โรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน

แก้

โรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน จัดตั้งขึ้นโดย ท่านอาจารย์ ดร.กมล ชูทรัพย์ เจ้าของ และผู้อำนวยการโรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ เพื่อรองรับความต้องการของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) แล้ว เข้าเรียนต่อสายพาณิชยกรรมที่ โรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดย อาจารย์ ดร. วิภาพรรณ ชูทรัพย์ เป็นผู้จัดการ และ อาจารย์กมล พรหมเจริญ เป็นอาจารย์ใหญ่ เปิดสอนวิชาชีพ พาณิชยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตร 3 ปี และในปี พ.ศ. 2522 ได้ทำการเปิดสอนในรอบบ่าย และรอบพิเศษเพิ่มขึ้นจากการที่โรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน เปิดทำการ สอนถึง 3 รอบ ทำให้มี นักเรียน/นักศึกษา เพิ่มมากขึ้นจนต้องขยายพื้นที่ สร้างอาคารใหม่เพื่อให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียน/นักศึกษา ในระยะแรก เปิดสอนหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการขาย การบัญชี การเลขานุการ

         ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 อาจารย์ ดร.วิภาพรรณ ชูทรัพย์ ผู้รับใบอนุญาต คนปัจจุบัน ได้ขออนุญาตเปิดสอนเพิ่มอีก หนึ่งสาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบริการธุรกิจสถานพยาบาล เพื่อสนองความต้องการของผู้ที่สนใจจะเรียน ในปี พ.ศ. 2533 ได้เปลี่ยนหลักสูตรมาใช้ของ สถาบันเทคโน โลยีราชมงคล (วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา) เนื่องจาก เป็นหลักสูตรที่ได้รับความนิยม จากสถาบันการศึกษาในขณะนั้น อย่างมาก แต่ก็ยังคงหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษาในสาขาวิชา การบริการธุรกิจสถานพยาบาลไว้
         และในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน ได้ขออนุญาตเปิดสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสาขา โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา ได้และดำเนินการขอขยาย หลักสูตรการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เนื่องจากนักเรียนและนักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ชั้น ปวช. จาก โรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่านต้องการเรียนต่อเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2541 จึงได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ต่อจากชั้น ปวช.อีก 2 ปี ซึ่งเทียบเท่าอนุปริญญามีสิทธิเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญา ต่อเนื่องอีก 2 ปี ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แม้กระทั่งสถาบันราชภัฏทุกแห่ง ปัจจุบัน โรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน เปิดสอนทั้ง ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง (ปวส.) โดยได้รับผู้จบ ม.3 หรือ เทียบเท่าเข้าศึกษาต่อในระดับ ปวช. และรับผู้จบปวช.หรือ ม.6 (มัธยมศึกษาตอนปลาย)เข้าศึกษาต่อใน ระดับ ปวส. บริหารธุรกิจ โดยใช้หลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Wcs (พูดคุยหน้าที่เขียน) 06:11, 18 ธันวาคม 2551 (ICT)