การประเมินรวบยอด
การประเมินรวบยอด หรือ การประเมินผลสรุป (อังกฤษ: summative assessment) เป็นการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณค่าของผลสรุปที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับผลตามเป้าประสงค์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นไปของกิจกรรมนั้น ๆ[1] โดยส่วนใหญ่แล้วผู้สอนมักมีการประเมินรวบยอดเมื่อจบบทเรียน โดยอาจเปรียบเทียบผลการประเมินกับมาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ อนึ่งการประเมินรวบยอดไม่ได้จำกัดเพียงแค่การประเมินผลเมื่อจบรายวิชาเพียงเท่านั้น ผู้สอนอาจใช้การประเมินรวบยอดเป็นรายหน่วยการเรียนรู้หรือรายหัวข้อก็ได้ การประเมินรวบยอดมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ซึ่งอาจเป็นร้อยละ ผ่าน/ไม่ผ่าน เกรดหรือรูปแบบอื่น ส่วนมากแล้วการประเมินรวบยอดมักมีน้ำหนักคะแนนสูงกว่าการประเมินความก้าวหน้า เช่น คะแนนจากการทดสอบรายหน่วยการเรียนรู้ คะแนนสอบปลายภาคเรียน เป็นต้น ทั้งนี้การประเมินรวบยอดต่างจากการประเมินความก้าวหน้า โดยการประเมินความก้าวหน้าจะเน้นที่พัฒนาการของผู้เรียนระหว่างเรียน
อ้างอิง
แก้- ↑ ลิ่วคงสถาพร, วิโรจน์; สรุปราษฎร์, จุฑามาส. "ศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย: การประเมินและวิจัย" (PDF). สสวท. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 8 November 2020.