การประท้วงในประเทศนิการากัว พ.ศ. 2556–2561

การประท้วงในประเทศนิการากัว พ.ศ. 2556–2561 เป็นชุดการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีดานิเอล ออร์เตกา และการกระทำของรัฐบาลของเขาซึ่งรวมถึงการกำจัดฝ่ายค้านและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ประท้วงอย่างสันติ

การประท้วงในประเทศนิการากัว พ.ศ. 2556–2561
จากบนลงล่าง:
ผู้ประท้วงรวมตัวกันในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เพื่อประณามการขุดสร้างคลองนิการากัว, กลุ่มชาวบ้านและชาวไร่ชาวนารวมตัวกันในชุมชนเอลตูเลเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เพื่อต่อต้านการขุดสร้างคลองนิการากัว, หญิงชาวนิการากัวกำลังโบกธงชาติใกล้ที่กำบังที่มีไฟไหม้เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561
วันที่23 พฤษภาคม 2556 – ยังคงดำเนินอยู่
(10 ปี 10 เดือน 1 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่นิการากัว
สาเหตุการขาดดุลประชาธิปไตย, การกดขี่ทางการเมือง, หลักประกันสังคม, การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
  • การเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตย
  • การยุติความรุนแรงทางการเมือง
  • บำนาญในอัตราที่ยอมรับได้
  • การยกเลิกการก่อสร้างคลองนิการากัว
ผล
  • บำนาญลดส่วนสำหรับผู้ส่งเงินสมทบรายเล็ก
  • การยกเลิกการปฏิรูปหลักประกันสังคม
  • การก่อสร้างคลองนิการากัวยังไม่เริ่มต้น
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ

ชาวไร่ชาวนา

  • ออกตาบิโอ ออร์เตกา

นักศึกษา

  • เลสเตร์ อาเลมัน

ภาคเอกชน

จำนวน
หลายหมื่นคน
ความเสียหาย
เสียชีวิต2 คน (2557)[3] · มากกว่า 105 คน (2561)[4][5][6]
บาดเจ็บมากกว่า 20 คน[1] (2557) · 433 คน (2561)[2]
ถูกจับกุม47 คน[1] (2557)  · มากกว่า 200 คน (2561)[5]

การประท้วงเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เมื่อกลุ่มผู้สูงอายุออกมาเรียกร้องการจ่ายบํานาญลดส่วน (reduced pension) จากสถาบันหลักประกันสังคมนิการากัว ในไม่ช้านักศึกษาและเยาวชนก็เข้าร่วมประท้วงด้วย[7] หลังจากการเดินขบวนประท้วงผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ กลุ่มผู้ประท้วงก็ถูกม็อบซันดินิสตา (ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มเยาวชนซันดินิสตาและสนับสนุนรัฐบาล)[8] เข้าโจมตี ในขณะที่ตำรวจได้ถอนกำลังออกไปก่อนไม่นานนัก[9] ต่อมาออร์เตกาอนุมัติการจ่ายบำนาญลดส่วนแก่ผู้รับบำนาญ[10] เพื่อให้การประท้วงสงบลง

ใน พ.ศ. 2557 เมื่อการก่อสร้างคลองนิการากัวกำลังจะเริ่มขึ้น ผู้ประท้วงหลายร้อยคนออกมาปิดถนนและปะทะกับตำรวจระหว่างการประกอบพิธีเริ่มขุดคลอง[11] จากนั้นชาวนิการากัวนับหมื่นคนก็เริ่มประท้วงประธานาธิบดีออร์เตกาไม่เพียงแต่เรื่องคลอง แต่ยังรวมไปถึงสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าระบบการเลือกตั้งที่มีการทุจริตด้วย[12][13]

การประท้วงเกิดขึ้นอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 หลังจากที่รัฐบาลออร์เตกาประกาศแผนการปฏิรูประบบหลักประกันสังคมซึ่งจะขึ้นอัตราภาษีและลดผลประโยชน์ต่าง ๆ ตำรวจและม็อบซันดินิสตาได้โจมตีและสังหารผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธหลายคน ทำให้ผู้คนลุกขึ้นสู้ หลังจากเหตุความไม่สงบอย่างร้ายแรงผ่านไป 5 วัน ออร์เตกาก็ประกาศยกเลิกการปฏิรูป นับแต่นั้นมาเขาก็ต้องเผชิญกับการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐบาลของเขา โดยขบวนการประท้วงได้ประณามออร์เตกาในภาพรวมและเรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่ง[14]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Rogers, Tim (27 December 2014). "Sandinistas 'bare claws' to defend Chinese canal in Nicaragua". Fusion. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-02. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  2. Oswaldo Rivas (April 23, 2018). "Protesters demand resignation of Nicaraguan president after unrest". Reuters.
  3. Plumer, Brad (26 February 2015). "The fiasco that is the Nicaragua Canal, explained". Vox. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  4. "CPDH asegura que protestas en Nicaragua dejan 63 muertos y 15 desaparecidos". El Nuevo Diario (ภาษาสเปน). 26 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23. สืบค้นเมื่อ 26 April 2018.
  5. 5.0 5.1 "Protestas en Nicaragua: los estudiantes que fueron liberados relataron la brutal tortura que sufrieron en prisión". Infobae (ภาษาสเปน). 24 April 2018. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
  6. "More than 25 dead in Nicaragua after unrest over social security reform". NBC News. April 22, 2018. สืบค้นเมื่อ 22 April 2018.
  7. "Grupos "del gobierno" atacan a ancianos que protestan en Nicaragua". BBC Mundo. 22 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  8. "Las andanzas de Pedro Orozco, el coordinador de la Juventud Sandinista". La Prensa, Nicaragua. 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  9. "Mob attacks pensioners in Nicaragua". The Australian. 23 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  10. "Adultos mayores celebran logro de la Seguridad Social". El Nuevo Diario. 26 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  11. Lee Anderson, Jon (2 January 2015). "Breaking Ground on the Nicaragua Canal". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  12. Wand, Alexander (14 June 2015). "Mass protests in Nicaragua as farmers claim planned canal will 'sell country to the Chinese'". The Independent. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  13. "Clashes erupt at Nicaragua electoral reform protests". Euronews. 9 July 2015. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  14. "Thousands protest against Nicaragua government, urge calm". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.