การลงแขก หรือที่ภาคใต้เรียกว่า ซอมือ เป็นวิธีการแลกเปลี่ยนแรงงานช่วยเหลือในการผลิต และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในหมู่บ้าน สมัยก่อน คนไทยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน ใครทำอะไรที่หนักหนาเกินความสามารถของครอบครัวตน หรือเร่งจะให้งานเสร็จรวดเร็วมักจะไหว้วานขอความช่วยเหลือเพื่อนบ้าน หรือมิฉะนั้น เพื่อนบ้านพอรู้ข่าวก็แห่มาช่วยเหลือ ทำงานนั้นไปจนเสร็จ โดยเจ้าของงานจะหุงหาอาหารไว้เลี้ยงแขก แม้กระทั่งการทำไร่ทำนา คนไทยมีประเพณีการลงแขก เพื่อไถนา เก็บเกี่ยวข้าว หรือนวดตีข้าว ซึ่งต่างคนต่างผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปช่วยเหลือกันจนงานเสร็จสิ้นลงทั้งหมด[1]

อ้างอิง แก้

  1. พิทยา ว่องกุล. สร้างสังคมใหม่ : ชุมชนาธิปไตย-ธัมมาธิปไตย. กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2542. หน้า 85