การสนับสนุนการช่วยรบ
ในวิชาการทหาร การสนับสนุนการช่วยรบ (combat service support ตัวย่อ: CSS หรือ สชร.)[1] บ้างเรียก การช่วยรบ หมายถึงกิจกรรมและภาระหน้าที่ทั้งปวงในเขตหลังแนวรบเพื่อรับประกันความมั่นคงของระบบส่งกำลังบำรุงและโครงสร้างอื่น บุคลากรฝ่ายสนับสนุนการช่วยรบถือว่าเป็น ผู้มิใช่พลรบ (non-combatant)[2]
ภาระหน้าที่
แก้ทางตรง
แก้การสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุง (logistic support)[3] ถือเป็นการสนับสนุนการช่วยรบทางตรง ประกอบด้วยการให้บริการในหลากหลายด้าน อาทิ การส่งกำลัง (supply), การขนส่ง (transportation), การซ่อมบำรุง (maintenance), การแพทย์ (medical), การยุทธโยธา (construction), การสุขอนามัย (hygiene)
ทางอ้อม
แก้ถือเป็นการสนับสนุนการช่วยรบทางอ้อม ประกอบด้วย สารสนเทศ (information), การสื่อสาร (communication), วัสดุ/ยุทธภัณฑ์ (material)[4], บริภัณฑ์ (equipment)[5], การวิจัย (research), การอบรม (education), สารวัตรทหาร (police), นิติการ (legal affair), การบัญชี (accounting), กำลังพล (personnel)
อ้างอิง
แก้- ↑ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. พจนานุกรมศัพท์ทหาร อังกฤษ-ไทย ฉบับใช้ร่วมสามเหล่าทัพ พ.ศ. 2558 เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า 54
- ↑ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. เรื่องเดียวกัน หน้า 216
- ↑ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. เรื่องเดียวกัน หน้า 184
- ↑ ระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ระบุว่า "ยุทธภัณฑ์ หมายความถึงสิ่งของทั้งหลายที่ใช้ประจำกายหรือประจำหน่วยกำลังถืออาวุธของทางราชการ เช่นทหาร ตำรวจ เป็นต้น ได้แก่เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ อาวุธ และสิ่งอื่นๆ ในทำนองนี้"
- ↑ ระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ระบุว่า "บริภัณฑ์ หมายความถึงเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องกล สิ่งอุปกรณ์ และสิ่งอื่นๆ ในทำนองนี้"