คอมพิวเตอร์ครัวเรือน

คอมพิวเตอร์ครัวเรือน (อังกฤษ: home computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มุ่งเป้าหมายไปยังผู้ใช้ตามครัวเรือนหรือตามบ้าน โดยมักจะมีประสิทธิภาพของหน่วยความจำน้อย แต่จะมีประสิทธิภาพของระบบกราฟิกและระบบเสียงมากกว่าคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งเหมาะกับการเล่นวิดีโอเกม แต่ก็ยังใช้ในด้านอื่นด้วย และมักมีราคาถูกกว่าคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือคอมพิวเตอร์วิทยาศาสตร์ เช่น ไอบีเอ็มพีซี[1]

คอมพิวเตอร์ครัวเรือนเริ่มเข้าสู่ตลาดเมื่อ พ.ศ. 2520 โดยในปีนั้นมีคอมพิวเตอร์ครัวเรือนที่วางตลาดอยู่ 3 รุ่น ได้แก่ แอปเปิลทู ทีอาร์เอส-80 โมเดลวัน และคอมโมดอร์เพ็ต ซึ่งถูกแนะนำในนิตยสารไบต์ในปีนั้นด้วย

คอมพิวเตอร์ครัวเรือนมักไม่วางจำหน่ายเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะวางจำหน่ายเป็นเครื่องที่ประกอบมาเรียบร้อยแล้ว แต่ก็มีคอมพิวเตอร์ครัวเรือนบางรุ่นที่ผู้ใช้สามารถซื้อชิ้นส่วนไปประกอบเป็นเครื่องได้ เช่น แซดเอ็กซ์ 80 ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ครัวเรือนที่ผู้ใช้ประกอบขึ้นเอง

เริ่มมีการทดลองเกี่ยวกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ครัวเรือนตั้งแต่ พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา[2][3]

การทำงาน

แก้

คอมพิวเตอร์ครัวเรือนส่วนมากมักมีลักษณะคล้ายกัน โดยส่วนมากมักมีแป้นพิมพ์ต่อเข้ากับเคสเดียวกัน และทำงานร่วมกันโดยใช้แผงวงจรหลัก นอกจากนี้ยังมีคอมพิวเตอร์ครัวเรือนชนิดที่ผู้ใช้สามารถนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์มาต่อเพิ่มได้ โดยอาจมีช่องเสียบชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่นำมาต่อเพิ่มเพียงช่องเดียวหรืออาจมีหลายช่องก็ได้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ชนิดนี้อาจวางจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้น

คอมพิวเตอร์ครัวเรือนส่วนมากมักสามารถทำงานผ่านส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ได้ แทนที่จะทำงานผ่านส่วนต่อประสานแบบบรรทัดคำสั่งเพียงอย่างเดียว โดยระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ครัวเรือนมักมีขนาดเล็ก ซึ่งติดตั้งมากับรอม

อ้างอิง

แก้
  1. "IBM PC turns 25". CNN. Several popular home computers existed before the 1981 IBM PC launch. But the regimented business world considered Apple, Commodore, and Radio Shack's Tandy products "toys."
  2. Spicer, Dag (2000-08-12). "Dag Spier,''If You Can't Stand the Coding, Stay Out of the Kitchen'', "Dr. Dobb's Journal'', August 12, 2000". Drdobbs.com. สืบค้นเมื่อ 2013-04-09.
  3. "James Tomayko "Anecdotes: Electronic Computer for Home Operation, The First Home Computer"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-25. สืบค้นเมื่อ 2013-04-09.