ทัศนมิติ
(เปลี่ยนทางจาก การเขียนแบบทัศนียภาพ)
ทัศนมิติ[1] (อังกฤษ: perspective) หรือทับศัพท์ว่าเพอร์สเปกทีฟ คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น
ประเภทของทัศนมิติ
แก้- ทัศนมิติแบบจุดเดียวจะมีจุดสุดสายตา (Vanishing point) จุดเดียว อาจอยู่ด้านซ้าย หรือขวา บนหรือล่าง หรืออยู่กึ่งกลางของภาพก็ได้
- จุดลับตาหรือจุดอันตธาน คือจุดรวมของเส้นฉายของภาพ
- ทัศนมิติแบบสองจุด จะมีจุดสุดสายตา สองจุด อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของภาพ
- ทัศนมิติแบบสามจุด จะมีจุดสุดสายตา สองจุด อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของภาพ อีกหนึ่งจุดอาจอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของภาพก็ได้
ระดับมุมมองของทัศนมิติ
แก้- มองแบบนก (Bird’s eye view) เป็นภาพในลักษณะมองจากที่สูงลงมา
- มองในระดับสายตา (Human’s eye view) เป็นภาพการมองในลักษณะระดับสายตาของคนทั่วไป
- มองแบบหนอน (Worm’s eye view) เป็นภาพในลักษณะมองขึ้นไปที่สูง
องค์ประกอบของทัศนมิติ
แก้- จุดสุดสายตา (Vanishing Point)
- เส้นระดับสายตา (Horizon Line)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ศัพท์ศิลปะ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-01-17.
- ชวลิต ดาบแก้ว และ สุภาวดี เหมทานนท์ การเขียนทัศนียภาพ. ดีแอล เอส. พ.ศ. 2541.
- Gwen White. Perspective: A Guide for Artists, Architects and Designers B.T. Batsford Ltd. 1982. ISBN 978-0713-4341-25
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ทัศนมิติ