การบดยาง

แก้

เนื่องจากยางธรรมชาติมีขนาดโมเลกุลใหญ่ โดยมีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยประมาณ 1 ล้าน การบดยาง (Mastication) จึงเป็นการทำให้โมเลกุลของยางมีขนาดเล็กลง ความหนืดลดลง ทำให้แปรรูปได้สะดวกขึ้น ซึ่งต่างจากยางสังเคราะห์ที่มีการควบคุมขนาดโมเลกุลตามต้องการอยู่แล้วขณะที่สังเคราะห์จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการบด เครื่องมือที่ใช้ในการบดยางมีหลายชนิด ได้แก่ เครื่องบดยางสองลูกกลิ้ง Internal Mixer เป็นต้น [1]


การควบคุมความหนืดของยาง

แก้

ยางแห้งพันธุ์ต่าง ๆ เมื่อนำเอามาทดสอบค่าความหนืดภายใต้อุณหภูมิและเวลาเดียวกัน (ML1+4;100°C) ค่าความหนืดจะอยู่ที่ 43-100 หน่วยมูนี่ แต่ถ้าทิ้งยางแห้งนี้ไว้สัก 2-4 เดือน ยางก็จะมีความหนืดเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 74-126 หน่วยมูนี่ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับสภาพค่าความหนืดของยางให้คงที่หรือสม่ำเสมอ จึงต้องมีการใช้สารเคมีประเภท ไฮดรอกซิลามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ควบคุมความหนืดของยางให้มีค่าค่อนข้างสม่ำเสมอ ซึ่งสารเคมีที่ใส่เข้าไปจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับอนุมูลของหมู่อัลดีไฮด์ในโครงสร้างโมเลกุลยาง จึงทำให้ภายในระหว่างโมเลกุลยางที่เก็บไว้ไม่มีพันธะไฮโดรเจนเกิดขึ้น ความหนืดของยางจึงไม่เพิ่มขึ้น โดยค่าความหนืดเมื่อใช้สารควบคุมความหนืดจะอยู่ที่ 37-99 หน่วยมูนี่ ความหนืดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในทางอุตสาหกรรมที่จะต้องนำเอายางธรรมชาติมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จึงต้องมีการปรับสภาพความหนืดของยางธรรมชาติให้มีค่าที่คงที่ [2]

อ้างอิง

แก้
  1. บุญธรรม นิธิอุทัย, ปรีชา ป้องภัย, 2534, คู่มือปฏิบัติการเทคโนโลยียาง 1, ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  2. เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, 2546, การผลิตยางธรรมชาติ, ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี