คารูตะ (ญี่ปุ่น: かるたโรมาจิkaruta; รากศัพท์จากคำในภาษาโปรตุเกส carta ["ไพ่"])[1] เป็นไพ่ของญี่ปุ่น นำเข้ามาในญี่ปุ่นครั้งแรกโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกสช่วงกลางศตวรรษที่ 16 สำรับไพ่คารูตะในยุคต้น ๆ ใช้สำหรับเล่นเกมรวบตองกิน (trick-taking) ไพ่คารูตะพื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดถูกประดิษฐ์ขึ้นในเมืองมิอิเกะในแคว้นชิกูโงะเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 16 อาคารอนุสรณ์สถานไพ่คารูตะแห่งมิอิเกะที่ตั้งอยู่ในนครโอมูตะ จังหวัดฟูกูโอกะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่อุทิศให้กับประวัติศาสตร์ของไพ่คารูตะโดยเฉพาะ[2][3]

ไพ่คารูตะปลายยุคเมจิ (ราว ค.ศ. 1890) โฆษณาโดยนินเท็นโด

สำหรับไพ่คารูโตะแบ่งได้เป็นสองประเภท คือประเภทที่มีต้นกำเนิดมาจากไพ่โปรตุเกส และประเภทที่มีที่มาจากเอะ-อาวาเซะ (การประชันภาพวาด)[4] เอะ-อาวาเซะ เดิมมาจากไค-อาวาเซะ ซึ่งเล่นด้วยเปลือกหอย แต่ถูกแปลงเป็นรูปแบบไพ่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17

แนวคิดพื้นฐานของเกมไพ่คารูตะแบบเอะ-อาวาเซะคือการสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าไพ่ใบใดจะต้องถูกนำออกจากแถวไพ่ที่วางอยู่แล้วจึงคว้าไพ่ใบนั้นให้ได้ก่อนที่ฝ่ายตรงข้ามจะคว้าไป เด็กในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมักใช้เล่นในห้องเรียนเพื่อเป็นแบบฝึกหัดในการศึกษา

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Sakomura, Tomoko (2004). Asian Games: The Art of Contest. New York: Asia Society. pp. 267–269.
  2. Omuta City Miike karuta, history museum. Retrieved 22 February 2018.
  3. Miike Playing Cards and History Material Museum. Retrieved 22 February 2018.
  4. Mann, Sylvia (1990). All Cards on the Table. Leinfelden: Deutsches Spielkarten-Museum. pp. 193–200.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้