การลูกเสือสำหรับเด็กชาย

การลูกเสือสำหรับเด็กชาย: คู่มือการสอนการเป็นพลเมืองดี หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Scouting for Boys: A handbook for instruction in good citizenship เป็นหนังสือว่าด้วยการฝึกลูกเสือ จัดพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 จนถึงปัจจุบัน มีการแก้ไขหลายครั้ง ทั้งเล็กน้อยและแก้ไขอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงมีฉบับแปลเป็นภาษาต่าง ๆ รวมถึงภาษาไทยด้วย ฉบับแรกสุดเขียนโดยโรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ เนื้อหาหลักเป็นเรื่องการสังเกต การสะกดรอย พืชพรรณและสัตว์นานาชนิด การฝึกฝนตนเอง การพัฒนาตนเอง และหน้าที่พลเมือง ในหนังสือสอดแทรกประสบการณ์ของเบเดน-โพเอลล์ ตอนที่ยังเยาว์ ช่วงชีวิตการงานตอนต้น ขณะที่ไปกำกับกองเสือป่ามาฟีคิง การรบในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง และประสบการณ์ในค่ายลูกเสือเกาะบราวน์ซี

การลูกเสือสำหรับเด็กชาย  
ปกหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย ภาคที่หนึ่ง มกราคม พ.ศ. 2451
ผู้ประพันธ์โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์
ชื่อเรื่องต้นฉบับScouting for Boys
ผู้วาดภาพประกอบโรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์
ศิลปินปกจอห์น แฮซซัลล์
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
หัวเรื่องการลูกเสือ
ประเภทหนังสือสำหรับครูและนักเรียนอ่าน
พิมพ์24 มกราคม พ.ศ. 2451[1] Horace Cox
OCLC492503066

ประวัติ แก้

ก่อนหน้าที่จะมาเป็นหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย นั้น เบเดน-โพเอลล์ ได้เขียนหนังสือ คำแนะนำการเสือป่า (Aids to Scouting) เมื่อ พ.ศ. 2432[2] โดยกลั่นกรองประสบการณ์ของเขาในการสอดแนมทางทหาร หรือการเสือป่า และการพึ่งตนเอง ซึ่งได้ถ่ายทอดจากเฟรเดอริก รัสเซลล์ เบอร์แนม (Frederick Russell Burnham) ทหารแนวหน้าชาวอเมริกัน หลังเกิดการโจมตีที่มาฟีคิง คำแนะนำการสอดแนมได้กลายเป็นหนังสือยอดนิยมในหมู่ครูและนักเรียน[3][4][5]

ในช่วงการโจมตีที่มาฟีคิง เบเดน-โพเอลล์ ได้ให้ทหารคนสนิทรวบรวมเด็กชายอายุ 12-15 ปี เป็นกองเสือป่า ทำหน้าที่พลถือสาร นายไปรษณีย์ พยาบาลสนาม และพลปืน ต่อมาเด็กเหล่านี้มีบทบาทในช่วงสงครามโบเออร์ครั้งที่สองด้วย ครั้นเบเดน-โพเอลล์ กลับมายังสหราชอาณาจักร เขาทราบว่าหนังสือที่เขาเขียนเป็นที่นิยมในหมู่ครูและนักเรียน ใช้สอนการสังเกตและการใช้เหตุผลนิรนัย คือการใช้เหตุผลที่เอากฎธรรมชาติอันมีทั่วไปดีแล้วมาอธิบายสิ่งที่เกิด ต่อมาเบเดน-โพเอลล์ สนทนากับเออร์เนสต์ ทอมป์สัน เซตัน (Ernest Thompson Seton) ในเรื่องการฝึกเด็กและเยาวชน เซตันให้หนังสือธรรมชาติวิทยาอินเดียนแดงThe Birch Bark Roll of the Woodcraft Indians ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449[6] โพเอลล์ตัดสินใจปรับปรุงหนังสือให้เหมาะแก่เด็กชาย[3] โดยได้รับความช่วยเหลือจากมิตรสหาย อาทิ วิลเลียม อะเลกซานเดอร์ สมิท (William Alexander Smith) ผู้ก่อตั้งบอยส์บริเกด (Boys' Brigade) และไซริล อาร์เทอร์ เพียร์สัน (Cyril Arthur Pearson) เจ้าของโรงพิมพ์[7] ครั้นหนังสือถูกปรับปรุงแล้ว ได้ใช้ชื่อ เสือป่าน้อย (Boys' Patrols) ก่อนหน้าค่ายลูกเสือที่เกาะบราวน์ซี

หนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย เผยแพร่เป็นรายปักษ์ (คือครึ่งเดือน) ทั้งสิ้น 6 ปักษ์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2451 แต่ละฉบับมีความยาวประมาณ 70 หน้า แม้ว่าหนังสือเล่มเดิมคือการเสือป่าสำหรับเด็กชายจะถูกนำมาปรับ แต่ผู้เขียนก็ได้ลดเนื้อหาทางทหารลง ปรับให้เป็นแนวสำหรับเด็กและนักสำรวจ นอกจากนี้ยังเพิ่มเกม คำปฏิญาณ กฎ และเกียรติของลูกเสือ[3][8] ต่อมาหนังสือถูกปรับแก้โดยผู้เขียนหลายคน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขเล็กน้อยหรือการแก้ไขทั้งหมด กล่าวกันว่าหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย เป็นหนังสือขายดีอันดับสี่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20[9][10]

เนื้อหา แก้

หนังสือทั้งหกตอนนั้น มีชื่อว่า การลูกเสือสำหรับเด็กชาย ราคาเล่มละ 4 เพนนี (สมัยนั้น 12 เพนนี เท่ากับ 1 ชิลลิง และ 20 ชิลลิง เท่ากับ 1 ปอนด์ทองคำ) ซึ่งไม่แพงเกินสมควรและสามารถหาซื้อได้ง่าย ตอนต้นบทมีนิทาน คำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ ตอนท้ายบทส่วนมากมีเกมและกิจกรรม รวมถึงรายชื่อหนังสือที่ควรอ่านเพิ่ม[11]

ตอนที่ 1 การลูกเสือเบื้องต้น แก้

หนังสือในปักษ์แรก หน้า 3 - 70 เป็นส่วนที่ว่าด้วยพื้นฐานของการลูกเสือ

1 กองเสือป่ามาฟีคิง การลูกเสือ หนังสือต่าง ๆ คิม
2 สรุปหลักสูตรวิชาลูกเสือ นิทานการสังหารเอลสดอน (Elsdon murder)
3 องค์การลูกเสือ คำปฏิญาณ การเคารพ เครื่องหมายลับ เครื่องแบบ เพลงศึก สัญญาณตรวจตรา
4 กฎของลูกเสือ เกม การละเล่น

ตอนที่ 2 การสะกดรอยและการรู้จักพืชและสัตว์ แก้

หนังสือในปักษ์ที่สอง หน้า 71 - 174 มีบทที่ 2 การสะกดรอย และบทที่ 3 การรู้จักพืชและสัตว์ แต่ละบทมีการเล่นรอบกองไฟ 3 แบบ แต่ละหัวข้อมีคำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ และหนังสือสำหรับอ่านเพิ่ม

5 การสังเกตสัญญาณและการตรวจการณ์ รายละเอียดเกี่ยวกับคน เบาะแสจากศพ รายละเอียดจากเขตประเทศ การใช้สายตาให้เฉียบคม
6 การตามกลิ่นคนและสัตว์ รอยเดินของคน ข้อแนะนำการตามกลิ่น
7 การสังเกตสัญญาณและการใช้เหตุผลนิรนัย ตัวอย่างนิรนัย คำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ
8 การสะกดรอย การซ่อนตัว การสอนให้สะกดรอย เกมสะกดรอย
9 สัตว์นานาชนิด นก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา แมลง ข้อแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสมือ เกียรติ การล่าสิงโต หนังสือ เกม
10 พืชพรรณ ต้นไม้

ตอนที่ 3 ชีวิตในค่ายพักแรมและการหาเส้นทาง แก้

หนังสือในปักษ์ที่สาม หน้า 143 - 206 ประกอบด้วยบทที่ 4 ชีวิตในค่ายพักแรม และบทที่ 5 การหาเส้นทาง แต่ละหัวข้อมีคำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ และหนังสือสำหรับอ่านเพิ่ม

11 การบุกเบิก การสร้างกระท่อม การตัดฟันต้นไม้ การสร้างสะพาน การประเมินตนเอง ลูกเสือทุกนายต้องพร้อมเสมอทุกสถานการณ์
12 การตั้งค่ายพักแรม ความสะดวกสบายในค่าย การเล่นรอบกองไฟอย่างถูกต้อง ความสะอาดเรียบร้อย
13 ชีวิตในค่ายพักแรม การหุงหาอาหาร การทำขนมอัง การไล่และฆ่าวัวเพื่อเป็นอาหาร ความสะอาด น้ำดื่ม
14 ชีวิตในพื้นที่เปิด การสำรวจ การล่องเรือ ทักษะทางน้ำ ทักษะทางภูเขา การลาดตระเวน การทำงานกลางคืน รู้จักกับสภาพอากาศ
15 การค้นหาเส้นทาง การประมาณความสูงและระยะทาง การหาทิศเหนือ
16 สัญญาณต่าง ๆ บอกอะไร การส่งสัญญาณ สัญญาณนกหวีดและสัญญาณธง การฝึกปฏิบัติใช้สัญญาณ

ตอนที่ 4 ความอดทนและเกียรติศักดิ์ แก้

หนังสือในปักษ์ที่สี่ หน้า 207 - 270 ประกอบด้วยบทที่ 6 ความอดทนสำหรับลูกเสือ หรือทำตัวอย่างไรจึงจะแข็งแรง และบทที่ 7 เกียรติศักดิ์ของอัศวิน แต่ละหัวข้อมีคำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ การฝึกปฏิบัติ และหนังสือสำหรับอ่านเพิ่ม.

17 โตอย่างไรจีงจะแข็งแรง ความอดทนสำหรับลูกเสือ การออกกำลังกายและวัตถุประสงค์ จมูก หู ตา ฟัน
18 นิสัยเพื่อสุขภาพ การทำให้แข็งแรง การรักษาความสะอาด การสูบบุหรี่ การดื่ม การตื่นเช้า การยิ้ม
19 การป้องกันโรค การรักษาโรคในค่าย จุลชีพและวิธีการค้นหา อาหาร เสื้อผ้า
20 เกียรติศักดิ์ของอัศวิน เกียรติศักดิ์ที่มีแก่ผู้อื่น นักบุญจอร์จ กฎของอัศวิน การไม่เห็นแก่ตัว การอุทิศตนอย่างแรงกล้า ความใจดีมีเมตตา ความเป็นมิตร ความสุภาพ ความมีน้ำใจต่อสตรี
21 วินัยในตนเอง เกียรติ การเชื่อฟัง และการลงโทษ การให้กำลังใจ การมีอารมณ์ดีและไม่โกรธ
22 การพัฒนาตนเอง หน้าที่ต่อพระเป็นเจ้า การหาทรัพย์สิน การดำรงชีวิต การฝึกพัฒนาตนเอง การพัฒนาสัมมาชีพ

ตอนที่ 5 การช่วยชีวิตและความรักชาติ แก้

หนังสือในปักษ์ที่ห้า หน้า 271 - 334 ประกอบด้วยบทที่ 8 การช่วยชีวิต หรือการปฏิบัติเมื่อมีเหตุร้าย และบทที่ 9 ความรักชาติ หรือหน้าที่พลเมือง

23 จงเตรียมพร้อมสำหรับเหตุไม่คาดฝันเสมอ เหรียญเซนต์จอห์น การฝึกปฏิบัติช่วยชีวิต
24 เหตุร้ายและวิธีการปฏิบัติ ความตื่นกลัว การหนีไฟ ทิศทาง การช่วยคนจมน้ำ การช่วยคนตกม้า อุบัติเหตุต่าง ๆ สุนัขบ้า การฝึกปฏิบัติช่วยชีวิต
25 การช่วยเหลือผู้อื่น การปฐมพยาบาล งูกัด ทรายเข้าตา การฆ่าตัวตาย การขนย้ายผู้ป่วย
26 จักรวรรดิของเรา (สมัยนั้นเป็น จักรวรรดิบริเตน) จักรวรรดิเจริญอย่างไร จักรวรรดิอยู่ได้ด้วยอะไร
27 หน้าที่พลเมือง หน้าที่ของลูกเสือในฐานะพลเมือง หน้าที่ในฐานะทหาร การแม่นปืน การช่วยเหลือตำรวจ เกม
28 รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย (united we stand, divided we fall) กองทัพบกและเรือของเรา ธงชาติของเรา รัฐบาลของเรา กษัตริย์ของเรา

ตอนที่ 6 หมายเหตุสำหรับผู้กำกับลูกเสือ เกม การฝึกปฏิบัติ และนิทรรศการ แก้

หนังสือในปักษ์ที่หก หน้า 335 - 398 มีบทเดียวสำหรับใช้เป็นคู่มือผู้กำกับลูกเสือ

  การเล่นเกม อย่ามองข้ามไป, จักรวรรดิบริเตนต้องการท่าน, จักรวรรดิโรมันล่มสลายเพราะพลเมืองเลว, พลเมืองเลวมีมากในปัจจุบัน, ฟุตบอล, พลเมืองที่ดีในวันหน้าคืออะไร, การลูกเสือในยามสงบ, การทหาร, การสอนวิชาลูกเสือ, หน่วยงานที่ควรติดต่อ, คำแนะนำ, จงเตรียมพร้อม, ห้องสโมสร, คู่มือสอน, คำแนะนำแลบะวิธีการสอน, การจินตนาการ, หน้าที่ต่อผู้น้อย, วินัย, ศาสนา, ความต่อเนื่อง, การพัฒนาบุคลิกภาพ
  วิชาลูกเสือขั้นต้น การสะกดรอย พืชพรรณและสัตว์นานาชนิด ชีวิตในค่าย การหาทิศทาง ความอดทนและสุขภาพ เกียรติของอัศวิน การช่วยชีวิตและปฐมพยาบาล ความรักชาติ การถล่มกรุงเดลี

เพลงชาติต่าง ๆ กีฬา

  คำแนะนำการจัดนิทรรศการ
  เรื่องราวของการลูกเสือ
  ใบแก้คำผิด

สถานะลิขสิทธิ์ แก้

สมาคมลูกเสือสหราชอาณาจักร เป็นผู้ทรงลิขสิทธิ์ในหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย ในสหราชอาณาจักรจวบจนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ที่ผ่านมา เนื่องจากสิ้นปีที่ 70 นับแต่ผู้สร้างสรรค์ตาย ปัจจุบันจึงมีสถานะเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์[12] เว้นแต่จะมีการแก้ไขโดยผู้อื่น ก่อนหน้านี้การทำสำเนาต้องได้รับอนุญาตจากสมาคมฯ ในส่วนของสหรัฐอเมริกา คณะลูกเสือแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับลิขสิทธิ์จากเบเดน-โพเอลล์ โดยตรง เขียนเป็นหนังสือเรื่อง คู่มือลูกเสือ ในปี พ.ศ. 2453[13]

ในประเทศไทย หนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย แปลโดยอภัย จันทวิมล เมื่อ พ.ศ. 2518 และจัดพิมพ์โดยองค์การค้าของคุรุสภา[14]

หนังสือเล่มอื่น แก้

เบเดน-โพเอลล์ เขียนหนังสือเล่มอื่นด้วย อาทิ

  • คู่มือลูกหมาป่า (The Wolf Cub's Handbook, พ.ศ. 2459) เป็นคู่มือลูกเสือสำรอง
  • การท่องสู่ความสำเร็จ (Rovering to Success, พ.ศ. 2465) เป็นคู่มือลูกเสือชาวบ้านวัยหนุ่ม
  • มือขวาของผู้กำกับลูกเสือ (Aids to Scoutmastership, พ.ศ. 2463) เป็นคู่มือผู้กำกับลูกเสือ[15]

อ้างอิง แก้

  1. "Boy Scouts movement begins". history.com. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  2. Baden-Powell, Robert (1899). Aids to scouting for N.-C.Os. & men. London: Gale & Polden. OCLC 316520848.
  3. 3.0 3.1 3.2 "First Scouting Handbook". Order of the Arrow, Boy Scouts of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
  4. "Aids to Scouting". Johnny Walker's Scouting Milestones. 2007. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
  5. "Be Prepared". DGS: Scouting, Interview from Listener magazine. 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2007. สืบค้นเมื่อ 22 January 2007.
  6. Seton, Ernest Thompson (1906). The birch-bark roll of the woodcraft Indians: containing their constitution, laws, games and deeds. New York: Doubleday. OCLC 150622085.
  7. Boehmer, Elleke (2004). Notes to 2004 edition. Oxford: Oxford University Press.
  8. "Woodcraft Indians". Order of the Arrow, Boy Scouts of America. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
  9. Smith, David (22 April 2007). "Scouts uncool? Not in my book". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2007-08-17.
  10. Hislop, Ian (10 June 2007). "The Edwardians". BBC Four. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
  11. Rohrer, Finlo (27 July 2007). "What would Baden-Powell do?". BBC News Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-10-30.
  12. "Copyright. A guide to reproducing material owned by The Scout Association" (PDF). The Scout Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-02-26.
  13. Jeal, Tim (1989). Baden-Powell. London: Hutchinson. ISBN 0-09-170670-X.
  14. โพเอ็ลล์ แห่งกิลเวลล์, ลอร์ดบาเดน. การลูกเสือ สำหรับเด็กชาย (อภัย จันทวิมล แปล). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
  15. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้