ข่าวปลอม[1] หรือ ข่าวลวง[1] เป็นการหนังสือพิมพ์เหลือง (yellow journalism) หรือการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งประกอบด้วยสารสนเทศผิดหรือเรื่องหลอกลวงอย่างจงใจ ไม่ว่าจะเผยแพร่ผ่านสื่อข่าวตีพิมพ์ การแพร่สัญญาณตามปกติ หรือสื่อสังคมออนไลน์[2][3] ข่าวปลอมมักถูกเขียนและพิมพ์เผยแพร่ โดยมีความประสงค์เพื่อชักนำบุคคลในทางที่ผิด เพื่อสร้างความเสียหายต่อหน่วยงาน นิติบุคคลหรือบุคคล หรือเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงินหรือเพื่อชักจูงการเมือง[4][5][6] ผู้สร้างข่าวปลอมมักใช้ข้อความพาดหัวในลักษณะเร้าอารมณ์ หลอกลวง หรือกุขึ้นทั้งหมดเพื่อเพิ่มยอดผู้อ่าน การแบ่งปันออนไลน์ และรายได้จากคลิกอินเทอร์เน็ต ซึ่งในกรณีหลัง คล้ายกับพาดหัว "คลิกเบต" ออนไลน์เร้าอารมณ์และอาศัยรายได้จากการโฆษณาจากกิจกรรมนี้ โดยไม่สนใจว่าเรื่องที่พิมพ์นั้นจะถูกต้องหรือไม่ นอกจากเหตุผลทางเศรษฐกิจแล้ว การสร้างและเผยแพร่ข่าวปลอมอาจมีการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบเพื่อหวังผลทางการเมือง และใช้เทคนิคบิดเบือนหรือการชักจูงทางจิตวิทยา เช่น การ "แกสไลต์" หรือการสร้างทฤษฎีสมคบคิด เพื่อให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความสับสน หรือตั้งคำถามกับข้อเท็จจริงหรือข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ ข่าวปลอมที่จงใจชักจูงในทางที่ผิด (manipulative) และหลอกลวงแตกต่างจากการเสียดสีหรือการล้อชัดเจน ซึ่งตั้งใจสร้างความตลกขบขันไม่ใช่ชักจูงผู้ชมให้เข้าใจผิด

Three running men carrying papers with the labels "Humbug News", "Fake News", and "Cheap Sensation".
นักข่าวถือ "ข่าวปลอม" ในหลายรูปแบบ ภาพโดยเฟรเดอริก เบอร์ ออปเปอร์ ค.ศ. 1894

ข่าวปลอมมีความใกล้ตัวมากขึ้นในการเมืองภายหลังความจริง (post-truth politics) สำหรับผู้ประกอบกิจการสื่อที่ขาดจริยธรรม ความสามารถในการดึงดูดผู้ชมเข้าเว็บไซต์ มีความจำเป็นต่อการสร้างรายได้การโฆษณาออนไลน์โดยรวม จึงมีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่จะเผยแพร่เนื้อหาหลอกลวงที่สามารถดึงดูดผู้ใช้ ปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของข่าวปลอม เช่น การผลิตเนื้อหาเพื่อเรียกบริษัทโฆษณาและเรตติง การเข้าถึงรายได้โฆษณาออนไลน์อย่างง่าย แนวโน้มที่สูงขึ้นของการแบ่งแยกทางการเมือง และความนิยมของเครือข่ายสื่อสังคม[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟีดข่าวเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ล้วนมีส่วนในการแพร่ระบาดของข่าวปลอม[4][7] ซึ่งมาแข่งขันกับเรื่องข่าวที่ถูกต้อง ตัวการรัฐบาลของศัตรูก็เข้ามาเกี่ยวข้องในการสร้างและโฆษณาข่าวปลอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการเลือกตั้ง[8] อย่างเช่น การแทรกแทรงของกลุ่มแฮ็กเกอร์สัญชาติรัสเซีย ในการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐอเมริกาในปี 2016

ข่าวปลอมยังบั่นทอนการทำข่าวของสื่อจริงจังและทำให้นักหนังสือพิมพ์เขียนข่าวสำคัญได้ยากขึ้น[9] บัซฟีดวิเคราะห์พบว่าเรื่องข่าวปลอมสูงสุด 20 อันดับเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559 ได้รับผู้ชมบนเฟซบุ๊กมากกว่าเรื่องข่าวสูงสุด 20 อันดับเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อใหญ่อีก 19 แห่ง[10] เว็บไซต์ข่าวปลอมที่บุคคลนิรนามเป็นเจ้าของซึ่งขาดผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เท่าที่ทราบถูกวิจารณ์ เพราะทำให้การดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาททำได้ยาก[11]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2563, หน้า 45.
  2. 2.0 2.1 "It's the (Democracy-Poisoning) Golden Age of Free Speech".
  3. Leonhardt, David; Thompson, Stuart A. (June 23, 2017). "Trump's Lies". New York Times. สืบค้นเมื่อ June 23, 2017.
  4. 4.0 4.1 Hunt, Elle (December 17, 2016). "What is fake news? How to spot it and what you can do to stop it". The Guardian. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.
  5. Schlesinger, Robert (April 14, 2017). "Fake News in Reality". U.S. News & World Report.
  6. "The Real Story of 'Fake News': The term seems to have emerged around the end of the 19th century". Merriam-Webster. Retrieved October 13, 2017.
  7. Woolf, Nicky (November 11, 2016). "How to solve Facebook's fake news problem: experts pitch their ideas". The Guardian. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.
  8. "Fake news busters". POLITICO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 14, 2017. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.
  9. Carlos Merlo (2017), "Millonario negocio FAKE NEWS", Univision Noticias
  10. Chang, Juju; Lefferman, Jake; Pedersen, Claire; Martz, Geoff (November 29, 2016). "When Fake News Stories Make Real News Headlines". Nightline. ABC News.
  11. Callan, Paul. "Sue over fake news? Not so fast". CNN. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.