ผู้ใช้:รังสรรค์ นิพฺภโย/ทดลองเขียน

""ประวัติวัดสำแล""

 วัดสำแลสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 2  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดสำแล ภาษามอญเรียกว่า "เกี่ยธ่มษะ" เป็นวัดที่บรรดาชาวมอญ ที่อพยพมาจากหมู่บ้าน "สัมแล" อยู่ในเขตเมือง เมาะระมิงค์ ร่วมกันสร้างขึ้น และตั้งชื่อว่า "วัดสำแล"
 วัดสำแล ตั้งอยู่เลขที่ 91 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติ มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 12 ไร่ 80 ตารางวา โฉนดเลขที่ 6341 ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 8 แปลง เนื้อที่ 103 ไร่  45 ตารางวา ปัจจุบันที่ดินตั้งวัดเหลือไม่เท่าเดิมแล้ว เนื่องจากการประปานครหลวง ขอเช่าใช้ในกิจการประปาคือขุดคลองส่งน้ำดิบให้มีขนาดกว้างขึ้นมากกว่าเดิม ขุดบริเวณข้างวัดด้านทิศเหนือ ส่วนหลังวัดมีถนนบัวขาวตัดผ่าน ทำให้ที่ดินของวัดถูกตัดแบ่งแยกไปบางส่วน จึงมีประชาชนมาขอเช่าปลูกบ้านอยู่อาศัย ส่วนที่ธรณีสงฆ์ ที่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ถูกถนนทางด่วนตัดผ่าน คงเหลือให้ประชาชนเช่าทำนา และอยู่อาศัย ปัจจุบันคงเหลือไม่เท่าเดิม
 ♦ ปี พ.ศ. 2360 ชาวมอญเริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นเป็นเป็นครั้งแรก เป็นศาลาไม้ใต้ถุนสูงประมาณ 1 เมตร สร้างไว้เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศล ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญ
 ♦ ปี พ.ศ. 2365 ได้สร้างหอสวดมนต์ไม้ 1 หลัง เนื่องจากชาวมอญเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา สร้างไว้เพื่อสวดมนต์ ไหว้พระ ปี พ.ศ.2370 สมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวมอญได้สร้างอุโบสถอีก 1 หลัง ทรงมหาอุตม์ ( มีประตูทางเข้า ไม่มีประตูทางออกข้างหลัง )
♦ ปี พ.ศ.  2412  สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะวัดใหม่ เนื่องจากเป็นเวลานาน 42 ปี วัดชำรุดทรุดโทรมมาก และวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2414 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 16 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นวัดโดยสมบูรณ์