คุยกับผู้ใช้:รังสรรค์ นิพฺภโย/ทดลองเขียน

ความเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย รังสรรค์ นิพฺภโย ในหัวข้อ ประวัติวัดสำแล

ประวัติวัดสำแล

แก้
  วัดสำแลสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 2  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดสำแล ภาษามอญเรียกว่า "เกี่ยธ่มษะ" เป็นวัดที่บรรดาชาวมอญ ที่อพยพมาจากหมู่บ้าน "สัมแล" อยู่ในเขตเมือง เมาะระมิงค์ ร่วมกันสร้างขึ้น และตั้งชื่อว่า "วัดสำแล"
  วัดสำแล ตั้งอยู่เลขที่ 91 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติ มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 12 ไร่ 80 ตารางวา โฉนดเลขที่ 6341 ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 8 แปลง เนื้อที่ 103 ไร่  45 ตารางวา ปัจจุบันที่ดินตั้งวัดเหลือไม่เท่าเดิมแล้ว เนื่องจากการประปานครหลวง ขอเช่าใช้ในกิจการประปาคือขุดคลองส่งน้ำดิบให้มีขนาดกว้างขึ้นมากกว่าเดิม ขุดบริเวณข้างวัดด้านทิศเหนือ ส่วนหลังวัดมีถนนบัวขาวตัดผ่าน ทำให้ที่ดินของวัดถูกตัดแบ่งแยกไปบางส่วน จึงมีประชาชนมาขอเช่าปลูกบ้านอยู่อาศัย ส่วนที่ธรณีสงฆ์ ที่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ถูกถนนทางด่วนตัดผ่าน คงเหลือให้ประชาชนเช่าทำนา และอยู่อาศัย ปัจจุบันคงเหลือไม่เท่าเดิม
  ♦ ปี พ.ศ. 2360 ชาวมอญเริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นเป็นเป็นครั้งแรก เป็นศาลาไม้ใต้ถุนสูงประมาณ 1 เมตร สร้างไว้เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศล ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญ
  ♦ ปี พ.ศ. 2365 ได้สร้างหอสวดมนต์ไม้ 1 หลัง เนื่องจากชาวมอญเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา สร้างไว้เพื่อสวดมนต์ ไหว้พระ ปี พ.ศ.2370 สมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวมอญได้สร้างอุโบสถอีก 1 หลัง ทรงมหาอุตม์ ( มีประตูทางเข้า ไม่มีประตูทางออกข้างหลัง )
 ♦ ปี พ.ศ.  2412  สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะวัดใหม่ เนื่องจากเป็นเวลานาน 42 ปี วัดชำรุดทรุดโทรมมาก และวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2414 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 16 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นวัดโดยสมบูรณ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสภาพแวดล้อมวัดสำแล
ไฟล์:วัดสำแล
  • เจ้าอาวาสและพระสงฆ์ที่เป็นองค์จัดการปกครองมี 7 รูป ดังนี้ข้อความตัวหนา

1. พระอาจารย์ปั้น ( สงกิจโจ ) 2. พระอริยธัชสังฆปาโมกข์ ( พุฒ พุทธญาโณ )ในอดีตดำรงค์ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี 3. พระครูอุตโมรุวงษ์ธาดา ( ศุข อหิสโก ) ในอดีตดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 4. พระวินัยสาทร ( มะลิ พหุปุญโญ ) ในอดีตดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี วัดเขมาภิรตาราม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ ราชทินนามว่า " วินัยสาทร" 5. พระครูปิยะธรรมธาดา (สาลี่) ุ6. พระครูปทุมธรรมโสภณ ( ลำพึง สิริธฺมโม ) ึึึ7. พระปลัด รังสรรค์ นิพฺภโย เจ้าอาวาสวัดสำแล (รูปปัจจุบัน)

  • รายนามไวยาวัจกรของวัดสำแล ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

1. นายวัน ปิ่นพวง 2. นายมณฑา โคสนัน 3. นายบุญสืบ ชูพินิจ 4. นายชัยชลอ กลิ่นหอม 5. นายสมศักดิ์ เจริญสัตย์

 ♦  ลักษณะภูมิประเทศ
  วัดสำแล  ตั้งอยู่บนเกาะเกร็ดใหญ่ มีบรรยากาศที่เงียบสงบ เย็นสบายอากาศบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมดี ยังคงสภาพเป็นธรรมชาติให้เห็น อยู่ห่างจากจังหวัดปทุมธานีไปทางทิศเหนือ ประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก ฤดูน้ำหลาก บางครั้งจะท่วมพื้นที่วัด แม่น้ำเจ้าพระยาส่วนที่ไหลผ่านบริเวณหน้าวัด เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายที่ขุดขึ้นมาใหม่ เพื่อย่นระยะทางเนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (สายเก่า) อ้อมมาก  ในอดีตฝั่งตรงข้ามวัดสำแล มีตลาดน้ำที่เจริญมาก ขายของกินตลอดวัน ความยาวของตลาด ประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันสลายไปหมดแล้ววัดสำแลนี้มีผู้คนมาทำบุญมากถึงแม้ว่าบางบ้านจะย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่น หรือขายบ้านไปแล้วก็ตามแต่เวลามีงานบุญสำคัญๆก็จะกลับมาทำบุญกันที่วัด
  ♦ อาณาเขต
   ~ ทิศเหนือ       ติดกับสถานีสูบน้ำดิบสำแล การประปานครหลวง

ื ~ ทิศใต้ ติดกับที่ดินประชาชน หมู่ที่ 2

   ~ ทิศตะวันออก  ติดต่อกับถนนบัวขาว
  ~ ทิศตะวันตก     ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายที่ขุดขึ้นมาใหม่
  ♦ การเดินทาง  สามารถเดินทางมาวัดสำแลได้ 2 ทาง คือทางบกและทางน้ำ มีรถประจำทางจากจังหวัดปทุมธานี ให้บริการผ่านถนนด้านหลังวัด
  ♦  โบราณสถานและเสนาสนะภายในวัด

1. ศาลาการเปรียญเดิม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2360 (จากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ พ.ศ.2526) รูปทรงของศาลาได้ สัดส่วนดี แต่เดิมเป็นไม้ทั้งศาลา ต่อมามีการต่อเติมชานสำหรับเดินด้านทิศเหังใหม่นือ และ ด้านทิศตะวันตกของศาลา จึงต่อเติมเป็นคอนกรีต ส่วนครัว ห้องน้ำด้านศาลา เป็นคอนกรีตด้วยเช่นกัน มีหลายวัด ได้มาขอวัดขนาด สัดส่วน เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการก่อสร้าง 2. ศาลาการเปรียญหลังใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี มีงบประมาณช่วยเหลือ ทางวัดสำแลพิจารณาเห็นว่าสมควรนำมายกศาลาการเปรียญให้สูงขึ้น เพื่อหนีน้ำท่วม เพราะบางปีน้ำท่วมสูงมากจึงได้ยกศาลาและซ่อมแซมบางส่วน ต่อเติมตกแต่งชั้นล่างให้พร้อมใช้งาน จึงเริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ซึ่งมีผู้บริจาคในการก่อสร้างครั้งนี้ด้วย 3. หอสวดมนต์หลังเดิม ชาวมอญที่อพยพมาสร้างหอสวมนต์เมื่อ พ.ศ.2365 มีลักษณะเป็นไม้ทั้งหลัง ใต้ถุนสูง ไม่มีฝาผนังทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และด้านหน้า ด้านหลังมีผนังกั้น เป็นห้องเล็กๆ ชำรุดทรุดโทรมมาก มีรูปร่างลักษณะคล้ายหอสวดมนต์หลังใหม่ จึงได้ทำการรื้อ ถอน และสร้างใหม่ในที่เดิม 4. หอสวดมนต์หลังใหม่ 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ.2536 หอสวดมนต์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดได้ทำการรื้อถอน และจัดสร้างหอสวดมนต์หลังใหม่ขึ้น เป็นตึกคอนกรีต 2 ชั้น มีบันได ขึ้นด้านหน้า 2 ทาง ชั้นล่างสามารถใช้ประโยชน์ ในการทำบุญงานเล็กๆ ที่ไม่มีผู้คนมากมาย ชั้นบน เป็นที่สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นและเป็นที่อาศัยตั้งพิพิธภัณฑ์วัดสำแล เป็นการชั่วคราว 5.อุโบสถหลังเก่า จาหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 2 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ พ.ศ.2526 บันทึกไว้ว่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2370 เป็นอุโบสถโบราณทรงสอบ หน้าบันปั้นด้วยปูนลงรักปิดทองสวยงามมีประตูเข้าเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น ด้านหลังอุโบสถ (หลัง พระประธาน) ไม่มีประตูคนโบราณ เรียกว่า "อุโบสถมหาอุตม์" หาดูได้ยาก ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก อุโบสถหลังเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย เครื่องบนประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกา ยกพื้นสูงก่อเป็นฐานปัทม์ หน้าบันด้านหน้าโบสถ์วัดสำแล ปูนปั้นแบ่งเป็นกรอบหน้าบันสองชั้น โดยมีลายปูนปั้นหน้ากระดานชั้น ฐานหน้าบันด้านล่างประกอบด้วยลายปูนปั้นหน้ากระดาน ประกอบด้วย ลายประจำยามก้ามปูและกระจังรวน ตรงกลางก่อเป็นซุ้มเรือนแก้ว ประดิษฐาน พระพุทธรูปสามพระองค์ ปูนลายราชวัต กรอบหน้าบันด้านบนฐานบันปั้นปูนลายหน้า กระดานประจำยามก้ามปู และกระจังรวนตรงกลางหน้าบันปั้นปูนเป็นรูปพระพรหมประทับบน ปราสาททรงช้างเอราวัณ พื้นหน้านั้นเป็นลายเครือเถารูปแบบหน้าบันแบบนี้มักพบเห็นโดยทั่วไป สำหรับวัดในอำเภอสามโคก เช่น วัดสิงห์ วัดไก่เตี้ย วัดถั่วทอง ซึ่งทำการรื้อซ่อมแซมในสมัยเก่า สมัยอยุธยาแล้วสร้างโบสถ์ใหม่ขึ้นมาบนฐานโบสถ์เดิมในสมัยรัตนโกสินทร์ จากการศึกษาวิเคราะห์พระประธาน และพระลำดับในโบสถ์วัดสำแล จะเห็นได้ว่า แท่น ฐานชุกข์ของพระลำดับและพระประธาน ได้ทำการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิมเป็นอันมาก พระประธานและพระลำดับพิจารณาจากเศียรและพระศอ พระพักตร์ พระกรรณน่าจะไม่ใช่ ของเดิมถูกตัดพระเศียรไปก่อนแล้วจึงปั้นพระเศียรใหม่ขึ้นมาแทน จึงผิดไปจากพุทธลักษณะที่ควร บางองค์ลักษณะพอกปูนขึ้นมาจากชิ้นส่วนขององค์พระที่คงเหลือ จึงทำให้องค์พระไม่งดงามตาม พุทธลักษณะ ใบเสมา ปูนปั้นตั้งบนฐานปัทม์ เป็นสิ่งที่บ่งบอกอายุ ยุคสมัยของวัดได้เป็นอย่างดี น่าเสียดายใบเสมาศิลาของเดิมคงถูกทำลายหรือปล่อยทิ้งจมดินไปแล้ว สมัยโบราณ สมัยทวาราวดี กรุงศรีอยุธยา ธนบุรี ต้นรัตนโกสินทร์ล้วนแล้วแต่ใช้เสมาศิลาจำหลักทั้งสิ้น (ผู้จัดทำได้สอบถาม นายวีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย) 6. อุโบสถหลังใหม่ สร้างเมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2547 ึ7. กุฏิโบราณ 1 หลัง สร้าง พ.ศ. ใดไม่ปรากฎ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด 8. กุฏิไม้สัก 2 ชั้น เป็นกุฏิเจ้าอาวาสสร้างด้วยไม้สักมีลายฉลุอ่อนช้อย ฝีมือประณีตส่วนใหญ่ เจ้าอาวาสทุกรูปจะต้องมาจำพรรษาที่กุฏิหลังนี้ ลักษณะเป็นอาคารสองชั้นใต้ถุนสูง สร้างเมื่อ พ.ศ.2457 พระครูอุตโมรุวงษ์ธาดา เป็นผู้สร้างปี พ.ศ. ที่จารึกไว้ที่ตัวอาคาร 9. สำนักงานเจ้าคณะตำบลเชียงรากน้อย สร้างเมื่อ พ.ศ.2549 เพื่อใช้เป็นสำนักงานเลขา ของวัด ใช้ในโอกาสติดต่อกับส่วนราชการและบุคคลทั่วไป ต่อเติมชั้นล่างของกุฏิไม้สัก ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดสำแลจำพรรษาอยู่ 10. เจดีย์ศิลปะมอญ สร้าง พ.ศ. 2473 มีลักษณะรูปทรงโดยรวม คล้ายเจดีย์ชเวดากอง ที่เมืองย่างกุ้ง แต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น เจดีย์มอญที่วัดสำแลนี้ความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตรประมาณ 15 เมตร องค์เจดีย์มีรูปทรงสมส่วนดูงดงาม ทางวัดได้ทำการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ♦ จุดมุ่งหมายในการสร้างเจดีย์ในแบบศิลปะมอญมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. สร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ธาตุเจดีย์) 2. สร้างเพื่อบรรจุสิ่งของเครื่องใช้พุทธองค์ (บริโภคเจดีย์) 3. สร้างเพื่อบรรจุพระธรรมคำสอน (ธรรมเจดีย์) 4. สร้างเพื่ออุทิศถวายให้ในพุทธศาสนา (อุเทสิกเจดีย์) 11. หอระฆังเก่ามีอักษรจารึกว่า ล้าง พ.ศ.2487 12. หอระฆังใหม่ บูรณะเมื่อ พ.ศ.2546 ได้บูรณะหอระฆังใหม่ เนื่องจากหอระฆังหลังเก่า ชำรุดทรุดโทรม บูรณะที่เดิมใช้ฐานเดิม --รังสรรค์ นิพฺภโย (คุย) 00:33, 31 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

กลับไปที่หน้าผู้ใช้ของ "รังสรรค์ นิพฺภโย/ทดลองเขียน"