ควากกา
ควากกา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยโฮโลซีน | |
---|---|
ม้าลายควากกาตัวผู้ที่สวนสัตว์ลอนดอน ค.ศ. 1870 | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Perissodactyla |
วงศ์: | Equidae |
สกุล: | Equus |
สกุลย่อย: | Hippotigris |
สปีชีส์: | E. quagga |
สปีชีส์ย่อย: | †E. q. quagga |
Trinomial name | |
†Equus quagga quagga (Boddaert, 1785) | |
อดีตสถานที่กระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
ม้าลายควากกา (อังกฤษ: Quagga; ชื่อวิทยาศาสตร์: Equus quagga quagga) เป็นชนิดย่อยของม้าลายธรรมดา (E. quagga) ชนิดหนึ่ง แต่เดิม เคยถูกเข้าใจว่าเป็น ชนิดแยกของม้าลาย มีลวดลายและลักษณะที่จำแนกได้เด่นชัดที่สุดในบรรดาม้าลายทั้งหมด เพราะมีลายเฉพาะบริเวณส่วนหัวไล่ลงมาถึงต้นคอเท่านั้น จากนั้นจะจางลงจนเกือบขาวที่บริเวณขา และขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดง มีความยาวประมาณ 257 ซม. (8 ฟุต 5 นิ้ว) ความสูง 125–135 ซม. (4 ฟุต 1 นิ้ว - 4 ฟุต 5 นิ้ว) ในอดีตม้าลายควากกา อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้ากึ่งแห้งแล้งร่วมกับสัตว์อื่น ๆ ในแอฟริกาใต้ ม้าลายควากกาอยู่รวมเป็นฝูงละ 30- 50 ตัว มีนิสัยเชื่องกว่าม้าลายธรรมดาและสามารถฝึกใช้งานได้ โดยชาวไร่บางคนเลี้ยงมันไว้เฝ้าไร่และช่วยเฝ้าฝูงปศุสัตว์ เนื่องจากควากกามีนิสัยหวงถิ่นคล้ายหมา เมื่อชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาตั้งรกรากในแอฟริกาใต้ และได้ล่าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ม้าลายควากกามีขนสวยงาม และอ่อนนุ่มกว่าม้าลายชนิดอื่น ๆ จึงกลายเป็นเป้าหมายของนักล่า ม้าลายควากกาถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร และใช้หนังเพื่อทำกระเป๋า ม้าลายควากกาตัวสุดท้ายในป่า ถูกยิงตายในปี ค.ศ. 1878 ส่วนม้าลายควากกาตัวสุดท้ายของโลก ตายที่สวนสัตว์อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1883 หลังจากม้าลายควากกาสูญพันธุ์ไปได้ร้อยกว่าปี ได้มีการทดลองสกัดดีเอ็นเอ จากหนังของมัน ในปี ค.ศ. 1984 และทำได้สำเร็จ โดยเป็นสัตว์สูญพันธุ์ชนิดแรกที่นักวิทยาศาสตร์สกัด ดีเอ็นเอได้
และการศึกษาจากดีเอ็นเอนี้เอง ที่ทำให้พบว่าควากกาเป็นชนิดย่อยของม้าลายธรรมดา จึงมีการเริ่มโครงการควากกา (Project Quagga) เพื่อเพาะพันธุ์พวกมันขึ้นมาอีกครั้ง โดยการนำม้าลายธรรมดาชนิดย่อยต่างๆ มาผสมกันและคัดพวกลูกม้าที่มีลายน้อย นำมาผสมกันต่อไปเป็นทอด จนกว่าได้ลูกม้าลายที่ลักษณะใกล้เคียงควากกา ปัจจุบัน โครงการดังกล่าว สามารถเพาะพันธุ์ม้าลายที่มีลักษณะคล้ายควากกาได้เกือบสองร้อยตัว และเริ่มนำพวกมันปล่อยสู่ธรรมชาติในเขตสงวนหลายแห่งของแอฟริกาใต้ ซึ่งนี่อาจเป็นอีกความหวังหนึ่ง ที่จะนำสัตว์ที่สูญพันธุ์ให้กลับคืนมาอีกครั้ง
อ้างอิง
แก้- ↑ Hack, M. A.; East, R.; Rubenstein, D. I. (2008). Equus quagga quagga. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 5 January 2008.
- ↑ Max, D.T. (2006-01-01). "Can You Revive an Extinct Animal?". New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25.
- ↑ doi:10.1098/rsbl.2005.0323
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Equus quagga quagga ที่วิกิสปีชีส์