จุดกำเนิดและบันทึกประวัติศาสตร์ของโรงเรียน

แก้

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง มีความหมาย คือ โรงเรียนที่เกิดจากการบริจาคก่อตั้งโรงเรียนของชาวชลบุรี โดยมีชื่อที่เรียกกันติดปากของชาวชลบุรีว่า “ชลชาย” มีประวัติศาสตร์ในการถือกำเนิดมาพร้อมการเจริญเติบโตของจังหวัดชลบุรี จึงเป็นหน่อรากฐานสำคัญทางการศึกษาของจังหวัดชลบุรี มาต่อเนื่องยืนยาวนับร้อยปี เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับ การเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ รวมถึงจำนวนประชากรของประเทศและในจังหวัดชลบุรีที่เพิ่มขึ้นตลอดมา โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงตาม ปี พ.ศ.ได้ดังนี้

พ.ศ. 2441 หลวงวรพินิจบูรพการ ข้าหลวงเมืองชลบุรี อุทิศเรือนไม้เพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดต้นสน โดยมีชื่อโรงเรียนดั้งเดิมว่า “โรงเรียนบุรพการ” ภายใต้การจัดตั้งสถานศึกษา ในจังหวัดชลบุรี ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ สุขบท)ขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระอมราภิลิขิต เจ้าคณะมณฑลปราจีณบุรี โดยแต่เดิมจังหวัดชลบุรี ขึ้นอยู่กับมณฑลปราจีณบุรี จึงได้มีดำริจัดให้มีโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นในบริเวณอาณาบริเวณวัด โดยได้กำหนดเลือกไว้ 6 โรงเรียนดังต่อไปนี้

•โรงเรียนวัดเขา (พุทธยาคม) ตั้งที่วัดเขาบางทราย อำเภอเมืองชลบุรี

•โรงเรียนวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) ตั้งที่วัดกำแพง อำเภอเมืองชลบุรี

•โรงเรียนวัดต้นสน (พินิจบุรพการ) ตั้งที่วัดต้นสน อำเภอเมืองชลบุรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์(วัดต้นสน)

•โรงเรียนสัมพันธ์พิทยากร ตั้งที่วัดอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี

•โรงเรียนสว่างอารมณ์ ตั้งที่วัดสว่างอารมณ์ อำเภอศรีราชา ชลบุรี

•โรงเรียนพิศาลพิทยาคม ตั้งที่วัดกลาง อำเภอพนัสนิคม ชลบุรี

ในสมัยนั้น กระทรวงธรรมการ ดูแลศาสนา สาธารณสุขและการศึกษา ปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2443 พระครูชลโธปมคุณมุนี (เจียม) เจ้าคณะจังหวัดชลบุรีขณะนั้น พร้อมด้วยพ่อค้าคหบดีร่วมกันสร้างโรงเรียนขึ้น 1 หลังที่วัดกำแพง เรียกว่าโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง อุดมพิทยากร

พ.ศ. 2453 ร.อ.อ. หลวงอำนาจศิลปสิทธิ์ (ปลื้ม รัตนกสิกร) ข้าหลวงตรวจการศึกษาประจำจังหวัดชลบุรี เห็นสมควรยกฐานะโรงเรียนพินิจบูรพการและโรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากร ขึ้นเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด โดยการจัดเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน หรือ(โรงเรียนชลราษฏริ์อำรุง โรงเรียนชลกันยานุกูลและโรงเรียนอนุบาลชลบุรี ปัจจุบันก็ยังเรียกสามโรงเรียนนี้ว่าโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี คือ ชลชาย ชลหญิง อนุบาลชลบุรี ส่วนสาเหตุที่แยก สามโรงเรียนเพื่อแยกนักเรียนชลบุรีเป็นหญิง และชาย ให้แยกกัน เพราะในสมัยนั้นมีปัญหาในการศึกษาร่วมกัน ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่พอใจ เป็นห่วงบุตรหลาน เพราะกำลังเข้าสู่วัยรุ่น และวัฒนธรรมไทยสมัยก่อนนั้น ยังเข้มแข็งเพราะยังไม่มีอารยธรรมตะวันตกเข้ามามาก ส่วนอนุบาลชล สอนเด็กประถม)โดยได้ให้นายมานัส อุมา วุฒิ ป.ป. เป็นครูใหญ่ทั้ง 2 โรงเรียน รูปแบบการบริหารการศึกษาสมัยนั้นมีชั้นประถม 3 ปี มัธยม 4 ปี รวมทั้งสิ้นใช้เวลาศึกษาในโรงเรียน เจ็ดปี

พ.ศ. 2457 ทางราชการได้รวมโรงเรียนพินิจบุรพการและโรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากรเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกันเรียกว่าโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี แต่สถานที่ยังคงแยกกันเรียนอยู่ คือโรงเรียนพินิจบุรพการสอนมัธยม โรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากรสอนชั้นประถม

พ.ศ. 2458 พระยาเพชรดา ข้าหลวงประจำจังหวัดชลบุรี เมื่อครั้งเป็นพระยาไศรยศรเดช ได้สร้างโรงเรียนขึ้นเป็นเอกเทศ ในฐานะโรงเรียนประจำจังหวัด จึงย้ายโรงเรียนพินิจบุรพการและโรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากรมาเรียนรวมกัน โดยเปิดเป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา แต่โรงเรียนวัดกำแพง อุดมพิทยากร ก็ยังคงเปิดเรียนต่อมาโดยใช้อาคารหลังเดิม

พ.ศ. 2460 ได้ย้ายนักเรียนทั้งสองโรงเรียนมาเรียนรวมกันเป็นเอกเทศเปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา เรียนร่วมกันชายหญิง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลชลบุรีในปัจจุบัน

พ.ศ. 2474 ทางราชการสั่งให้แยกนักเรียนเป็นชายและหญิง โดยแยกการเรียนการสอนออกเป็นโรงเรียนชายและโรงเรียนหญิงประจำจังหวัดชลบุรี แต่ยังใช้สถานที่ร่วมกันไปก่อน

พ.ศ. 2479 จึงได้มีการแยกสถานที่เรียนออกจากกัน โดยโรงเรียนหญิงประจำจังหวัดชลบุรี ไปก่อตั้งในที่แห่งใหม่ ในชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนชลกันยานุกูล”

พ.ศ. 2484 ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมมาที่ตั้งใหม่ริมถนนสุขุมวิทบนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ของวัดอรัญญิกาวาส ริมถนนสุขุมวิท ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้าวรพรต ในวันที่ 3 มิถุนายน 2484 โดย ชาวส้ม-ฟ้า จึงถือว่า วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนา คล้ายวันเกิดของโรงเรียน

พ.ศ. 2497 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น ชลราษฎรอำรุง หมายความ “การบริจาคของราษฎรชาวชลบุรีเพื่อสร้างโรงเรียน” และเปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ เป็นสหศึกษา เป็นแห่งแรกในภาคตะวันออก

พ.ศ. 2508 นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้นได้มองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา ได้พิจารณาจัดสรรที่ดินที่มีศักยภาพ เดิมเป็นสนามบินของกองทัพอากาศ ประมาณ 70 ไร่ บริเวณสี่แยกหนองข้างคอก ริมถนนสุขุมวิทและมีพื้นที่ติดกับถนนพระยาสัจจาปัจจุบัน ให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ พร้อมกับการถมทะเลเพื่อสร้างเมืองใหม่ชลบุรี ควบคู่กันไป

พ.ศ. 2511 เริ่มทำการก่อสร้างโรงเรียน สถานที่ปัจจุบัน ณ สี่แยกหนองข้างคอก ริมถนนสุขุมวิทติดกับถนนพระยาสัจจา เพื่อให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนชลราษฎรอำรุงในปัจจุบัน โดยการจัดสรรที่ดินของกองทัพอากาศ ประมาณ 67 ไร่ โดยการดำเนินการของท่านอดีตผู้ว่าฯ นารถ มนตเสวี

พ.ศ. 2516 ย้ายโรงเรียนมา ณ ที่ปัจจุบัน เปิดทำการสอนอย่างเป็นทางการ ในระดับชั้น ม.ศ.1-5

พ.ศ. 2525 สิ้นสุดยุคการแบ่งชั้นเรียน แบบ ม.ศ.มัธยมศึกษา 1 – ม.ศ5 เปลี่ยนมาเป็นแบบมัธยมศึกษาปีที่ 1- ม.6 จวบจนปัจจุบัน

พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 500 โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ที่เปิดทำการเรียนการสอนสำหรับระดับชั้น ม.1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2553 ด้วยหลักสูตรมาตรฐานสากล (World Class Standard)

ชื่ออาคารและห้องประชุม

แก้

อาคาร ชื่ออาคารและเหตุผลในการตั้งชื่อ

อาคาร 1 หลวง วรพินิจบุรพาการ - ชื่อบุคคลผู้อุทิศเรือน 1 หลังเป็นที่ตั้งโรงเรียนชั่วคราว ครั้งแรก(พ.ศ.2441)

       ห้องประชุม  ชั้น  1 (116)  ชื่อห้อง “ดาวเรือง”

อาคาร 2 ราษฎรร่วมจิต - เป็นชื่ออาคารเรียนที่ตั้งไว้แต่เดิม

อาคาร 3 นารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ( พ.ศ. 2508) ผู้นำการจัดหาที่ดินเพื่อย้ายโรงเรียนมาตั้งในที่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดิน(ส่วนสนามบิน)ของกองทัพอากาศ

อาคาร 4 เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช - เป็นชื่อเดิมตั้งไว้ในปีเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2539)

       ห้องประชุม  421( ชั้น 2)  ชื่อห้อง“ผกากรอง”
              ห้องประชุม  422 (ชั้น 2)  ชื่อห้อง“ทองอุไร”

อาคาร 5 ชมสุนทร เป็นชื่อครูใหญ่คนแรก ภายหลังรวมสองโรงเรียนเข้าด้วยกันและเปิดสอนแบบสหศึกษา(2460)

อาคาร 8 พระยาสัจจาภิรมย์ เป็นชื่อ ข้าหลวงประจำจังหวัดชลบุรี ผู้เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียน ภายหลังที่รวมโรงเรียนพินิจบุรพการ และโรงเรียนอุดมพิทยากร เข้าด้วยกัน เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี(พ.ศ.2460) ห้องประชุม ชั้น 3 ชื่อห้อง“ยูงทอง”

อาคาร 6 สมาคมศิษย์เก่าชลราษฎรอำรุง(แนะแนว) - สมาคมศิษย์เก่าฯเป็นผู้สร้างไว้(25.......) จึงใช้เป็นชื่ออาคาร

               ห้องประชุม (ชั้น 2)  ชื่อห้อง“ปาริชาต”      

อาคาร 7 กลุ่มอาคาร ศูนย์กีฬาและนันทนาการ (2523) ประกอบด้วย

                อาคาร  7/1   ชื่ออาคาร “อุดมพิทยากร” เป็นชื่ออาคารเรียนเป็นทางการหลังแรก ( พ.ศ.2443)   
       อาคาร  7/2   ชื่ออาคาร “อบจ.อุทิศ”    ชั้นล่าง เป็นห้องเรียนและศูนย์การเรียน ชั้นบน  ห้องประชุม   ชื่อห้อง“สารภี”	  
              อาคาร  7/3   ชื่ออาคาร “………………..”    
              ห้องประชุม  อาคารศูนย์กีฬาฯ  ชื่อห้อง“กาสะลอง”

อาคาร 9 สุทัศน์- แอนนา ตั้งเทวาประสิทธิ์ เป็นชื่อผู้บริจาคและก่อสร้างอาคาร เป็นอาคารเกียรติยศ เพื่อรวบรวมเกียรติประวัติโรงเรียน(2552) ห้องประชุม ชั้น 2 ชื่อห้อง“พุทธมงคล ”

รายชื่อกลุ่มห้องประชุม ชื่อห้องประชุมอาคาร และเหตุผล

ห้องประชุม 116 (อาคาร 1 ) “ดาวเรือง”

ห้องประชุม 421(อาคาร 4 ชั้น 2) “ผกากรอง”

ห้องประชุม 422 (อาคาร 4 ชั้น 2) “ทองอุไร”

ห้องประชุม ( อาคาร 6 ชั้น 2) อาคารสมาคมศิษย์เก่า “ปาริชาต”

ห้องประชุม อาคาร อบจ.อุทิศ “สารภี”

ห้องประชุม อาคารศูนย์กีฬาฯ “กาสะลอง”

ห้องประชุม อาคารเกียรติยศ(อาคาร 9) “พุทธมงคล ”

ห้องประชุม ( อาคารพระยาสัจจาภิรมย์ ชั้น 3) “ยูงทอง”

หมายเหตุ - พ.ศ. 2497 มีการเปลี่ยนชื่อ “โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี” มาเป็น “โรงเรียนชลราษฎรอำรุง”