การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา (อังกฤษ: Strabismus surgery, extraocular muscle surgery, eye muscle surgery, eye alignment surgery) เป็นศัลยกรรมที่กล้ามเนื้อตา (extraocular muscle) เพื่อแก้ปัญหาตาที่ไม่มองไปในทางเดียวกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผ่าตัดเช่นนี้ 1.2 ล้านครั้งต่อปี จึงเป็นการผ่าตัดตามากที่สุดเป็นอันดับ 3[1]

การผ่าแยกหากล้ามเนื้อตา inferior rectus
การเลื่อนกล้ามเนื้อ medial rectus จากจุดยึด

การผ่าตัดแก้ตาเหล่สำเร็จเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2382 โดยนายแพทย์ชาวเยอรมันและทำแก่เด็กตาเหล่เข้าอายุ 7 ขวบ แม้จะมีแพทย์ชาวอเมริกันที่ได้พยายามทำหลายครั้งมาก่อนในปี พ.ศ. 2361[2] ส่วนจักษุแพทย์ชาวอเมริกันเป็นผู้ตีพิมพ์ไอเดียการรักษาตาเหล่ด้วยการตัดใยกล้ามเนื้อตาเป็นครั้งแรกในปี 2380[3]

ประเภท แก้

  • การผ่าตัดกล้ามเนื้อปกติจะใช้รักษาตาเหล่และรวมวิธีการดังต่อนี้คือ[4][5]
    • การทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง
      • การร่น (Recession) เป็นการย้ายถอยจุดดึงของกล้ามเนื้อ (insertion) ไปยังอีกด้านหนึ่ง
      • Myotomy เป็นการตัดกล้ามเนื้อ
      • Tenectomy เป็นการนำเส้นเอ็นออกจากลูกตาแล้วปล่อยให้หด เส้นเอ็นจะกลับประกอบกับลูกตาในจุดหลัง (posterior) จากที่นำออก แม้จะกำหนดตำแหน่งโดยเฉพาะไม่ได้
      • Tenotomy เป็นการนำเส้นเอ็นออกจากลูกตา ตัดเส้นเอ็นออกส่วนหนึ่ง แล้วปล่อยให้หด เส้นเอ็นที่เหลือจะกลับประกอบกับลูกตาในจุดหลัง (posterior) จากที่นำออก แม้จะกำหนดตำแหน่งโดยเฉพาะไม่ได้
    • การทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
      • การตัดออก (Resection) เป็นการเอากล้ามเนื้อออกจากตา ตัดปลายออกส่วนหนึ่ง แล้วเย็บเข้ากับตาใหม่[6]
      • การหดเข้า (Tucking)
      • Advancement เป็นการย้ายกล้ามเนื้อตาจากจุดยึดเดิมขึ้นไปด้านหน้า
    • การย้ายข้าง (Transposition) / การย้ายตำแหน่ง (repositioning)
    • การผ่าตัดแบบปรับการเย็บได้ (Adjustable suture surgery) เป็นวิธีต่อกล้ามเนื้อเข้าโดยรอยเย็บที่สามารถทำให้สั้นหรือยาวภายในวันหนึ่งหลังผ่าตัด เพื่อปรับแนวตาให้ตรงขึ้น[7]

การผ่าตัดรักษาตาเหล่เป็นวิธีการที่ทำในวันเดียว คนไข้ต้องอยู่ใน รพ. เพียงแค่ 2-3 ชม. ก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมตัว ส่วนระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัดโดยเฉลี่ยจะต่าง ๆ กัน หลังจากผ่าตัด คนไข้จะเจ็บและบวมบ้าง ในกรณีที่ต้องผ่าตัดอีก จะเจ็บเพิ่มขึ้น การตัดกล้ามเนื้อออก (Resection) จะเจ็บหลังผ่ามากกว่าการร่น (recession) และจะบวมนานกว่าและอาจทำให้อาเจียนในระยะต้น ๆ หลังผ่าตัด

แพทย์จะให้ปิดตาด้วยผ้าไม่ให้แสงเข้า ซึ่งคนไข้ควรจะใส่ เพราะการมีแสงเข้าตาหรือการขยับตาจะทำให้เจ็บ

การผ่าตัดนอกจากช่วยรักษาอาการตาเหล่แล้วยังช่วยรักษาภาวะ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้อีกด้วย

ผล แก้

ความตรงแนวและการทำงานที่เปลี่ยนไป แก้

การแก้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป

การผ่าตัดอาจทำให้ตาตรงแนวหรือเกือบตรง หรืออาจจะแก้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะต้องรักษาเพิ่มหรือผ่าตัดอีก โอกาสที่ตาจะคงตรงแนวในระยะยาวจะเพิ่มขึ้น ถ้าคนไข้สามารถเห็นภาพเดียวด้วยสองตาหลังผ่าตัด งานศึกษาหนึ่งในคนไข้ตาเหล่เข้าวัยทารก ที่หลังจากผ่าตัดตาเหล่เข้าหรือตาเหล่ออกเพียงเล็กน้อย (ภายใน 8 ไดออปเตอร์) พบว่า คนที่ตาเหล่เข้าเพียงเล็กน้อยมีโอกาสที่ตาจะมองไปทางเดียวกัน 5 ปีหลังผ่าตัดสูงกว่าผู้ที่มีตาเหล่ออก[8] มีหลักฐานเบื้องต้นว่า เด็กที่มีตาเหล่เข้าวัยทารกจะสามารถมองเห็นภาพเดียวด้วยสองตาหลังผ่าตัด ถ้าผ่าตัดตั้งแต่เนิ่น ๆ

ตาเหล่แบบอื่น ๆ

การผ่าตัดเพื่อรักษา oblique muscle disorders อาจมีผลเป็นตาเหล่หลังจากการผ่าตัด อย่างแรกก็คือ ตาอาจเหล่ขึ้นหรือลง มีหลักฐานบ้างว่า อาการอาจน้อยกว่าถ้าผ่าตัดเด็กตั้งแต่อายุน้อย ๆ[9] อย่างที่สองคือ การผ่าตัดอาจมีผลเป็นตาเหล่แบบหมุน (cyclodeviation, cyclotropia) และการเห็นภาพซ้อนแบบหมุน (cyclotropia) ถ้าระบบการเห็นไม่สามารถชดเชยความผิดพลาดได้[10][11]

สำหรับการผ่าตัดกล้ามเนื้อ horizontal rectus การตาเหล่ขึ้นลงในรูปแบบ A และ V และแบบหมุน อาจเกิดขึ้นและสามารถกันได้โดยระวังไว้ก่อน[12]

เรื่องที่ต้องพิจารณาอื่น ๆ

ผลการผ่าตัดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ ตาเหล่แบบเล็ก ๆ ที่เป็นต่อมา (microtropia, monofixation syndrome)[13]

การมองเห็นได้ดีขึ้นและประโยชน์อื่น ๆ

เป็นระยะเวลานานแล้วที่เชื่อว่า คนไข้ผู้ใหญ่ที่ตาเหล่เป็นระยะเวลานานจะดูดีขึ้นเท่านั้นถ้าผ่าตัด แต่เมื่อไม่นานนี้ ก็ได้พบกรณีคนไข้ที่สามารถมองเห็นภาพเดียวด้วยสองตา โดยเฉพาะถ้ากล้ามเนื้อสามารถปรับตาให้ตรง (motor alignment) ได้ดีมาก[14] ในกรณีที่ตาเหล่เข้าก่อนผ่าตัด การผ่าตัดจะช่วยขยายลานสายตาที่เห็นด้วยทั้งสองตา แล้วทำการเห็นรอบนอก (peripheral vision) ให้ดีขึ้น นอกจากนั้น การมีตาที่มองตรงจะให้ประโยชน์ทางจิต-สังคมและทางเศรษฐกิจต่อคนไข้[14]

ดูเพิ่มที่ผลทางจิต-สังคมของตาเหล่

ภาวะแทรกซ้อน แก้

การเห็นภาพซ้อน (Diplopia) จะเกิดบ่อยมากในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกหลังจากผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นน้อยหรือน้อยมากหลังผ่าตัดรวมทั้งการติดเชื้อ, การตกเลือดในกรณีที่ทะลุเปลือกลูกตา (scleral perforation), กล้ามเนื้อเคลื่อนหรือหลุดออก, และแม้กระทั่งการเห็นที่แย่ลง

การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาสามารถทำให้เกิดแผลเป็น/พังผืดได้ ซึ่งถ้าเป็นมาก ก็อาจจะเห็นเป็นรอยนูนแดง ๆ ที่ตาขาว ซึ่งสามารถลดได้ถ้าใช้ mitomycin C เมื่อผ่าตัด[15]

โดยเกิดขึ้นน้อยครั้งมาก ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อกำลังผ่าตัด เนื่องจาก oculocardiac reflex ซึ่งเป็นอัตราการเต้นหัวใจที่ลดลงเนื่องจากการดึงกล้ามเนื้อตาและ/หรือแรงอัดที่ลูกตา

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Hertle, Richard. "Eye Muscle Surgery and Infantile Nystagmus Syndrome". American Nystagmus Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Word document)เมื่อ August 18, 2016. สืบค้นเมื่อ October 10, 2006.
  2. von Noorden, Gunter K. Chapter 26 - Principles of Surgical Treatment. Binocular Vision and Ocular Motility: Theory and management of strabismus. telemedicine.orbis.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2016.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Leffler, CT; Schwartz, SG; Le, JQ (2017). "American Insight into Strabismus Surgery before 1838". Ophthalmology and Eye Diseases. 9: 1179172117729367.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. "Surgery Encyclopedia - Eye Muscle Surgery". Surgery Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 5, 2017. สืบค้นเมื่อ August 5, 2017.
  5. Pfeifer, Wanda L; Scott, William E (MD) (2002). "Strabismus Surgery" (PDF). Insight. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 28, 2003.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. "Strabismus Surgery". Strabismus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2017. สืบค้นเมื่อ November 20, 2017.
  7. Parikh, RK; Leffler, CT (July 2013). "Loop suture technique for optional adjustment in strabismus surgery". Middle East African Journal of Ophthalmology. 20 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2014. สืบค้นเมื่อ November 30, 2017.
  8. Kushner, BJ; Fisher, M (1996). "Is alignment within 8 prism diopters of orthotropia a successful outcome for infantile esotropia surgery?". Arch Ophthalmol. 114 (2): 176–180. doi:10.1001/archopht.1996.01100130170010. PMID 8573021.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Yagasaki, T.; Yokoyama, Y. O.; Maeda, M. (July 2011). "Influence of timing of initial surgery for infantile esotropia on the severity of dissociated vertical deviation". Jpn J Ophthalmol. 55 (4): 383–388. doi:10.1007/s10384-011-0043-1. PMID 21647566.
  10. See section "Discussion" in: Sharma, Pradeep; Thanikachalam, S; Kedar, Sachin; Bhola, Rahul (January–February 2008). "Evaluation of subjective and objective cyclodeviation following oblique muscle weakening procedures". Indian Journal of Ophthalmology. 56 (1): 39–43. doi:10.4103/0301-4738.37594. PMC 2636065. PMID 18158402.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Schworm, HD; Eithoff, S; Schaumberger, M; Boergen, KP (February 1997). "Investigations on subjective and objective cyclorotatory changes after inferior oblique muscle recession". Investigative Ophthalmology & Visual Science. Vol. 38 no. 2. pp. 405–412.{{cite news}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Khawam, E.; Jaroudi, M.; Abdulaal, M.; Massoud, V.; Alameddine, R.; Maalouf, F. (2013). "Major review: Management of strabismus vertical deviations, A- and V-patterns and cyclotropia occurring after horizontal rectus muscle urgery with or without Oblique Muscle Surgery". Binocul Vis Strabolog Q Simms Romano. 28 (3): 181–192. PMID 24063512.
  13. Guthrie, ME; Wright, KW (September 2001). "Congenital esotropia". Ophthalmol Clin North Am. 14 (3): 419–24, viii. doi:10.1016/S0896-1549(05)70239-X. PMID 11705141.
  14. 14.0 14.1 Edelman, PM (2010). "Functional benefits of adult strabismus surgery". Am Orthopt J. 60 (60): 43–47. PMID 21061883.
  15. Kersey, J. P.; Vivian, A. J. (Jul–Sep 2008). "Mitomycin and amniotic membrane: a new method of reducing adhesions and fibrosis in strabismus surgery". Strabismus. 16 (3): 116–118. doi:10.1080/09273970802405493. PMID 18788060.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Wright, Kenneth W.; Thompson, Lisa S.; Strube, Yi Ning; Coats, David K. (August 2014). "Novel strabismus surgical techniques—not the standard stuff". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus (JAAPOS). 18 (4): e47. doi:10.1016/j.jaapos.2014.07.152.
  • Kushner, Burton J. (2014). "The Benefits, Risks, and Efficacy of Strabismus Surgery in Adults". Optometry and Vision Science. 91 (5): e102–e109. doi:10.1097/OPX.0000000000000248. ISSN 1040-5488. PMID 24739461.
  • Engel, JM (September 2012). "Adjustable sutures: an update". Current Opinion in Ophthalmology. 23 (5): 373–6. doi:10.1097/ICU.0b013e3283567321. PMID 22871879.

เว็บไซต์ แก้