เป็นที่ทราบกัน และผลของการค้นพบดังกล่าวยังไม่อาจตอบข้อสงสัยของนักวิทยาศาสตร์บางคนได้ การค้นพบจีเอฟเอเจ-1 ได้ให้น้ำหนักแก่แนวคิดที่มีมานานแล้วว่าชีวิตนอกโลกอาจประกอบขึ้นจากธาตุพื้นฐานที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตบนโลก[3][4]

การค้นพบ แก้

แบคทีเรียจีเอฟเอเจ-1 ได้รับการค้นพบโดยนักธรณีจุลชีววิทยา เฟลิซา วอล์ฟ-ไซมอน นักวิจัยสาขาชีววิทยาดาราศาสตร์ในงานสำรวจธรณีสหรัฐอเมริกาในเมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย[5] สิ่งมีชีวิตดังกล่าวถูกแยกออกมาและได้รับการเพาะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จากตัวอย่างที่ไซมอนและเพื่อนร่วมงานได้เก็บรวบรวมมาจากตะกอนที่อยู่ก้นทะเลสาบมอนอ[4] อันเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัดและมีสภาพด่างสูงมาก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีความเข้มข้นของสารหนูในธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (200 ไมโครโมลาร์)[6] การค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553[2]

อ้างอิง แก้

  1. Davies, Paul (4 December 2010). "The 'Give Me a Job' Microbe". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2010-12-05.
  2. 2.0 2.1 Katsnelson, Alla (2 December 2010). "Arsenic-eating microbe may redefine chemistry of life". Nature News. doi:10.1038/news.2010.645. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  3. 3.0 3.1 Palmer, Jason (2 December 2010). "Arsenic-loving bacteria may help in hunt for alien life". BBC News. doi:10.1038/news.2010.645. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Thriving
  5. Bortman, Henry (5 October 2009). "Searching for Alien Life, on Earth". Astrobiology Magazine (NASA). สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Science