การเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์


การเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์ (Validated learning) เป็นวิธีการเรียนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทสตาร์ทอัพ มีการใช้การเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์ ในวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบสกรัม (scrum) คำนี้มีการใช้ครั้งแรกโดย อีริก รีส์ (Eric Ries) ในปี ค.ศ.2011 [1] การเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์ คือ การมีไอเดียเริ่มต้น แล้วทดลองไอเดียนั้นกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และพิสูจน์ (validate) ประสิทธิภาพของไอเดียนั้น โดยจะมีการทดสอบไอเดียและทำการพิสูจน์ไอเดียแต่ละอย่าง การทดสอบไอเดียแต่ละอัน เรียกว่า หนึ่งการทำซ้ำ (iteration) ในการพิสูจน์ไอเดียกับลูกค้านั้น นับเป็นกระบวนการใหญ่ที่มีการทำซ้ำ (iteration) จำนวนมาก เพื่อเรียนรู้ข้อเท็จจริงบางอย่างเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจให้สำเร็จ[2] คำนี้มีต้นกำเนิดจากแนวคิดการทำธุรกิจแบบลีนสตาร์ทอัพ (lean startup) แต่การเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์นั้น เป็นเทคนิคที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง

การเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์ เป็นที่นิยมในการพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับกาารวิเคราะห์ (analytics)สามารถติดตามพฤติกรรมของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และให้สถิติที่ถูกต้อง รวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกว่าฟีเจอร์แต่ละอันของเว็บไซต์ให้ผลตอบรับอย่างไรในความเป็นจริง อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์สามารถนำไปใช้ธุรกิจใดก็ได้ เพียงแต่กิจการจะต้องมีตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก (metrics) ที่มีพื้นฐานเป็นการสร้างสรรสิ่งใหม่ (ฟีเจอร์ใหม่) ในธุรกิจ

ขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์:

  1. ตั้งเป้าหมายที่เจาะจง
  2. เจาะจงตัวชี้วัด
  3. ลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย
  4. วิเคราะห์ผลเพื่อประเมินความสำเร็จ
  5. ปรับปรุงและลงมือทำซ้ำใหม่

การเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์มีการใช้ในงานเขียนเกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพหลายชิ้น ดังนี้:

  1. การพิสูจน์สมมติฐานที่สำคัญอย่างรวดเร็ว "Agile Principles: Chapter 3". Addison-Wesley. 2019-06-10.
  2. การใช้ลูปการเรียนรู้หลายอันพร้อม ๆ กัน (Leverage multiple concurrent learning loops) "Post-agile approaches - agile for the real world". Yuval Yeret. 2019-06-10.
  3. จัดกากระแสงานเพื่อรองรับฟีดแบ็คอย่างรวดเร็ว "How to Use Fast Feedback Loops". Axosoft, LLC. 2019-06-10.

ในการตั้งเป้าหมายที่เจาะจงนั้น สามารถใช้กระบวนการหาเป้าหมายแบบสมาร์ต (SMART target finding) ในการเรียนรู้ด้วยการพิสูจน์กระบวนการแรกได้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Rubin, Kenneth S. (2013), Essential Scrum. A Practical Guide to the Most Popular Agile Process (ภาษาอังกฤษ), Addison-Wesley, p. 44, ISBN 978-0-13-704329-3
  2. Ries, Eric. "The Lean Startup". สืบค้นเมื่อ 4 September 2012.