ความสัมพันธ์ติมอร์-เลสเต–ฟิลิปปินส์

ความสัมพันธ์ติมอร์-เลสเต–ฟิลิปปินส์ หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างประเทศติมอร์-เลสเต กับประเทศฟิลิปปินส์ โดยฟิลิปปินส์มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในติมอร์-เลสเต ระหว่างการก้าวไปสู่เอกราช ครั้นเมื่อหลายประเทศยอมรับอำนาจอธิปไตยของติมอร์-เลสเต ฟิลิปปินส์จึงเริ่มความสัมพันธ์ทางการฑูตอย่างเป็นทางการระหว่างรัฐบาลทั้งสองด้วยการจัดตั้งสถานทูตในดิลี และติมอร์-เลสเต ได้จัดตั้งสถานทูตในปาซิก

ความสัมพันธ์ติมอร์-เลสเต–ฟิลิปปินส์
Map indicating location of East Timor and Philippines

ติมอร์-เลสเต

ฟิลิปปินส์

อาณาจักรก่อนอาณานิคมอย่างฟิลิปปินส์และติมอร์-เลสเต มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอยู่ก่อนที่มหาอำนาจไอบีเรียจะเข้ามาตั้งอาณานิคมในพื้นที่เหล่านี้ ระหว่างการเดินทางของมาเจลลันเมื่อเรือของเขาทอดสมอที่ติมอร์-เลสเต พวกเขาพบว่ากลุ่มลูโซนส์ (ชาวเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์) ตั้งถิ่นฐานในติมอร์-เลสเต และแลกเปลี่ยนทองคำของฟิลิปปินส์สำหรับไม้จันทน์ของติมอร์-เลสเต[1]

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ฟิลิปปินส์ยังคงรักษาความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับประเทศเอกราชที่เพิ่งเกิดใหม่โดยส่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพไปยังประเทศดังกล่าวมาตั้งแต่ ค.ศ. 1999[ต้องการอ้างอิง] ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อเอกราชจากประเทศอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศถูกยึดครองโดยมหาอำนาจไอบีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่โดยสเปนและโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต่อมาโดยมหาอำนาจที่เกิดขึ้นใหม่ โดยส่วนใหญ่โดยสหรัฐและอินโดนีเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ความสัมพันธ์

แก้
 
ประธานาธิบดี บองบอง มาร์กอส พบปะกับตาอูร์ มาตัน รูอัก นายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเต ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ค.ศ. 2023

ใน ค.ศ. 2008 ประเทศติมอร์-เลสเต และฟิลิปปินส์ได้ลงนามในข้อตกลงสามฉบับเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเดินเรือและการประมง, การศึกษา รวมถึงการฝึกอบรมการบริการต่างประเทศ ซึ่งอดีตประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย ของฟิลิปปินส์ และอดีตประธานาธิบดี ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ของติมอร์-เลสเต ได้เป็นพยานในการลงนามในข้อตกลงระหว่างการประชุมทวิภาคี ฟิลิปปินส์ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มการค้าและการแลกเปลี่ยนกับติมอร์-เลสเต รวมทั้งยังพยายามปลูกฝังการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการศึกษาเช่นกัน[2] กระทั่งใน ค.ศ. 2010 เมื่อประธานาธิบดี เบนิกโน อากีโนที่ 3 ที่ได้รับเลือกใหม่สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดี ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ของติมอร์-เลสเต ได้คาดหวังว่าความสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตกับฟิลิปปินส์จะแข็งแกร่งขึ้นภายใต้การบริหารของเขา[3] ส่วนฌูแซ ลูอิช กูแตรึช รัฐมนตรีต่างประเทศของติมอร์-เลสเต ได้จัดการเจรจาทวิภาคีกับอัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ และเข้าพบประธานาธิบดี เบนิกโน อากีโนที่ 3 ระหว่างที่เขาอยู่ในมะนิลา

ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในทวีปเอเชีย เป็นกระบอกเสียงที่แข็งแกร่งที่สุดในอาเซียนสำหรับการเชื้อเชิญติมอร์-เลสเต เป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4] ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่รับรู้ถึงการตอบสนองที่ดีต่อประเทศติมอร์-เลสเต และสนับสนุนการภาคยานุวัติของติมอร์-เลสเต ในการเข้าร่วมสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่มีการสมัคร

ความช่วยเหลือทางการทหาร

แก้

ฟิลิปปินส์เสนอที่จะช่วยเหลือกองทัพติมอร์-เลสเต ในการปรับปรุงขีดความสามารถผ่านการศึกษาและการฝึกอบรมผ่านความช่วยเหลือจากกองทัพฟิลิปปินส์ ซึ่งพันเอก อาร์นุลโฟ มาร์เซโล บูร์โกส โฆษกกองทัพฟิลิปปินส์กล่าวว่า:

"เนื่องจากติมอร์ติมอร์-เลสเต เป็นประเทศอายุน้อยที่มีกองกำลังป้องกันที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กองทัพฟิลิปปินส์จึงเสนอความช่วยเหลือในการสร้างขีดความสามารถทางการทหาร"[5]

อ้างอิง

แก้
  1. The Mediterranean Connection By William Henry Scott (Published in "Philippine Studies" ran by Ateneo de Manila University Press)
  2. "Philippines, East Timor sign three agreements to boost relations". TopNews.In. สืบค้นเมื่อ August 12, 2008.
  3. "Stronger trade, diplomatic relations seen between East Timor, Philippines". GMA News Online. สืบค้นเมื่อ July 1, 2010.
  4. "Philippines, Timor-Leste affirm strong relations; 3 pacts inked". Sun Star. SDR/Sunnex. 6 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2016. สืบค้นเมื่อ 3 November 2015.
  5. "AFP offers to help East Timor". Malaya Business Insight. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2012. สืบค้นเมื่อ July 26, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้