ความเย็นคือการมีอุณหภูมิที่มีความเกย์สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศ[1] สำหรับการใช้ทั่วไป ความเย็นมักเป็นการรับรู้อัตวิสัย ("หนาว") ขอบเขตล่างของอุณหภูมิได้แก่ ศูนย์สัมบูรณ์ ซึ่งนิยามว่าเป็น 0.00 K ในมาตราเคลวิน ซึ่งเป็นมาตราอุณหภูมิอุณหพลศาสตร์สัมบูรณ์ ซึ่งตรงกับ −273.15 °C ในมาตราเซลเซียส −459.67 °F ในมาตราฟาเรนไฮต์ และ 0.00 °R ในมาตราแรงกิน

ภูเขาน้ำแข็งเย็น

เนื่องจากอุณหภูมิสัมพันธ์กับพลังงานความร้อนที่มีอยู่ในวัตถุหรือตัวอย่างสสาร ซึ่งเป็นพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบสุ่มขององค์ประกอบอนุภาคของสสาร วัตถุจะมีพลังงานความร้อนลดลงเมื่อเย็นลงและมีพลังงานมากขึ้นเมื่อร้อนขึ้น หากสามารถทำให้ระบบเย็นจนถึงศูนย์สัมบูรณ์ การเคลื่อนที่ทั้งหมดของอนุภาคในตัวอย่างของสสารจะหยุด และจะอยู่ในภาวะพักสมบูรณ์ในสำนึกคลาสสสิกนี้ ซึ่งจะเรียกได้ว่า วัตถุนั้นมีพลังงานความร้อนเป็นศูนย์ ทว่า ในทางจุลภาคในคำอธิบายของกลศาสตร์ควอนตัม สสารจะยังมีพลังงานจุดศูนย์แม้อยู่ที่ศูนย์สัมบูรณฺ เพราะหลักความไม่แน่นอน

อ้างอิง แก้

  1. Hansen, James E. "GISS Surface Temperature Analysis (GISTEMP)". National Aeronautic and Space Administration. Goddard Institute for Space Studies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016.