การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ เป็นประเภทหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแทนที่เชิงนิเวศ ซึ่งเกิดในพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน อาทิ พื้นลาวาจากการปะทุของภูเขาไฟ[1][2]

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ พื้นดินหนาตัวขึ้นจากการทับถมจากซากพืช และมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนชนิดพืชและสัตว์ในระบบนิเวศ ตัวเลข I-VII ระบุถึงขั้นต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิบนเกาะแรงกิโทโท

กระบวนการ แก้

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมินั้นเริ่มจากผู้บุกเบิก เช่น ไลเคน, สาหร่าย และฟังไจ ซึ่งผู้บุกเบิกเหล่านี้จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้น โดยพื้นที่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นนี้ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่มาก่อนเท่านั้น หลังจากพวกผู้บุกเบิกเจริญเติบโตแล้ว จะค่อย ๆ เปลี่ยนชนิดของสิ่งมีชีวิตไปเรื่อย ๆ กลายเป็นมอส, หญ้า, ไม้พุ่ม, พื้ชยืนต้น และกลายเป็นสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุดในที่สุด ซึ่งสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุดนั้นจะมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น ป่าดงดิบ

อ้างอิง แก้

  1. "พจนานุกรมชีววิทยาออนไลน์". ชีววิทยาออนไลน์ (Biology Online). สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. วอล์กเกอร์, ลอว์เรนซ์ อาร์.; เดล โมรัล, โรเจอร์. "การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ". สารานุกรมวิทยาศาสตร์ชีวิต. doi:10.1002/9780470015902.a0003181.pub2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-23. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)