ไม่มีใครจะย้อนวันเวลาได้ ..ใกล้จะสิ้นรอมะฎอนทีไร หลายคนได้คิดทบทวนถึงการงานที่ผ่านมา มีทั้งคนที่ขะมักเขม้นทำอิบาดะฮ์ และที่ปล่อยเวลาผ่านพ้นไปกับเรื่องไร้สาระต่างๆ มาถึงวันนี้จะมีคำถามคล้ายๆ กันว่า ..รอมฎอนปีนี้จะมีกี่วัน? ..จะดูเดือนวันไหน? ..เอาเดือนประเทศไหน? ..จะตามที่ไหนได้บ้าง? ..จะออกบวชเมื่อไหร่? ..วันอีดิ้ลฟิฏริจะตรงกับวันอะไร? ..ทำไมจึงออกบวชไม่ตรงกัน ..แล้วเราจะไปละหมาดอีดที่ไหนกันดี? ? ! & # $ + ??

..1 เชาวาล ? --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Witayadata (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:07, 12 กันยายน 2553 (ICT)

คำตอบของคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะเข้าใจไม่ได้ หากท่านมองโลกให้กว้าง มีใจเป็นธรรม และไม่ยึดติดกับตัวบุคคลหรือคณะ

คำตอบที่ยังคงความขัดแย้งอยู่อย่างสม่ำเสมอ และควรจะหยิบยกมาทำความเข้าใจกัน น่าจะอยู่ตรงคำถามที่ว่า ..จะเอาเดือนประเทศไหน? ..จะตามที่ไหนได้บ้าง? และ ..ทำไมจึงออกบวชไม่ตรงกัน?

ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่างๆ จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ได้ทรงกำหนดไว้

อาจเป็นเพราะการเข้าใจเป้าหมายของการดูเดือนไม่ถูกต้อง การหยิบยกเฉพาะหลักฐานหนึ่งหลักฐานใด การตีความตามตัวอักษร หรือบางเหตุการณ์ในมุมมองแคบๆ ขาดการมองในองค์รวม หรือจุดประสงค์ของการกำหนดให้ดูเดือน และมักมองว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านอื่นมาประกอบ หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดแย้งมานานแล้ว จึงทำให้ความขัดแย้งนี้ยังคงอยู่ ซึ่ง ณ ที่นี้เชื่อว่าหลายคนยอบรับว่าความขัดแย้งที่มีอยู่ซึ่งเป็นแนวทางที่ปฏิบัติแตกต่างกันนั้น มีหลักฐานรองรับด้วยกันทั้งนั้น จึงจะไม่ขอนำหลักฐานเหล่านั้นมาอ้างอิงเพื่อหักล้างกันไปหักล้างกันมาอีก

เรามักเข้าใจผิด ถึงคำว่า ตรงกัน ว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน (การเริ่มต้นวันของอิสลามนั้นเริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าประกอบกับการนับเดือนและเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนใช้ระบบจันทรคติ จึงไม่ยึดติดกับเส้นแบ่งวันที่ถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง) ความจริงมีอยู่ว่า การเริ่มเดือนใหม่ของแต่ละเดือนนั้นมีจุดเริ่มต้นของเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน เป็นความเป็นธรรมอย่างยิ่งที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ให้การเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนได้หมุนผลัดเปลี่ยนเวียนไปตามพื้นที่หรือประเทศต่างๆ โดยไม่ยึดติดกับที่หนึ่งที่ใดโดยเฉพาะ (เรื่องนี้มีรายละเอียดมากที่สามารถอธิบายได้สำหรับผู้ที่สนใจ) ดังนั้นถ้าเราได้ให้ความสำคัญกับการดูเดือนจริงๆ และรู้เป้าหมายที่แท้จริงแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะเกิดความคลาดเคลื่อน หรือไม่ตรงตามสภาพความจริงบนท้องฟ้า (ดวงจันทร์หมุนรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 1 เดือนตามจันทรคติ)และ คำว่า ตามกัน ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน หรือรอว่ามีที่ไหนเห็นเดือนโดยไม่คำนึงว่าเวลาเริ่มดูเดือน(เวลาเข้ามักริบ)จะมาที่หลังก็ตาม กลายเป็นยึดเส้นแบ่งวันไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งเส้นแบ่งวันนั้นถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง ดังนั้นควรต้องตามความเป็นจริงที่เป็นไปแล้ว เช่นเมื่อรู้ว่ามีการเห็นเดือนแล้ว(ดวงจันทร์หมุนรอบโลกครบรอบแล้ว และกลับมาอยู่เหนือแนวระนาบอีกครั้ง) คือเริ่มเดือนใหม่แล้ว หรือ วันที่ 1 ของเดือนใหม่เริ่มมาแล้ว จะเป็นที่ใดก็ตาม ก่อนจะถึงเวลาหรือขณะที่เราเริ่มดูเดือน(เวลาเข้ามักริบ)ก็ต้องถือว่าเดือนใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว(เริ่มวันใหม่นับจากเข้าเวลามักริบ) สามารถจะตามการเห็นเดือนของประเทศที่เห็นมาก่อนหน้านี้ได้ แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นวันที่ผ่านมาก็ตาม ดังนั้นบางครั้งการออกบวชของแต่ละประเทศจะเป็นคนละวันกันจึงไม่ได้หมายความว่าออกบวชไม่ตรงกัน เพราะจะเริ่มมาจากประเทศแรกที่เห็นเดือนในเดือนนั้นๆก่อน แล้วเป็นประเทศต่อไปเรื่อยๆ วนไปตามเวลามักริบของแต่ละประเทศที่ย่างเข้ามา --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Witayadata (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:07, 12 กันยายน 2553 (ICT)

จะสังเกตได้ว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่นั้น จะประกาศผลการดูเดือน(ดวงจันทร์) ได้ทันทีเมื่อพ้นมักริบเพียงเล็กน้อยหรือสอบสวนแน่ใจว่ามีการเห็นเดือนจริงหรือไม่แล้ว โดยอาศัยข้อเท็จจริงบนท้องฟ้ามาเป็นข้อมูลประกอบ หรือจะตามประเทศที่ดูและเห็นเดือนก่อน ไม่ใช่รอประเทศที่ดูเดือนที่หลัง ก็น่าสงสัยอีกว่าเมื่อไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในกลุ่มประเทศอาหรับคนไทยส่วนหนึ่งที่อ้างว่าตามการเห็นเดือนทั่วโลกก็จะชิงประกาศตาม ซึ่งตามความเป็นจริงเมื่อเวลาผ่านไปอีกการเกิดเดือนใหม่หรือจันทร์เสี้ยวก็จะต้องมีประเทศหนึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดเดือนใหม่(เห็นจันทร์เสี้ยว)อยู่ดี เลยไม่รู้ว่าอะไรคือจุดยืนที่แท้จริง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Witayadata (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:07, 12 กันยายน 2553 (ICT)

ดังนั้น ความขัดแย้ง แบ่งกลุ่มแบ่งคณะ และการตามแบบไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงใดๆ อ้างว่าท่านร่อซูลทำแค่นี้ ไม่เคยถามว่าเดือนคว่ำหรือหงาย เห็นที่ไหน และอ้างว่าเป็นความเห็นของนักวิชาการส่วนมาก ซึ่งจริงแล้วประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้หลักการตามโดยไม่คำนึงถึงอะไรเลย(ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) หรือบางครั้งเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ใช้หลักการตามหรือปฏิบัติอย่างไร ก็จะอ้างว่าศาสนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเห็นของคนส่วนมาก แล้วอะไรคือจุดยืนที่แน่นอน … ถึงตอนนี้น่าจะยอมรับความจริง หันหน้ามาพูดคุยทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน เพื่อสังคมจะได้ไม่แตกแยก ร่วมกันทำงานเพื่ออิสลามอย่างบริสุทธิ์ใจ ความไม่ตรงกันที่มีอยู่ในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้เราเข้าใจไปว่า ที่ไหนๆ ก็ไม่ตรงกัน

อ.วิทยา เลาะวิถี

รอมะฎอน .. เชาวาล .. อีดุลฟิฏริ แก้

ไม่มีใครจะย้อนวันเวลาได้ ..ใกล้จะสิ้นรอมะฎอนทีไร หลายคนได้คิดทบทวนถึงการงานที่ผ่านมา มีทั้งคนที่ขะมักเขม้นทำอิบาดะฮ์ และที่ปล่อยเวลาผ่านพ้นไปกับเรื่องไร้สาระต่างๆ มาถึงวันนี้จะมีคำถามคล้ายๆ กันว่า ..รอมฎอนปีนี้จะมีกี่วัน? ..จะดูเดือนวันไหน? ..เอาเดือนประเทศไหน? ..จะตามที่ไหนได้บ้าง? ..จะออกบวชเมื่อไหร่? ..วันอีดิ้ลฟิฏริจะตรงกับวันอะไร? ..ทำไมจึงออกบวชไม่ตรงกัน ..แล้วเราจะไปละหมาดอีดที่ไหนกันดี? ? ! & # $ + ??

..1 เชาวาล ? --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Witayadata (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:07, 12 กันยายน 2553 (ICT)

คำตอบของคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะเข้าใจไม่ได้ หากท่านมองโลกให้กว้าง มีใจเป็นธรรม และไม่ยึดติดกับตัวบุคคลหรือคณะ

คำตอบที่ยังคงความขัดแย้งอยู่อย่างสม่ำเสมอ และควรจะหยิบยกมาทำความเข้าใจกัน น่าจะอยู่ตรงคำถามที่ว่า ..จะเอาเดือนประเทศไหน? ..จะตามที่ไหนได้บ้าง? และ ..ทำไมจึงออกบวชไม่ตรงกัน?

ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่างๆ จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ได้ทรงกำหนดไว้

อาจเป็นเพราะการเข้าใจเป้าหมายของการดูเดือนไม่ถูกต้อง การหยิบยกเฉพาะหลักฐานหนึ่งหลักฐานใด การตีความตามตัวอักษร หรือบางเหตุการณ์ในมุมมองแคบๆ ขาดการมองในองค์รวม หรือจุดประสงค์ของการกำหนดให้ดูเดือน และมักมองว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านอื่นมาประกอบ หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดแย้งมานานแล้ว จึงทำให้ความขัดแย้งนี้ยังคงอยู่ ซึ่ง ณ ที่นี้เชื่อว่าหลายคนยอบรับว่าความขัดแย้งที่มีอยู่ซึ่งเป็นแนวทางที่ปฏิบัติแตกต่างกันนั้น มีหลักฐานรองรับด้วยกันทั้งนั้น จึงจะไม่ขอนำหลักฐานเหล่านั้นมาอ้างอิงเพื่อหักล้างกันไปหักล้างกันมาอีก

เรามักเข้าใจผิด ถึงคำว่า ตรงกัน ว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน (การเริ่มต้นวันของอิสลามนั้นเริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าประกอบกับการนับเดือนและเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนใช้ระบบจันทรคติ จึงไม่ยึดติดกับเส้นแบ่งวันที่ถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง) ความจริงมีอยู่ว่า การเริ่มเดือนใหม่ของแต่ละเดือนนั้นมีจุดเริ่มต้นของเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน เป็นความเป็นธรรมอย่างยิ่งที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ให้การเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนได้หมุนผลัดเปลี่ยนเวียนไปตามพื้นที่หรือประเทศต่างๆ โดยไม่ยึดติดกับที่หนึ่งที่ใดโดยเฉพาะ (เรื่องนี้มีรายละเอียดมากที่สามารถอธิบายได้สำหรับผู้ที่สนใจ) ดังนั้นถ้าเราได้ให้ความสำคัญกับการดูเดือนจริงๆ และรู้เป้าหมายที่แท้จริงแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะเกิดความคลาดเคลื่อน หรือไม่ตรงตามสภาพความจริงบนท้องฟ้า (ดวงจันทร์หมุนรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 1 เดือนตามจันทรคติ)และ คำว่า ตามกัน ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน หรือรอว่ามีที่ไหนเห็นเดือนโดยไม่คำนึงว่าเวลาเริ่มดูเดือน(เวลาเข้ามักริบ)จะมาที่หลังก็ตาม กลายเป็นยึดเส้นแบ่งวันไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งเส้นแบ่งวันนั้นถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง ดังนั้นควรต้องตามความเป็นจริงที่เป็นไปแล้ว เช่นเมื่อรู้ว่ามีการเห็นเดือนแล้ว(ดวงจันทร์หมุนรอบโลกครบรอบแล้ว และกลับมาอยู่เหนือแนวระนาบอีกครั้ง) คือเริ่มเดือนใหม่แล้ว หรือ วันที่ 1 ของเดือนใหม่เริ่มมาแล้ว จะเป็นที่ใดก็ตาม ก่อนจะถึงเวลาหรือขณะที่เราเริ่มดูเดือน(เวลาเข้ามักริบ)ก็ต้องถือว่าเดือนใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว(เริ่มวันใหม่นับจากเข้าเวลามักริบ) สามารถจะตามการเห็นเดือนของประเทศที่เห็นมาก่อนหน้านี้ได้ แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นวันที่ผ่านมาก็ตาม ดังนั้นบางครั้งการออกบวชของแต่ละประเทศจะเป็นคนละวันกันจึงไม่ได้หมายความว่าออกบวชไม่ตรงกัน เพราะจะเริ่มมาจากประเทศแรกที่เห็นเดือนในเดือนนั้นๆก่อน แล้วเป็นประเทศต่อไปเรื่อยๆ วนไปตามเวลามักริบของแต่ละประเทศที่ย่างเข้ามา --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Witayadata (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:07, 12 กันยายน 2553 (ICT)

จะสังเกตได้ว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่นั้น จะประกาศผลการดูเดือน(ดวงจันทร์) ได้ทันทีเมื่อพ้นมักริบเพียงเล็กน้อยหรือสอบสวนแน่ใจว่ามีการเห็นเดือนจริงหรือไม่แล้ว โดยอาศัยข้อเท็จจริงบนท้องฟ้ามาเป็นข้อมูลประกอบ หรือจะตามประเทศที่ดูและเห็นเดือนก่อน ไม่ใช่รอประเทศที่ดูเดือนที่หลัง ก็น่าสงสัยอีกว่าเมื่อไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในกลุ่มประเทศอาหรับคนไทยส่วนหนึ่งที่อ้างว่าตามการเห็นเดือนทั่วโลกก็จะชิงประกาศตาม ซึ่งตามความเป็นจริงเมื่อเวลาผ่านไปอีกการเกิดเดือนใหม่หรือจันทร์เสี้ยวก็จะต้องมีประเทศหนึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดเดือนใหม่(เห็นจันทร์เสี้ยว)อยู่ดี เลยไม่รู้ว่าอะไรคือจุดยืนที่แท้จริง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Witayadata (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:07, 12 กันยายน 2553 (ICT)

ดังนั้น ความขัดแย้ง แบ่งกลุ่มแบ่งคณะ และการตามแบบไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงใดๆ อ้างว่าท่านร่อซูลทำแค่นี้ ไม่เคยถามว่าเดือนคว่ำหรือหงาย เห็นที่ไหน และอ้างว่าเป็นความเห็นของนักวิชาการส่วนมาก ซึ่งจริงแล้วประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้หลักการตามโดยไม่คำนึงถึงอะไรเลย(ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) หรือบางครั้งเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ใช้หลักการตามหรือปฏิบัติอย่างไร ก็จะอ้างว่าศาสนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเห็นของคนส่วนมาก แล้วอะไรคือจุดยืนที่แน่นอน … ถึงตอนนี้น่าจะยอมรับความจริง หันหน้ามาพูดคุยทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน เพื่อสังคมจะได้ไม่แตกแยก ร่วมกันทำงานเพื่ออิสลามอย่างบริสุทธิ์ใจ ความไม่ตรงกันที่มีอยู่ในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้เราเข้าใจไปว่า ที่ไหนๆ ก็ไม่ตรงกัน

อ.วิทยา เลาะวิถี --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Witayadata (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:07, 12 กันยายน 2553 (ICT)