คุยเรื่องวิกิพีเดีย:กลยุทธ์วิกิมีเดีย ค.ศ. 2017

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 7 ปีที่แล้ว โดย B20180 ในหัวข้อ แนวทางพัฒนาโครงการวิกิมีเดีย

เปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันกับสังคมและเทคโนโลยี แก้

วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงในปัจจุบัน แม้ว่าจะยังมีช่องว่างที่พัฒนาได้ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือในภาษาเล็ก แต่ในอีกทิศทางหนึ่งก็กำลังพบกับจุดอิ่มตัวและกำลังเข้าสู่ขาลงในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหรือสำหรับในภาษาใหญ่ การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับในสังคมและเทคโนโลยีจะทำให้วิกีเดียและโครงการพี่น้องสามารถดำรงสถานะในตลาดที่พัฒนาแล้วไว้ได้และขยายศักยภาพในตลาดเกิดใหม่ การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น

  1. การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสังคม วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นการทดลองทางสังคม และเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างออกไปตามบริบทของแต่ละแห่ง สังคมในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ปัจจัยส่งเสริมเกื้อหนุนและอุปสรรคก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องจึงควรวางแผนกลยุทธ์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ใช้โอกาสที่เกิดขึ้นให้คุ้มค่าและลด/ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยง
    • วัฒนธรรมเสาหลักของชุมชน: สังคมแห่งความโปร่งใส เปิดเผย โลกาภิวัฒน์ vs แนวคิดการปิดกั้น การตรวจพิจารณา และอนุรักษ์นิยม
    • บรรยากาศที่ส่งเสริมการทำงานอาสาสมัคร: สังคมแห่งการแบ่งปัน เสียสละและเห็นค่าสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ vs ความเร่งรีบ วุ่นวาย เห็นแก่ตัวและวัตถุนิยม
    • ความคาดหวังในการบริโภคสารสนเทศ: การนำเสนอในรูปข้อมูลดิบ ตัวเลข ข้อเท็จจริง vs การนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ข้อมูลสรุป บทวิเคราะห์
    • ทางเลือกอื่นในการบริโภคสารสนเทศ:
      • เว็บของรัฐบาลจะเปิดเผย/บริการข้อมูลแก่ประชาชนมากขึ้นในรูปแบบที่เข้าถึงง่ายขึ้นกว่าเดิม (ปัจจุบันวิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลรหัสไปรษณีย์ รายชื่อโรงเรียน/วัด/เขตการปกครอง เป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างง่ายที่เจ้าของข้อมูลมีความได้เปรียบและความเหมาะสมมากกว่าจะที่จะเป็นผู้เผยแพร่)
      • "Quick facts" ที่ search engine แสดงผลจากเว็บที่เป็นแหล่งข้อมูลทำให้ไม่เกิดการเข้าชมเว็บที่เป็นแหล่งข้อมูล (ปัจจุบันข้อมูลส่วนใหญ่ที่กูเกิลแสดงในกล่องมาจากวิกิพีเดีย)
    • สังคมที่พึ่งพาและให้น้ำหนักกับ social media หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อันเป็นบรรษัทเอกชนข้ามชาติไม่กี่ราย แม้ว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถูกออกแบบมามิให้รวมศูนย์ ขยายโอกาสและกระจายการควบคุม แต่ผลลัพธ์ในปัจจุบันกลับเป็นว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ไม่กี่รายกลับเป็นผู้ที่ให้บริการคนส่วนใหญ่ของโลก วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ว่าวิกิพีเดียแตกต่างตรงที่เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้
  2. การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเทคโนโลยี
    • การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
      • ช่องทางอุปกรณ์เคลื่อนที่และไร้สายมีข้อจำกัดที่ต่างออกไปจากการใช้บนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่มีโอกาสใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้ศึกษาเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
      • ปริมาณและแนวโน้มมากขึ้น ครอบคลุมประชากรในอัตราส่วนที่มากขึ้น ในต้นทุกที่พอจ่ายได้และไม่แพง
    • วิธีการ ช่องทาง และรูปแบบการเขียนวิกิพีเดีย
      • วิธีการ: Wiki markup vs Visual editor ความซับซ้อนทางเทคนิคมีมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของสังคม แต่ความซับซ้อนที่มากขึ้นก็กลายเป็นอุปสรรคในการตอบสนองความต้องการนั้นเอง
      • ช่องทาง: อาจมีการใช้เสียง ภาพ หรือวีดีโอมากขึ้น ทั้งในฐานะสื่อในบทความ หรือมาใช้ทดแทนบทความ หรือใช้ในการสั่งการเพื่อเขียนบทความ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้อุปกรณ์ไร้สาย
      • รูปแบบการเขียนอาจเปลี่ยนไป: see also (ดูเพิ่ม) อาจถูกทดแทนด้วยข้อมูลที่สร้างขึ้นจาก wiki data หรือ algorithm ที่ผู้อ่าน/เว็บไซต์กำหนด references (อ้างอิง) อาจรวมไว้เป็นฐานข้อมูลกลางที่หยิบมาอ้างได้ทุกหน้าอย่างเดียวกับวิกิมีเดียคอมมอนส์
    • วิกิพีเดียต้องพึ่งพาแหล่งข้อมูลภายนอกในการอ้างอิง และต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของแหล่งข้อมูลที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น แต่เข้าถึงไม่ได้
      • การเข้าถึงข้อมูลต้องผ่าน paywall เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือ หรือ วารสารวิชาการ ที่ต้องจ่ายเงินก่อนเข้าถึง
      • ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยวิธีทั่วไป deep web เช่น social media ที่จำกัดการเข้าถึงเฉพาะกลุ่ม และเว็บที่ตั้งค่าไม่ให้บอตของเสริชเอนจิ้นทำงาน
      • ความพยายามในการทำให้เข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้ฟรีตลอดไป เช่น pre-print server, internet archive และ WikiJournal Club
    • เทคโนโลยีที่เว็บปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการเฉพาะบุคคล วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องมีฟีเจอร์ที่จำกัด โดยเฉพาะสำหรับผู้อ่าน ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก แต่มีเว็บอื่นได้ทดลองดำเนินการเปิดฟีเจอร์เหล่านี้ให้ใช้ไปแล้ว เช่น Wikiwand
ทางเลือกในการปรับตัว
  • ถ้าไม่ปรับตัวอย่างก้าวกระโดด - คงยึดกับสินค้าและบริการเดิม
    • และยังไม่พัฒนาสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ดี มีคู่แข่ง สินค้าและบริการอื่นเข้ามาทดแทน เราก็อาจจะเป็นอย่าง Polaroid, Borders Group หรือ RadioShack ที่ต้องปิดตัวลง
    • แต่ยึดมั่นในสิ่งที่เรามีในปัจจุบันไว้ให้มั่น ทำให้ดีในสิ่งที่เรายึดถือและเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราก็อาจจะเป็นอย่าง Kodak ที่ยังคงอยู่ได้ แต่ไม่ใช่ผู้นำที่ครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่ง
  • ถ้าปรับตัวอย่างก้าวกระโดด - ปรับเปลี่ยนเปลี่ยนอัตลักษณ์ สินค้าและบริการไปตามกระแสโลก
    • และยอมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อความอยู่รอด เราอาจไม่เหมือนเดิม เช่น Serco ให้บริการตั้งแต่ผู้ต้องขังไปจนถึงราชวงศ์ [1] Nokia เริ่มจากทำกระดาษชำระ ผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วเปลี่ยนไปทำโทรศัพท์ Kyocera เปลี่ยนจากทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    • แต่ยังคงตั้งมั่นอยู่ในพันธกิจที่ทำโดยใช้เทคโนโลยีใหม่และบริบทสังคมใหม่ให้สอดคล้องกับงาน เราอาจจะเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการ เช่น Google, Apple

--Taweethaも (พูดคุย) 07:45, 10 เมษายน 2560 (+07)ตอบกลับ

กลยุทธ์วิกิมีเดียในมุมมองแบบคอมมิวนิสต์ แก้

 
เดินหน้าสู่ชัยชนะในวิกิพีเดีย

สำหรับตัวผมแล้วอาจจะมีความคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์วิกิมีเดียในมุมมองแบบคอมมิวนิสต์บ้าง แต่อยากแสดงครับ

เราต้องการที่จะสร้างหรือบรรลุเป้าหมายอะไรร่วมกันในช่วง 15 ปีข้างหน้า ? แก้

  1. ร่วมกันสร้างเอกภาพและความสามัคคีในวิกิมีเดีย
  2. ปราบปรามการก่อกวนทุกรูปแบบในวิกิมีเดีย
  3. พัฒนาวิกิมีเดียให้ทันสมัยทันเหตุการณ์
  4. ปลดปล่อยทุกคนด้วยความรู้
  5. กล้าที่จะทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
  6. วิกิพีเดียภาษาไทย จะมีบทความครบ 200,000 บทความ ภายใน 5-10 ปี ขึ้นอยู่ว่าชาววิกิพีเดียไทยจะสามัคคีหรือไม่

นี้คือความคิดเห็นของกลยุทธ์วิกิมีเดียในมุมมองของผมนะครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (พูดคุย) 08:47, 12 เมษายน 2560 (ICT)

แนวทางพัฒนาโครงการวิกิมีเดีย แก้

  1. กิจกรรมพบปะ : ในบางครั้ง การจัดกิจกรรมพบปะนอกสถานที่อาจมีอุปสรรคในแง่ของสถานที่ หรือเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจอยู่ไกลสำหรับผู้ต้องการมีส่วนร่วมบางราย หรืออยู่ใกล้ แต่ไม่มีเวลาพอที่จะเข้าร่วม จึงต้องมีการวางแผน และเตรียมการให้มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น
  2. การวางรากฐานโครงการต่าง ๆ : บางโครงการ ผมพบว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตของผู้คนอยู่พอสมควร อาทิ:
  3. ด้านเทคนิค : ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาไทย มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคค่อนข้างน้อย จึงอยากให้มีการจัดกิจกรรมสอนการใช้โปรแกรม เช่น การจัดงานแฮกกาธอน (Hackathon) สำหรับกลุ่มชาววิกิมีเดียในประเทศไทย
  4. ปฏิบัติการ : แม้จะมีการวางแผนที่ดี แต่หากไม่มีการร่วมมือลงมือปฏิบัติใด ๆ ก็คงไร้ความหมาย จึงต้องหาทางสร้างแรงจูงใจ หรือแรงผลักดันเชิงบวก เพื่อให้โครงการต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
  5. ผู้ดูแลระบบ : ความประพฤติหรือปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนของผู้ดูแลระบบ ก็มีผลต่อการเติบโตของโครงการโดยอ้อม สมาชิกชุมชนคงต้องช่วยกันพิจารณาในการเลือกผู้ดูแลระบบอย่างระมัดระวัง โครงการจะล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จ จึงขึ้นอยู่กับสมาชิก และอาสาสมัครของชุมชนเป็นสำคัญ
  6. วิกิสนเทศ (Wikidata) : การเข้ามาของโครงการนี้ช่วยให้มีการเพิ่มลิงก์ข้ามภาษาที่เป็นระบบมากขึ้น หากมีโอกาส ก็จะทำการระบุ (Statements และ Identifiers), แปลคู่มือ, จัดลิงก์ข้ามภาษา, รวมหน้าที่ซ้ำกัน หรือแก้ลิงก์ให้ถูกต้องด้วยตนเอง
  7. กิจกรรมแกลม (GLAM) : หากมีกิจกรรมแกลม (GLAM) ที่ครอบคลุมต่อหอศิลป์ (Galleries), หอสมุด (Libraries), หอจดหมายเหตุ (Archives) และพิพิธภัณฑ์ (Museums) จากการให้บริการเชิงรุก ก็จะเป็นประโยชน์ในแง่ของการเผยแพร่สื่อเสรีที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย ไม่จำกัดเฉพาะในเขตเมืองหลวงหรือปริมณฑลเพียงอย่างเดียว
  8. ความหลากหลายของผู้เข้าร่วม : ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ควรมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น โดยไม่จำกัดเพศ, เปิดโอกาสให้คนพิการได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม รวมถึงผู้คนจากต่างชาติต่างภาษามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการทำงานร่วมกันโดยปราศจากอคติ เพราะบุคคลจากแต่ละฝ่ายต่างมีศักยภาพในการเติมเต็มต่อโครงการวิกิมีเดีย

--B20180 (พูดคุย) 14:47, 13 เมษายน 2560 (+07)ตอบกลับ

กลับไปที่หน้าโครงการ "กลยุทธ์วิกิมีเดีย ค.ศ. 2017"