คืบพระสุคต
ส่วนหนึ่งของ | |
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
พระรัตนตรัย | |
หลักปฏิบัติ | |
ศีล · สมาธิ · ปัญญา สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์ | |
คัมภีร์ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก | |
หลักธรรม | |
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38 | |
นิกาย | |
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน | |
สังคม | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน | |
การจาริกแสวงบุญ | |
สังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ | |
ดูเพิ่มเติม | |
คำศัพท์ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |
คืบพระสุคต เป็นภาษาพระวินัย เป็นชื่อมาตราวัด มีปรากฏหลายแห่งในพระวินัย เช่น ความสูงของพระพุทธเจ้า ความสูงของเตียง ขนาดจีวร เป็นต้น สันนิษฐานว่าเดิมคงทรงกำหนดด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระองค์โดยประมาณและเทียบกับนิ้วช่างไม้ในสมัยนั้น จึงมีข้อสันนิษฐานกันมากมาย เช่น ๑ คืบพระสุคตเท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลางสมัยนั้นหรือเท่ากับ ๑ ศอก คืบช่างไม้ดูจะสูงและยาวเกินความจริง จึงไม่เป็นที่ยอมรับ
ในปัจจุบันได้ข้อยุติว่าให้ถือตามมาตราวัดเป็นเมตร คือ "๑ คืบพระสุคตเท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร" ๒ คืบพระสุคตเท่ากับ ๕๐ เซนติเมตร หรือ ๑ ศอกช่างไม้ ดังนั้น ๑ เมตรจึงเท่ากับ ๔ คืบพระสุคตหรือ ๒ ศอกช่างไม้ มตินี้เป็นที่ยอมรับกัน
อ้างอิงแก้ไข
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548