จีฟอร์ซ 10 ซีรีส์
จีฟอร์ซ 10 ซีรีส์ (อังกฤษ: GeForce GTX 10 Series[1]) เป็นตระกูลของหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ พัฒนาโดยอินวิเดีย โดยเป็นตระกูลต่อจากจีฟอร์ซ 900 ซีรีส์ ซึ่งในตระกูลนี้ใช้สถาปัตยกรรมไมโครปัสกาล โดยพัฒนาจากสถาปัตยกรรมไมโครแม็กซ์เวลล์ ใช้เทคโนโลยี ฟินเฟต 16 นาโนเมตร ผลิตโดยทีเอสเอ็มซี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำในประเทศไต้หวัน [2]
วันเปิดตัว | พฤษภาคม พ.ศ. 2559 |
---|---|
รหัสรุ่น | Pascal (ปาสคาล) รหัส GP10x |
สถาปัตยกรรม | อินวิเดีย ปัสกาล |
รุ่น | จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ ซีรีส์ |
การประมวลผล และทรานซิสเตอร์ | 3.3 พันล้านทรานซิสเตอร์ 14 นาโนเมตร (จีพี 107) 4.4 พันล้านทรานซิสเตอร์ 16 นาโนเมตร (จีพี 106) 7.2 พันล้านทรานซิสเตอร์ 16 นาโนเมตร (จีพี 104) 12 พันล้านทรานซิสเตอร์ 16 นาโนเมตร (จีพี 102) |
การ์ดแสดงผล | |
รุ่นล่าง | จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ 1050 จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ 1050 ทีไอ |
รุ่นกลาง | จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ 1060 |
รุ่นสูง | จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ 1070 จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ 1070 ทีไอ จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ 1080 |
Enthusiast | จีฟอร์ซ จีทีเอ็กซ์ 1080 ทีไอ อินวิเดีย ไททัน เอ็กซ์ อินวิเดีย ไททัน เอ็กซ์พี |
การเร็นเดอร์ | |
ไดเร็กต์ 3 ดี | ไดเร็กต์ 3 ดี 12.0 ระดับฟีเจอร์ 12_1 |
โอเพนซีแอล | โอเพนซีแอล 1.2 |
โอเพนจีแอล | โอเพนจีแอล 4.5 |
วูลคาน | วูลคาน 1.0 เอสพีไออาร์-วี |
ประวัติ | |
รุ่นก่อนหน้า | จีฟอร์ซ 900 ซีรีส์ |
สถาปัตยกรรมแก้ไข
สถาปัตยกรรมไมโคร ของจีฟอร์ซ 10 ซีรีส์ มีชื่อว่า "ปัสกาล" ตั้งตามแบลซ ปัสกาล นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในช่วงหลังยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเปิดตัวในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[3]
อินวิเดียได้ประกาศว่าหน่วยประมวลผลกราฟิกปัสกาลมีหน่วยความจำความถี่สูง 4 ชั้น และมีความจุ 16 จิกะไบต์ บนรุ่นระดับสูงของหน่วยประมวลผลกราฟิก[4], ใช้เทคโนโลยี 16 นาโนเมตร,[5] สถาปัตยกรรมแบบหน่วยความจำรวม และ เอ็นวีลิงก์ ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่เชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง[6]
สถาปัตยกรรมถัดไปแก้ไข
หลังจากปัสกาลแล้ว อินวิเดียได้พัฒนาสถาปัตยกรรมถัดไป มีชื่อว่า "โวลตา" ตั้งตาม อาเลสซานโดร โวลตา นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีในช่วงหลังยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18[7]
ผลิตภัณฑ์แก้ไข
จีฟอร์ซ 10 ซีรีส์แก้ไข
บนในตารางนี้ จะเอารุ่น Founders Edition มาเป็นค่าเริ่มต้น โดยอาจจะแตกต่างกันไปกับผู้ผลิตการ์ดจอที่ไม่ใช่ในรุ่น Founders Edition
จีฟอร์ซ 10 ซีรีส์ สำหรับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คแก้ไข
สำหรับรุ่นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คนั้น ทางอินวิเดียได้เอากราฟิคจากการ์ดมาอยู่ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โดยที่ไม่มีการตัดทอนประสิทธิภาพลงเหมือนรุ่นก่อน (หรือใส่รหัส M ลงท้าย) แต่จะปรับให้มีความเร็วที่เหมาะสม , ลดค่า TDP ลง และอาจเพิ่มจำนวน Core ได้ ทำให้ประสิทธิภาพการ์ดจอบนคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คนั้น มีความเร็วเทียบเท่าการ์ดจอบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอัตราในการกินไฟน้อยลง
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "GTX 1080 Graphics Card". สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2559. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "Talks of foundry partnership between NVIDIA and Samsung (14nm) didn't succeed, and the GPU maker decided to revert to TSMC's 16nm process". สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "NVIDIA Updates GPU Roadmap; Announces Pascal". The Official NVIDIA Blog.
- ↑ "Nvidia Pascal GP100 GPU Flagship Will Pack A 4096-bit Memory Bus And Four 8-Hi HBM2 Stacks". สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "Talks of foundry partnership between NVIDIA and Samsung (14nm) didn't succeed, and the GPU maker decided to revert to TSMC's 16nm process". สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "NVIDIA Pascal GPU Architecture to Provide 10X Speedup for Deep Learning Apps - NVIDIA Blog". The Official NVIDIA Blog.
- ↑ "Nvidia's Pascal to use stacked memory, proprietary NVLink interconnect". The Tech Report. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=
(help)