ข้าวแดกงา
ข้าวแดกงา หรือ ขนมแดกงา เป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทยและชาวมอญ พบได้ในหลายพื้นที่ ทางภาคกลางเรียกข้าวเหนียวแดกงาหรือขนมแดกงา ทางจังหวัดพิจิตรเรียกขนมข้าวโป่ง ชาวไทใหญ่แต่เดิมเรียกข้าวตำงา แต่ปัจจุบันเรียกขนมข้าวปุกและโยงความหมายเข้ากับการปลุกใจคนไทใหญ่ให้กอบกู้ชาติบ้านเมือง ภาคอีสานเรียกขนมข้าวเบียง ส่วนภาษามอญเรียกขนมนี้ว่ากวาญย์คะเปียง
ข้าวแดกงา | |
ชื่ออื่น | ข้าวเหนียวแดกงา, ข้าวตำงา, ขนมแดกงา, ขนมข้าวปุก |
---|---|
มื้อ | ขนม |
แหล่งกำเนิด | ไทย, พม่า |
ส่วนผสมหลัก | ข้าวเหนียว, งา |
การทำขนมชนิดนี้จะนำข้าวเหนียวมาตำในครกตำข้าว ขณะตำจะโรยงาคั่ว เหยาะน้ำเกลือ ตำให้แหลกเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน ตักขึ้นมาแบ่งเป็นชิ้น จิ้มน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทราย ทางจังหวัดอุทัยธานีจะทำขนมนี้ให้มีไส้หวานอยู่ข้างใน
ข้าวแดกงาทางภาคกลางนั้น ทางภาคเหนือเรียกข้าวหนุกงา นำข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ เคล้ากับเมล็ดงาขี้ม้อน คั่วให้เมล็ดงาติดข้าวเหนียวจนทั่ว แล้วนำมารับประทาน[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ สิริรักษ์ บางสุด และ พลวัฒน์ อารมณ์. โอชะล้านนา. กรุงเทพฯ: แสงแดด. 2558 หน้า 40
- องค์ บรรจุน. ข้างสำรับมอญ. กรุงเทพฯ: มติชน. 2557. หน้า 80 - 84