สมการฟรีดแมน
(เปลี่ยนทางจาก ความหนาแน่นวิกฤต)
สมการฟรีดแมน คือชุดสมการในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพที่ใช้อธิบายถึงการขยายตัวของอวกาศตามแบบจำลองของเอกภพซึ่งมีความกลมกลืนและเหมือนกันในทุกทิศทาง โดยอยู่ภายใต้บริบทของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ชุดสมการนี้พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ในปี ค.ศ. 1922[1] โดยพัฒนาขึ้นจากสมการสนามของแรงโน้มถ่วงของไอน์สไตน์ เพื่อใช้ในการสร้างมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ ฟรีดแมนคำนวณชุดสมการนี้เมื่อปี ค.ศ. 1924 ได้ค่าความโค้งของอวกาศออกมาเป็นค่าลบ[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Friedman, A (1922). "Über die Krümmung des Raumes". Z. Phys. 10: 377–386. doi:10.1007/BF01332580. (เยอรมัน) (English translation in: Friedman, A (1999). "On the Curvature of Space". General Relativity and Gravitation. 31: 1991–2000. doi:10.1023/A:1026751225741.)
- ↑ Friedmann, A (1924). "Über die Möglichkeit einer Welt mit konstanter negativer Krümmung des Raumes". Z. Phys. 21: 326–332. doi:10.1007/BF01328280. (เยอรมัน) (ดูฉบับแปลภาษาอังกฤษที่: Friedmann, A (1999). "On the Possibility of a World with Constant Negative Curvature of Space". General Relativity and Gravitation. 31: 2001–2008. doi:10.1023/A:1026755309811.)