ความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาล

ความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาล (ฝรั่งเศส: concordat) เป็นอนุสัญญาระหว่างสันตะสำนักกับรัฐเอกราชซึ่งนิยามความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรคาทอลิกกับรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่าย[1] เช่น การรับรองและเอกสิทธิ์ของศาสนจักรคาทอลิกในประเทศนั้น ๆ และประเด็นทางฆราวาสที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของศาสนจักร

ความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1098 และเมื่อถึงยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สันตะสำนักได้ลงนามความกตลงเช่นว่านี้กับ 74 ประเทศ หลังจากสงครามยุติ มีการลงนามความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาล กับรัฐที่สืบทอดตามกฎหมายอีกจำนวนมากเนื่องจากมีประเทศเกิดใหม่หลังสงคราม[1] ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงเป็นยุคที่มีความตกลงเช่นว่านี้แพร่หลายเร็วที่สุด

คำว่า "concordat" เริ่มใช้กันน้อยลงหลังสังคายนาวาติกันครั้งที่สองซึ่งยุติในปี 1965 แต่กลับมาใช้อีกในความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลโปแลนด์ปี 1993 และความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลโปรตุเกสปี 2004 ทั้งนี้ กำลังมีการพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างวาติกันกับรัฐต่าง ๆ[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 René Metz, What is Canon Law? (New York: Hawthorn Books, 1960 [1st Edition]), pg. 137
  2. See, for example, Petkoff 2007.